วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทความศาสนา

เดือนร่อญับ( رجب )
                                  
                                                                                                . อาลี  กองเป็ง

อัลเลาะฮ์ ( ) ทรงกล่าวในซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์อายะฮ์ที่   ๓๖ ว่า  

   {إِنَّ عِدَّةَ ٱلشُّهُورِ عِندَ ٱللَّهِ ٱثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِى كِتَـٰبِ ٱللَّهِ يَوْمَ خَلَقَ ٱلسَّمَـٰوَ‌ٰتِ وَٱلْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ  ذَ‌ٰلِكَ ٱلدِّينُ ٱلْقَيِّمُ  فَلَا تَظْلِمُوا فِيهِنَّ أَنفُسَكُمْ  وَقَـٰتِلُوا ٱلْمُشْرِكِينَ كَافَّةً كَمَا يُقَـٰتِلُونَكُمْ كَافَّةً  وَٱعْلَمُوا أَنَّ ٱللَّهَ مَعَ ٱلْمُتَّقِينَ }
                                
ความว่า    แท้จริงจำนวนเดือนในหนึ่งปี    ที่อัลเลาะฮ์นั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ ( เลาหิ้ลมะห์ฟูซ )  ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน   จากบรรดาเดือนนั้นมีอยู่สี่เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม  ( คือต้องห้ามในการต่อสู้สงครามเพื่อไห้เป็นเดือนที่ปลอดภัยแก่ผู้ประกอบอุมเราะฮ์และฮัจญ  เป็นบัญัติที่อัลเลาะฮ์กำหนดไว้ให้แก่นบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีลอะลัยฮิมัสสลาม   ซึ่งเดือนเหล่านั้นได้แก่   ซุ้ลเกาะอดะฮ์  ซุ้ลหิจญะฮ์   มุฮัรรอม   และเดือนร่อญับ )  นั้นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง   ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรม   ( จงอย่าละเมิดทำการสู้รบในเดือนดังกล่าว )   แก่ตัวของพวกเจ้าเอง  และจงต่อสู้บรรดามุสริกีน   เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังสู้รบพวกเจ้าทั้งหมด   และเจ้าทั้งหลายจงทราบเถิดว่า  แท้จริงอัลเลาะฮ์นั้นอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ยำเกรง”
  กล่าวคือ   ในหนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน  ซึ่งมีสี่เดือนเรียกว่า  หุรุมุน  (حُرُمْ) ซึ่งสามเดือนต่อเนื่องกันคือ  ซุ้ลเกาะดะฮ์  ซู้ลหิจญะฮ์ และอั้ลมุฮัรรอม  ส่วนร่อญับซึ่งอยู่ระหว่างญะมาดิ้ลอาคิรและชะบานมีนามชื่อว่า  ร่อญับมุฎร  ( رَجَبُ مُضْر ) มีชนเผ่าหนึ่งนามว่ามุฎรเขาทั้งหลายเพิ่มความสำคัญและให้เกียรติเดือนร่อญับจึงตั้งนามชื่อเดือนนี้ว่า  ร่อญับมุฎร  และปรากฏให้กับกลุ่มญาฮิลีญะฮ์มี่สี่เรื่องที่ยึดถือ   
   :  เขาทั้งหลายยึดถือว่าเป็นเดือนที่ห้ามทำสงคราม                      
  :   เขาทั้งหลายจะทำการเชือดสัตว์ซึ่งเขาเหล่านั้นให้นามชื่อว่าอะตีเราะฮ์  (عَتِيْرَةْ) อะตีเราะฮ์คือ  สัตวที่ถูกทำการเชือดในสิบวันแรกของเดือนร่อญับที่นามว่า  ร๊อจญบียะฮ์  ( رَجْبِيِّةْ )  โดยเขาทั้งหลายถือว่าเป็นการตะกอ๊รรุบในยุคของญาฮิลียะฮ์ และก็ได้ถูกปฏิบัติในยุคแรกของอิสลาม  หลังจากนั้นได้ถูกยกเลิกด้วยตัวบทหะดีษของท่านนบีว่า  (  لاَفَرَعَ وَلاَعَتِيْرَةَ ) ส่วนความหมายของคำว่า ( فَرَعَ)  คือลูกตัวแรกของอูฐที่เขาทั้งหลายทำการเชือดเพื่อเป็นตะก๊อรรุบ( ทำความใกล้ชิดต่อบรรดาพระเจ้าของพวกเขาและยึดมั่นว่าเป็นศิริมงคล ) 
 มีรายงานจากท่านหะซัน  กล่าวว่า  ไม่มี่การอะตีเราะฮ์ในอิสลามและปรากฏว่าอะตีเราะฮ์ในยุคญาฮิลียะฮ์นั้น  คือคนหนึ่งของพวกเขาจะทำการถือศีลอดและทำการอะตีเราะฮ์ในเดือนร่อญับและยึดเป็นวันอีด   
มีรายงานจากท่านฏอวูซ  กล่าวว่าในหลักการของอิสลามมิให้บรรดามุสลิมยึดเอาเวลาหนึ่งเวลาใดเป็นวันอีดเว้นแต่วันและเวลาที่อิสลามไดบัญญัติไว้เช่นในหนึ่งสัปดาห์คือวันศุกร์และในหนึ่งปีคืออีดิ้ลฟิฎรกับอีดิ้ลอัฎฮาเป็นต้น                             

