วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์


การอิจฉา
  อ.อาลี   กองเป็ง 
اَلْحَمْدُللهِ الَّذِيْ خَلَقَ آدَمَ بِيَدِهِ مِنْ طِيْنٍ  ثُمَّ سَوَّاهُ وَنَفَخَ فِيْهِ مِنْ رُوْحِهِ وَجَعَلَ لَه السَّمْعَ وَاْلاَبْصَارَ وَالْأَفْئِدَةَ فَتَبارَكَ اللهُ اَحْسَنُ الْخَالِقِيْنَ وَاَشْهَدُ اَنْ لَااِلَهَ اِلَّا اللهُ اَوْدَعَ فِي الْاِنْسَانِ الْعَقْلَ لِيُمَيِّزُ بَيْنَ الضَّارِّ وَالنَّافِعِ  وَاَشْهَدُ اَنَّ سَيِّدَنَامُحَمَّدًارَسُوْلُ اللهِ جَاءَنَا بِالنُّوْرِ السَّاطِعِ وَالْبُرْهَانِ اْلقَاطِعِ  اَلَّلهُمَ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَاَصْحَابِهِ اَجْمَعِيْنَ   فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرآنِ الْكَرِيْمِ   اَهُمْ يَقْسِمُوْنَ رَحْمَةَ رَبِّكَ نَحْنُ قَسَمْنَا بَيْنَهُمْ مَعِيْشَتَهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَرَفَعْنَا بَعْضَهُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِيَتَّخِذَ بَعْضُهُمْ بَعْضًاسُخْرِيًّا            
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธารัก
              มุสลิมต้องไม่มีความรู้สึกอิจฉา    จะต้องไม่ปรากฏการอิจฉาเป็นนิสัย  ตราบใดว่าเขาผู้นั้นยังมีความรู้สึกที่จะมอบความปรารถนาดีต่อผู้อื่นพร้อมความปรารถนาที่จะให้เกิดผลดีต่อตัวเอง     เนื่องจากว่าคำว่าอิจฉา (حَسَدٌ) มันค้านและตรงข้ามกับคำว่า  คิดดี   ทำดี   ปรารถนาดี  และผลสะท้อนกลับที่ดี
อิบลิสต้องถูกละนะห์( ออกห่างจากความเมตตาของอัลเลาะห์)สาเหตุหนึ่งนั้นคืออิจฉาท่านนบีอาดำ(อ.ล.)  ขณะที่อัลเลาะห์ทรงประทานให้นบีอาดำซึ่งเป็นมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างมาจากดิน ให้ได้เป็นผู้แทนคนหนึ่งในพิภพ   ดังที่ อัลเลาะห์ต้าอาลา ตรัสว่า                                                                                                                                               
اِنِّيْ جَاعِلٌ فِي اْلأرْضِ خَلِيْفَةً}   البقرة  {
ความว่า  “แท้จริงข้าจะให้มีผู้แทนคนหนึ่งในพิภพ
              เพียงแต่ความอิจฉาของอิบลิสต่อท่านนบีอาดัมจึงถูกละนะห์จากอัลเลาะห์ ทั้ง ๆ ที่อิบลิสก็ได้เคยอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์เป็นพันปี
              ผู้ที่อิจฉาจนติดเป็นนิสัยจะกลายเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับกฎสภาวการณ์ที่อัลเลาะห์ทรงกำหนด เนื่องจากว่าการอิจฉาคือการแสดงออกถึงความไม่พอใจในการประทานความเหลื่อมล้ำที่พระองค์ทรงประทานแก่บ่าว     อัลเลาะห์ตรัสว่า
{اَمْ يَحْسُدُوْنَ النَّاسَ عَلَى مَاآتَاهُمُ اللهُ مِنْ فَضْلِهِ}     النساء
ความว่า  “หรือว่าพวกเขาอิจฉาผู้อื่น ในสิ่งที่อัลเลาะห์ทรงประทานให้แก่พวกเขา จากความ   กรุณาของพระองค์
            และอัลเลาะห์ตรัสอีกว่า
{اَهُمْ يَقْسِمُوْنَ رَحْمَةَ رَبِّكَ نَحْنُ قَسَمْنَابَيْنَهُمْ مَعِيْشَتَهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَرَفَعْنَا بَعْضَهُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِيَتَّخِذَ بَعْضُهُمْ بَعْضًا سُخْرِيًّا}   الزخرف
               ความว่า      “ พวกเขาเป็นผู้แบ่งในความเมตตาแห่งพระเจ้าของเกระนั้นหรือเราต่างหากเป็นผู้จัดสรรการดำรงชีวิตของพวกเขาระหว่างพวกเขาในการมีชีวิตในโลกดุนยานี้    และเราได้ยกฐานะบางคนในหมู่พวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนหลายชั้น   เพื่อบางคนในหมู่  พวกเขาจะได้เอาอีกบางคนมาใช้งาน
         การอิจฉามี 2 ประเภท
              1.  มีความต้องการให้ผู้อื่น ที่ได้รับเนียะมัต(ความโปรดปราน) เกิดความวิบัติ เช่น ในเรื่องทรัพย์ ความรู้ ตำแหน่งและเกียรติยศ และหวังอยากได้สิ่งเหล่านั้นแก่ตัวเอง
              2. มีความต้องการให้ผู้อื่นที่ได้รับเนียะมัต(ความโปรดปราน)เกิดความวิบัติ ถึงแม้เขาจะไม่ได้รับเนียะมัตก็ตาม นับว่าประเภทที่ 2 นี้เป็นความเลวร้ายที่สุด
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         ไม่นับว่า   غِبْطَةْ   เป็นส่วนเดียวกับคำว่า حَسَدْ   (การอิจฉา)  ความหมาย   غِبْطَةْ                      คือเขามีความปรารถนาที่จะได้เนียะมัตเสมือนกับผู้อื่น เช่นต้องการมีความรู้ ทรัพย์ หน้าที่การงานแต่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นต้องวิบัติหรือตกต่ำ
และยังถือว่าเป็นการสนับสนุนด้วยซ้ำไปในเรื่อง  غبطة

            ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า
                                                            
{لَاحَسَدَ اِلَّا فِي اثْنتَيْنِ  رَجُلٌ آتَاهُ اللهُ مَالًا  فَسَلَّطَهُ عَلَى هَلَكَتِهِ فِي الْحَقِّ  وَرَجُلٌ آتَاهُ اللهُ الْحِكْمَةَ فَهُوَيَقْضِيْ بِهَا يُعَلِّمُهَا }  رواه البخاري
              ความว่า  “ไม่อนุญาตอิจฉา นอกจากสองประเภทเท่านั้น
                    1. ผู้ที่อัลเลาะห์ได้ทรงประทานทรัพย์แก่เขา ดังนั้นเขาก็ได้ใช้จ่ายทรัพย์สินของเขาที่หมดไปสู่หนทางของอัลเลาะห์
                   2. ผู้ที่อัลเลาะห์ทรงประทานความรู้แก่เขาดังนั้นเขาก็ได้นำความรู้ไปสั่งสอนจากความรู้นั้น”
            อุลามาอ์กล่าวว่า คำว่า   اَلْحِكْمَةْ   ในฮาดิสบทนี้คือ อัล กุรอ่าน และ  ซุนนะห์ของท่านรอซูล(ซ.ล)
            เราได้รับสารจากฮาดิสบทนี้ นั้นก็คือ ผู้ใดที่เขาได้รับเนียะมัติหรือฮิกมะห์ จากอัลเลาะห์ ก็ให้เขาได้ซุโกรขอบคุณต่ออัลเลาะห์ด้วย การประกอบคุณงามความดี เนื่องจากการขอบคุณต่ออัลเลาะห์มิใช่หมายความถึงการกล่าวเป็นวาจาเท่านั้น ทุกการทำความดีหลังจากได้ทำความดีที่อัลเลาะห์ทรงฮิดายะห์ให้ทำเป็นการขอบคุณต่ออัลเลาะห์
            ท่านนบีได้เคยตอบแก่ท่านหญิงอาอีซะห์ที่ได้ถามท่านนบีว่า ขณะที่ทำการละหมาดกียามุลลัยน์ จนกระทั่งสองเท้าอันประเสริฐของท่านบวม
         ท่านนบีตอบว่า
اَفَلَا اُحِبُّ اَنْ اَكُوْنَ عَبْدًا شَكُوْرًا }         رواه البخاري  {
              ความว่า  “ฉันจะเป็นบ่าวที่ปรารถนาขอบคุณต่ออัลเลาะห์ไม่ได้หรอกหรือ
            การแสดงความยินดีต่อผู้อื่นที่ได้รับเนียะมัติเป็นผลที่ก่อเกิดจากความอีหม่านของผู้นั้น และจักได้รับผลดีตอบแทน อย่างน้อยก็ได้ความสุขทางใจที่รู้สึกในส่วนลึกว่าเขาเป็นผู้มีใจบริสุทธิ์
         ท่านรอซูล(ซ.ล) กล่าวว่า                           
{لَاتَبَاغَضُوْا وَلَاتَحَاسَدُوْا وَلَاتَدَابَرُوْاوَلَاتَقَاطَعُوْا وَكُوْنُوْاعِبَادَاللهِ اِخْوَانًا فَلَايَحِلُّ لِمُسْلِمٍ اَنْ يَهْجُرَاَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثٍ}   رواه البخاري ومسلم وابوداود
              ความว่า  “ห้ามท่านทั้งหลายโกรธเคืองกัน ห้ามอิจฉาต่อกัน  ห้ามผินหลังให้กัน ห้ามตัดขาดต่อกัน  จงทำตนให้เป็นบ่าวของอัลเลาะห์ในฐานเป็นพี่น้องกันดังนั้นไม่อนุญาตแก่มุสลิม ที่จะทะเลาะเคืองแค้นกับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามวัน”
         มุสลิมผู้ใดก็ตามถ้าเกิดรู้สึกอิจฉาผู้อื่น เขาต้องสกัดกั้นความรู้สึกอันเลวร้ายนี้ พร้อมกับนึกในส่วนลึกของหัวใจว่าความหายนะจะเกิดแก่เขาแล้ว ความดีจะถูกลบล้างแล้ว หากแม้นว่าเขาเกิดความรู้สึกที่ดีกับสิ่งใดให้เขากล่าวว่า
ماشَاءَالله لاقُوَّةَ اِلَابِاللهِ
 มันจะสลายความอิจฉาและจะปลอดภัยทั้งใจและกาย         إنْ شَاءَالله       
اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