วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์



เพิ่มความศรัทธาด้วยการรำลึกถึงความตาย
อ.อาลี   กองเป็ง
اَلْحَمْدُ ِللهِ الَّذِيْ خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ اَيُّكُمْ اَحْسَنُ عَمَلاً وَهُوَ اْلعَزِيْزُ اْلغَفُوْرُ . وَاَشْهَدُ اَنْ لاَاِلَهَ اِلاَّ اللهُ رَغَّبَ فِي الطَّاعَةِ وَحَذَّرَ مِنَ الْكَسَلِ وَاْلفُتُوْرِ.  وَاَشْهَدُ اَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ نَبَّهَ عَلَى اَنْ يَعْمَلَ كُلٌّ لِيَوْمٍ لاَيَنْفَعُ فِيْهِ اَهْلٌ وَلاَمَالٌ وَلاَقُصُوْرٌ .  اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِناَ مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَاَصْحَابِهِ وَالتَّابِعِيْنَ لَهُمْ بِاِحْسَانٍ اِلَى يَوْمِ النُّشُوْرِ  .   اَمَّابَعْدُ .  فَيَاعِبَادَ اللهِ .  اُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ اَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ .  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي اْلقُرْآنِ اْلكَرِيْم:    كُلُّ نَفْسٍ ذَائِقَةُ الْمَوْتِ ثُمَّ اِلَيْناَتُرْجَعُوْنَ

          ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก   ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สอนมนุษย์โลกให้หาความสุขในโลกดุนยา ซึ่งความสุขนั้นไม่เป็นการทำลายศาสนาของตัวเอง และให้มนุษย์โลกรำลึกเรื่องความตาย  เพื่อลดอุณหภูมิของอารมณ์ใฝ่ต่ำ และพร้อมให้บ่าวของอัลเลาะห์เตรียมเสบียงคือการประกอบอั้ลอีบาดะห์(ที่เรียกว่าเสบียงตาย)  ผู้ใดนึกถึงความตายและเตรียมพร้อมเสมอจึงถูกนับว่าผู้นั้นถูกให้ทางนำที่ถูกต้อง
          มีบันทึกจากท่านฏ๊อบรอนี รายงานจากอิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ไปหาท่านร่อซู้ล(ซ.ล) ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งจากชาวอันซอร ได้ยืนขึ้น พร้อมกล่าวว่า

مَنْ اَكْيَسُ النَّاِس وَاَحْزَمُ النَّاِس
โอ้ท่านนบีแห่งอัลเลาะห์ “ใครคือผู้ที่มีความฉลาดที่สุด และมั่นคงที่สุดแห่งมนุษย์”
            ท่านนบีกล่าวตอบว่า
اَكْثَرُهُمْ ذِكْرًا لِلْمَوْتِ وَاَكْثَرُهُمْ اِسْتِعْدَادًالِلْمَوْتِ اُولَئِكَ اْلاَكْيَاسُ ذَهَبُوْابِشَرَفِ الدُّنْيَا وَكَرَامَةِ اْلآخِرَةِ
          ความว่า “คือผู้ที่รำลึกมากที่สุดถึงเรื่องความตาย และมากที่สุดเรื่องของการเตรียมตัวตาย     เขาทั้งหลายคือผู้ที่มีความฉลาดที่สุด เขาทั้งหลายได้นำไปพร้อมด้วยความสุขแห่งดุนยาและเกียรติแห่งอาคีเราะห์
          พี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ศาสนาให้เราเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะเมื่ออาญั้ลของเรามาถึงแน่   แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ เราไม่สามารถผ่อนผันแม้แต่วินาทีเดียว เมื่อถึงกำหนดนั้น ดังกล่าวนี้ไม่ใช่หมายความว่าให้เราคิดอยากตาย หรือขอให้ตาย ไม่ว่าเหตุนั้นมาจากเพราะว่าเรายากจนแร้นแค้น ป่วยหรือประสพกับบาลาภัยต่าง ๆ  ในสิ่งที่เราประสพกับมันนั้นเป็นความดีทั้งสิ้น ถ้าแม้เราทั้งหลายอดทน และทำการอิสติรญาอ์อยู่เสมอ คือปากกล่าวพร้อมใส่ใจเข้าไปด้วย โดยกล่าวว่า

اِنَّا ِللهِ وَاِنَّاِ الَيْهِ رَاجِعُوْنَ. اَللَّهُمَّ اَجِرْنِيْ فِيْ مُصِيْبَتِيْ وَاَخْلِفْ لِيْ خَيْرًامِنْهَا
         
              ได้มีตัวบทฮาดีสที่กล่าวห้ามแก่บ่าวของอัลเลาะห์ที่อยากตาย
บันทึกโดยนักวิชาการฮาดีส  จากท่านอะนัสว่า

اَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ :  ( لاَيَتَمَنَّ اَحَدُكُمُ الْمَوْتَ لِضُرٍّ نَزَلَ بِهِ فَاِنْ كَانَ لاَبُدَّ مُتَمَنِّيًا لِلْمَوْتِ  فَلْيَقُلْ : اَللَّهُمَّ اَحْيِنِيْ مَاكَانَتِ الْحَيَاةُ خَيْرًالِيْ وَتَوَفَّنِيْ اِذَاكَانَتِ الْوَفَاةُ خَيْرًالِيْ)         رواه الجماعة

          ความว่า ท่านนบีกล่าวว่า “คนหนึ่งคนใดของพวกท่านอย่าคิดอยากตาย  เนื่องจากอันตรายที่ประสพแก่เขา ถ้าแม้นว่ามันจำเป็นถึงขั้นที่สุดให้ขอดุอาอ์ว่า โอ้อัลเลาะห์โปรดให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้า ถ้าแม้นการมีชีวิตเป็นความดีแก่ข้าพเจ้าและโปรดเก็บวิญญาณของข้าพเจ้าถ้าแม้นความตายมันเป็นความดีแก่ข้าพเจ้า

ผู้ที่อดทนต่อสู่ต่อการทดสอบของอัลเลาะห์เขาจะได้ประโยชน์มหาศาล  2 ประการ
          1. ทำความดีเพิ่มเพราะอายุยืน
          2. มีเวลาที่จะสารภาพผิดเพราะเวลามาก
ซึ่งมีรายงานจากอุมมุลฟัฎลี่
اَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ عَلَى الْعَبَّاسِ وَهُوَ يَشْتَكِيْ فَتَمَنَّى الْمَوْتَ    فَقَالَ   : ( يَاعَبَّاسُ يَاعَمَّ رَسُوْلِ اللهِ لاَتَتَمَنَّ الْمَوْتَ اِنْ كُنْتَ مُحْسِنًاتَزْدَادُاِحْسَانًا اِلَى اِحْسَاِنكَ خَيْرٌلَكَ  وَاِنْ كُنْتَ مُسِيْئًا فَاِنْ تُؤَخَّرْتَسْتَعْتِبْ خَيْرٌلَكَ فَلاَتَمَنَّ الْمَوْتَ)   رواه احمد والحاكم
           ความว่า ท่านนบีได้เข้าเยี่ยมท่านอับบาส ขณะที่เขาร้องทุกข์เรื่องเจ็บป่วยและคิดอยากตาย ท่านนบีกล่าวว่า “โอ้อับบาส โอ้ท่านอาของร่อซูลุลเลาะห์ท่านอย่าคิดอยากตาย ถ้าแม้นว่าท่านมีความดีอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มความดีเสริมความดีที่มีอยู่แล้ว ถ้าแม้นว่าท่านเคยทำบาปพร้อมกับท่านมีอายุยืน”(ยังไม่ถึงอาญั้ล  อัลเลาะห์จะทรงยินดีต่อท่านโดยการถอนตัวของท่านออกจากความชั่วและการขออภัยต่อพระองค์ นั้นแหละคือความดีแก่ท่าน ดังนั้นท่านอย่าอยากตายเลย)

ขอฝากคำสั่งเสียของท่านนบีแก่ท่านพี่น้อง ซึ่งมีรายงานว่า

عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ اَبِيْ بَكْرَةَ عَنْ اَبِيْهِ اَنَ رَجُلاً قَالَ :  يَارَسُوْلَ اللهِ اَيُّ النَّاسِ خَيْرٌ  قاَلَ : مَنْ طَالَ عُمْرُهُ وَحَسُنَ عَمَلُهُ   قَالَ : فَاَيُّ النَّاسِ شَرٌ قَالَ : مَنْ طَالَ عُمْرُهُ وَسَاءَ عَمَلُهُ  رواه احمد والترمذي
          ความว่า จากอับดุรเราะห์มาน บุตรอะบีบักเราะห์ จากบิดาเขาเล่าว่า แท้จริงมีชายผู้หนึ่งกล่าวถามว่า “โอ้ท่านร่อซูลแห่งอัลเลาะห์ ใครคือผู้ที่เรียกว่าคนดี”  ท่านร่อซู้ลตอบว่า “คือผู้ที่อายุยืนพร้อมด้วยอาม้าลดี” ชายผู้นี้ก็ถามอีกว่า “ใครคือผู้ที่เรียกว่าคนชั่ว” ท่านร่อซู้ลตอบว่า “คือผู้ที่อายุยืนและทำชั่ว”
          เป็นอนุสติแก่พวกเราทุกคนให้ทำการรักษาสุขภาพและขอดุอาอ์ให้อายุยืนเพื่อทำความดี  อย่าเพียงแต่อายุยืนแต่เอาดีไม่ได้และไม่ได้ดี

اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

หน้าแรก          หน้าคุตบะห์วันศุกร์