การประกอบอิบาดะฮ์ในเดือนร่อญับ
:  การทำคุณงามความดีในเดือนร่อญับก็เฉกเช่นเดียวกับเดือนอื่นๆเช่นการการขอดุอาอ์หรือการกล่าวซิกรุ้ลเลาะฮ์ประจำวันและการถือศีลอดประจำเดือนเช่นวันเว้นวันหรือในวันจันทร์และพฤหัสบดีและขึ้นสิบสามสิบสี่สิบห้าค่ำของเดือน   ส่วนการถือสีลอดในเดือนร่อญับซึ่งมีบันทึกของท่านบัยฮะกีย์ฟีชุอะบิ้ลอีมานจากท่านอะนัสเล่าว่า     แท้จริงท่านรัอซู้ล ( )กล่าวว่า 

 ( فِي الْجَنَّةِ نَهْرٌ يُقَالُ لَهُ رَجَبٌ أَشَدُّبَيَاضًامِنَ  الْلَبَنِ وَأَحْلَى مِنَ الْعَسَلِ مَنْ صَامَ يَوْمًامِنْ  رَجَبٍ سَقَاهُ الله ُتَعَالَى مِنْ ذَلِكَ النَّهْرِ)                                                             
           ในสวรรค์นั้นมีลำธารหนึ่งนามว่าร่อญับ ขาวกว่าน้ำนม  หวานกว่าน้ำผึ้ง  ผู้ใดทำการถือศีลอดหนึ่งวันจากเดือนร่อญับอัลเลาะฮ์ทรงประทานให้เขาได้ดื่มจากน้ำในลำธารดังกล่าว”
 บรรดาอุละมาอ์อธิบายว่า   คือให้ทำการถือศีลอดเพียงบางส่วนของเดือนมิใช่ให้ถือศีลอดตลอดเดือน    และมีรายงานจากท่านอิบนุอับบาสว่า   เขาไม่ชอบในการที่จะถือศีลอดในเดือนร่อญับตลอดทั้งเดือน  เช่นเดียวกับท่านอีหม่ามอะห์หมัดโดยท่านกล่าวว่า  ให้ละการถือศีลอดหนึ่งวันหรือสองวัน    ท่านมาวัรดีย์ได้กล่าวในอั้ลอิกนาอ์ว่า  สุนัตให้ทำการถือศีลอดในเดือนร่อญับและชะบาน
   : ให้ความสำคัญในคืนอิสรออ์และเมียะรอจญ์และค่ำคืนอื่นๆโดยกล่าวอั้ลบากิยาตุสซอลิฮาตคือ   
سُبْحَانَ اللهِ . وَالْحَمْدُ للهِ . وَلاَ اِلَهَ اِلاَّ الله . وَالله ُأَكْبَرُ . وَلاَحَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ اِلاَّبِاللهِ الْعَلِيِّ الْعَظِيْمِ  
               
