วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คุตบะห์วันศุกร์

การถือศีลอดแห่งเดือนรอมฎอน
โดย อ.  อาลี   กองเป็ง



اَلْحَمْدُ لِلّهِ الَّذِيْ فَرَضَ صِيَامَ رَمَضَانَ عَلَى أُمَّةِ خَيْرِ الْبَرِيَّةِ ، كَمَا فَرَضَ الصِّيَامَ عَلَى جَمِيْعِ الأْمَمِ الْمَاضِيَةِ فِي الشَّرَائِعِ السَّمَاوِيَّةِ ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآ نَ هُدًى لِلنَّاسِ وَرَحْمَةً  لِلأْمَّةِ الإِسْلاَمِيَّةِ ، وَأَشْهدُ اَنْ لاَاِلهَ إِلاَّ اللهُ أَجْزَلَ الْخَيْرَ لِلطَّائِعِيْنَ ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ أَفْضَلُ الصَّائِمِيْنَ وَإِمَامِ الْمُخْلِصِيْنَ ، اَللّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ   عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلىَ آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الطَّيِّبِيْنَ الطَّاهِرِيْنَ   .
أَمَّا بَعْدُ فَيَاعِبَادَ اللهِ  :  أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالىَ وَطَاعَتِهِ .
فَقَدْ قَالَ الله تَعَالىَ [ يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلىَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ ]
ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทุกท่าน
        การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติเป็นฟัรดูหน้าที่บังคับนับจากปี่ที่ ฮิจเราะห์ศักราชอิสลามในคืนที่ ๒ของเดือนซะบาน และเป็นمعلوم من الدين بالضرورة   กล่าวคือเป็นสิ่งวายิบที่ต้องปฏิบัติของศาสนาโดยปฏิเสธไม่ได้ ในการเป็นวายิบหน้าที่ที่มุสลิมต้องปฏิบัติและเป็นองค์ประกอบหลักของหลักการอิสลาม ใครปฏิเสธในการเป็นฟัรดูหรือวายิบที่เรียกว่าหน้าที่หลักในเรื่องการถือศีลอดโดยไม่มี อุปสรรค์ عذرการผ่อนผันทางศาสนาถือว่าเขาสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม والعياذبالله  พร้อมจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสและรุนแรงยิ่ง  พระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า                 قال الله تعالى   :
 [ يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلىَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ]
ความว่า   โอ้ศรัทธาชนทั้งหลายอัลเลาะห์ได้ทรงบัญญัติฟัดูการถือศีลอดเหนือพวกท่านเสมือนได้ทรงบัญญัตินี้เป็นฟัรดูเหนือประชาชาติยุคก่อนพวกท่าน  
โอ้ผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลายจากอายะห์ดังกล่าวทำให้เข้าใจว่าการถือศีลอดเป็น           عزيمةเรื่องจำเป็น  โดยไม่มีข้อสงสัย และไม่อนุญาตแก่มุมินผู้ใดได้ทำเบาความต่อการปฏิบัติ
อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า         "فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ "
  ความว่า      ผู้ใดได้เข้าสู่รอมฎอนจากพวกท่านสภาพที่สุขภาพดีไม่เดินทาง จำเป็นเหนือเขา             ต้องถือศีลอด
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาทุกท่านครับ  ผู้ใดที่มีอาการป่วยที่ศาสนาอนุมัติโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายด้วยการถือศีลอด  หรือเดินทางที่ศาสนาอนุมัติและระยะทางที่ศาสนาอนุญาตให้ละหมาดย่อได้ อัลเลาะห์ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตา จึงทรงผ่อนผันให้เขาละการถือศีลอดภายใต้ขอบเขตที่ศาสนาบัญญัติ        หลังจากหายป่วยแล้วให้เขาถือศีลอดทดแทน ส่วนผู้เดินทาง  ก็ต้องชดใช้หลังจากนั้นเท่ากับจำนวนวันที่เขาไม่ถือศีลอด  มีรายงานจากท่านอานัส บุตร มาลิกกล่าวว่า