คำอ่าน ( ซุบฮานัลลอฮฺ  วัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ  ว่าลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮฺ  วั้ลลอฮุอักบัร  ว่าลาเฮาละว่าลากูวะตะอิ้ลลาบิ้ลลาฮิ้ลอะลียิ้ลอะซีม )

ดังมีรายงานที่บันทึกโดยท่านำฏ๊อบรอนีย์ว่า    แท้จริงท่านร่อซู้ล ( ) กล่าวว่า

رَأَيْتُ اِبْرَاهِيْمَ لَيْلَةَ أُسْرِيَ بِيْ فَقَالَ يَامُحَمَّدُ أَقْرِئْ أُمَّتَكَ مِنِّي السَّلاَمْ وَأَخْبِرْهُمْ أَنَّ الْجَنَّةَ طَيِّبَةُ التُّرْبَةِ عَذْبَةُ الْمَاءَ وَأَ نَّهَاقِيْعَانٌ وَغِرَاسُهَا . سبحان الله . والحمد لله . ولااله الاالله  . والله أكبر .  ولاحول ولاقوة الابالله العلي العظيم                                                             
       ความว่า ข้าพเจ้าได้พบท่านนบีอิบรอฮีมในคืนที่ข้าพเจ้าอิสรออ์ ท่านนบีอิบรอฮีมกล่าวว่า  โอ้มุฮำหมัดดโปรดได้นำสลามของข้าพเจ้ายังประชาชาติของท่านด้วย  และโปรดบอกพวกเขาว่า  แท้จริงสวรรค์นั้นมีพื้นดินที่นุ่มมีน้ำที่บริสุทธิ์และพื้นเรียบ    พฤษชาติของมันคือซุบฮานั่นเลาะฮ์วั้ลฮำดุลิ้ลละฮ์วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลเลาะฮ์วั้ลลอฮุอักบัรวะลาเฮาละวะลากูวะตะอิ้ลลาบิ้ลลาฮิ้ลอะลียิ้ลอะซีม”       
                                                                                                       :   การทำการบริจากและอนุเคราะห์ผู้ที่ขัดสนที่มาขอหยิบยืม     ดังมีบันทึกโดยท่านอิบนุมาญะฮ์จากท่านนบี ( )กล่าวว่า   
رَأَيْتُ لَيْلَةَ أُسْرِيَ بِيْ عَلَى بَابِ الْجَنَّةِ مَكْتُوْبًا  اَلصَّدَقَةُ بِعَشْرِأَمْثَالِهَاوَالْقَرْضُ بِثَمَانِيْ عَشَرَفَقُلْتُ يَاجِبْرِيْلُ : مَابَالُ الْقَرْضِ أَفْضَلُ مِنَ الصَّدَقَةِ قَالَ : لأَنَّ السَّائِلَ يَسْأَلُ وَعِنْدَهُ وَالْمُسْتَقْرِضُ لاَيَسْتَقْرِضُ اِلاَّعَنْ حَاجَة   
                              
  ความว่า  ข้าพเจ้าได้แลเห็นในคืนอิสรออ์ของข้าพเจ้าที่ประตูสวรรค์ถูกบันทึกว่าการซ่อดาเกาะฮ์มีผลบุญสิบเท่าและการไห้ยืมมีผลบุญสิบแปดเท่า  ข้าพเจ้าจึงกล่าวถามญิบรออีลว่า  ทำไมการไห้ขอยืมมีค่ากว่าการบริจาค   ท่านญิบรออีลกล่าวตอบว่า  เนื่องด้วยผู้ขอ   เขาทำการขอในขณะที่เขามี  ส่วนผู้ขอยืมเขาจะไม่ขอยืมเว้นเสียแต่เขามีทุระจำเป็น”

      :  ศึกษาและเรียนรู้การอิสรออ์และเมียะอรอจญ์เพื่อเพิ่มความอีหม่านโดยตั้งเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (   )

เหตุการณ์อันสำคัญที่เกิดขึ้นในเดือนร่อญับ
ขณะที่ท่านนบี ( ) อยู่ที่บ้านของอุมุฮานีฮ์บุตรสาวของอะบีฏอลิบเธอมีนามว่าฟาคิตะฮ์   ในคืนของวันจันทร์ที่ยี่สิบเจ็ดของเดีอนร่อญับในปีที่แปดแห่งการเป็นนบี  ขณะที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อายุเพียงเก้าขวบ  ท่านนบี ( )ได้อิสรออ์โดยการนำของญิบรออีลที่นำภาหนะนามว่าอั้ลบุร๊อกเดินทางจากมัสญิดอั้ลหะรอมในนครมักกะฮ์สู่มัสญิดอั้ลอักซอในนครเยรูซาเล็มเพียงช่วงหนึ่งของกลางคืนทั้งๆที่ระยะเวลาเดินทางโดยกองคาราวานจะใช้เวลาถึงสี่สิบวันความหมายของคำว่าเมียะอ์รอจญ์คือ     การเดินทางในเวลากลางคืนของท่านบี ( ) ได้เกิดขึ้นทั้งวิญญาณและเรือนร่างของท่านโดยมิได้หลับและท่านก็มีสติสัมปชัญญะมิไช่เป็นความฝันตามความเข้าใจของผู้ปฏิเสธจากมัสญดอั้ลอักซอขึ้นสู่เบื้องบน
 อัลเลาะฮ์ได้ตรัสในซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะห์ที่ 1  ว่า  
{ سُبْحَـٰنَ ٱلَّذِى أَسْرَىٰ بِعَبْدِهِۦ لَيْلًا مِّنَ ٱلْمَسْجِدِ ٱلْحَرَامِ إِلَى ٱلْمَسْجِدِ ٱلْأَقْصَا ٱلَّذِى بَـٰرَكْنَا حَوْلَهُۥ لِنُرِيَهُۥ مِنْ ءَايَـٰتِنَا  إِنَّهُۥ هُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلْبَصِيرُ }
   
ความว่า  ผู้ทรงมหาบริสุทธ์ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืนจากมัสญิดอั้ลหะรอมไปยังมัสยิดอั้ลอักซอซึ่งบริเวนรอบมันเราได้ให้ความจำเริญเพื่อเราจะไห้เขาเห็นบางส่วนจากสัญญานต่างๆของเราแท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินผู้ทรงเห็น”

ความรู้บางส่วนจากอิสรออ์และเมียะรอจญ์
  :  อั้ลบุร๊อก  คือสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งไม่เหมือนสัตว์ทั่วไปที่เราเคยพบเห็นมีใบหน้าคล้ายมนุษย์ร่างคล้ายม้าขนที่ต้นคอประดุจดังไข่มุขสดประดับด้วยทับทิมสองหูจากมรกตสองตาประดุจดาวและเป็นสัตว์ที่เคยเป็นยานพาหนะที่ท่านบีอาดัมและนบีอิบรอฮีมได้เคยใช้เป็นพาหนะ
  :  ฟ้ามีเจ็ดชั้นระหว่างพื้นดินและฟากฟ้าระยะทางหางกันถึงห้าร้อยปีและระหว่างฟ้าแต่ละชั้นก็เช่นเดียวกัน
 *  ฟ้าชั้นแรกมีนามชื่อว่าอัรร่อฟีอะฮ์  ซึ่งท่านบี ( )ได้พบบ่อน้ำอั้ลเกาษัรและบางรายงานว่าพบท่านบีอาดัม  
  *  ฟ้าชั้นที่สองท่านนบีพบกับท่านนบีอีซาบุตรมัรยัมและนบียะห์ยาบุตรซะกะรียา  ฟ้าชั้นนี้มีนามชื่อว่า  อั้ลมาอูน                                                 
*ฟ้าชั้นที่สามมีนามชื่อว่าอั้ลมุซัยยะนะฮ์ท่านนบี ( ) ได้พบท่านนบีดาวูดและนบีสุลัยมานและท่านนบียูซุฟ                                                          