كُنَّا نُسَافِرُ مَعَ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَمِنَّا الصَّائِمُ وَمِنَّا الْمُفْطِرُفَلَمْ يَعِبْ الصَّائِمُ عَلَى الْمُفْطِرِوَلَمْ يَعِبْ الْمُفْطِرُ عَلَى الصَّائِمِ
ความว่า  ขณะที่พวกเราเดินทางร่วมกับท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากพวกเราทำการถือศีลอด และมีอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ถือศีลอด ไม่มีผู้ใดที่ถือศีลอดตำหนิผู้ไม่ถือศีลอด  และไม่มีผู้ใดที่ละศีลอดตำหนิผู้ถือศีลอด
ส่วนผู้หญิงที่มีประจำเดือนและน้ำคาวปลา (เลือดหลังจากการคลอดบุตร) เป็นข้อต้องห้ามในการถือศีลอด หากนางถือศีลอดก็ถือว่าใช้ไม่ได้  ซึ่งมีบันทึกโดย ท่านบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากท่านหญิงอาอีซะห์ เธอกล่าวว่า
"كُنَّا نَحِيْضُ عَلَى عَهْدِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَنُؤْمَرُبِقَضَاءِ الصَّوْمِ وَلاَنُؤْمَرُبِقَضَاءِ الصَّلاَةِ "
ความว่า  พวกเรามีรอบเดือนในสมัยที่ท่านร่อซู้ลยังมีชีวิตอยู่ พวกเราถูกใช้ให้ทำการชดใช้การถือศีลอด  แต่ไม่ถูกใช้ให้ทำการชดใช้เรื่องละหมาดที่มิได้กระทำในช่วงมีประจำเดือน      
ส่วนผู้ที่ละศีลอดเนื่องจากชราภาพหรือป่วยที่หมอวินิจฉัยแล้วว่าไม่หายจากอาการดังกล่าวให้เขาทั้งหลายจ่าย فد ية  และไม่ต้องชดใช้ กล่าวคือ ความหมายของ فد ية   คือ  จ่ายอาหารหนักแก่ผู้อนาถายากจน จากทุกๆวันที่เขาไม่ได้ถือศีลอด วันละ 1 มุด หรือ 1 ลิตร โดยประมาณ   ( *หมายเหตุ * ฟัตวาโดย
عبدالرحمن بن أحمد بن محمد بن عبد الرحمن بن يحيى الكما لي في الخطب العصريةالمنبر ية  في الوعظ وارشادالبرية ديوان
 ส่วนหญิงตั้งครรภ์และแม่นม   ถ้าแม้นเธอทั้งสองกลัวว่าจะเกิดอันตรายเหนือตัวเองและบุตร จำเป็นบนเธอต้องชดใช้การถือศีลอดเท่านั้น   ถ้าแม้นเธอทั้งสองกลัวว่าจะเกิดอันตรายเหนือลูกของเธอ หรือน้ำนมไม่เพียงพอจำเป็นบนเธอต้องชดใช้การถือศีลอดและจ่ายฟิดยะห์
และส่วนหนึ่งจากผู้ถูกอนุญาตให้ละศีลอดได้ คือ ผู้ที่กระหายจัดถึงขั้นอาจเสียชีวิต ก็ให้ถือศีลอดชดใช้ในโอกาสต่อไปนี่ใช่ใหม ? ความเมตตาของอัลเลาะห์ที่มีต่อบ่าวของพระองค์
وَمَاجَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِيْنِ منْ حَرَجْ
ไม่มีความลำบากเหนือพวกท่านในเรื่องของศาสนา
ถ้าแม้นบ่าวของพระองค์อัลเลาะห์ใช้ปัญญาไตร่ตรองในบัญญัติใช้เขาก็จะไม่พบว่ามีงานใดที่บ่าวไม่สามารถปฏิบัติได้   และถ้าแม้นบ่าวของพระองค์วิเคราะห์ด้วยปัญญาที่ไม่เข้าข้างตัวเอง  ในบัญญัติข้อห้ามทั้งปวงก็จะไม่พบแม้แต่สิ่งสิ่งเดียวว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่สามารถละทิ้งมันได้  อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
{  لاَيُكَلِّفُ اللهُ نَفْسًا إِلاَّوُسْعَهَا  }
ความว่า  อัลเลาะห์ทรงไม่บังคับชีวิตใด เว้นแต่เท่าความสามารถของเขา
{ يُرِيْدُ اللهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيْدُ بِكُمُ الْعُسْرَ }
ความว่า  อัลเลาะห์ทรงปารถนาให้เกิดความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ทรงปารถนาให้เกิดความลำบากเหนือพวกเจ้า .

أَقُوْلُ قَوْلِىْ هذَا وَاسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِىْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