  *ฟ้าชั้นที่สี่มีนามชื่อว่าอัซซาฮิเราะฮ์  ท่านบี ( ) ได้พบกับท่านนบีอิดดรีส 
     *ฟ้าชั้นที่ห้ามีนามชื่อว่าอั้ลมุนีเราะฮ์ท่านนบีได้พบกับท่านนบีฮารูน
    *ฟ้าชั้นที่หกนามชื่อว่าอั้ลคอลิเซาะฮ์  ท่านนบี ( ) ได้พบท่านนบีมูซาและนบีอิบรอฮีมและบางรายงานกล่าวว่าพบในฟ้าชั้นที่เจ็ด
  * ฟ้าชั้นที่เจ็ดนามชื่อว่าอั้ลอะญีบะฮ์   ท่านนบีได้พบชายที่มีใบหน้าสะอาดและอาภรที่สวยงามพำนักบนเก้าอี้ที่ทำมาจากรัศมีแผ่นหลังพิงบัยติ้ลมะมูรซึ่งตรงกับบัยตุ้ลเลาะฮ์   ชายผู้นี้คือท่านนบีอาดัมอะลัยฮิสสลามบางรายงานกล่าวว่าเป็นท่านบีอิบรอฮีม  ท่านนบี ( ) ได้แลเห็นบัยติ้ลมะมูรที่เหล่ามะลาอิกะฮ์ทำการฏ่อวาฟเวียนรอบก่อนที่องค์อัลเลาะฮ์ทรงสร้างนบีอาดัมถึงสองพันปี

   :   ท่านนบี ( ) ขึ้นสู่ซิดดร่อตุ้ลมุนตะฮา   มันคือต้นไม้ที่มีลำธารหลายสายจากน้ำนม  น้ำอัมฤทธิ์  น้ำผึ้ง  ภายไต้ร่มเงาของต้นไม้ใช้เวลาเดินทางถึงเจ็ดสิบปีก็ไม่สามารถพ้นร่มเงาของมันได้ 
  :   ท่านนบี ( )  แลเห็นสวรรค์และความผาสุขที่มีในสวรรค์ซึ่งไม่มีสายตาใดแลเห็นและหูที่เคยได้ยินและจิตรที่มโนภาพมาก่อน
: ท่านบี ( ) แลเห็นความทุกข์ทรมานในนรกแก่ผู้ฝ่าฝืนเช่นท่านพบชนกลุ่มหนึ่งถูกทุบศีรษะจนแตก  ทุกครั้งที่แตกมันก็กลับสู่สภาพเดิมและพวกเขาก็ถูกอะซาบเช่นนี้เรื่อยไป
  :  ท่านนบี (..) แลเห็นสวรรค์และความผาสุกในนั้น    ซึ่งไม่มีสายตาใด แลเห็น   หรือหูได้รับฟัง   และจิตรที่มโนภาพ มาก่อนของมนุษย์ในโลกดุนยาใบนี้เลย
    :   เมื่อท่านนบี  ( . )  ได้ถูกปกคลุมไปด้วยรัศมีแห่งอัลเลาะห์ (..)         ท่านนบี (.) จึงแสดงความเคารพและคารวะต่อพระองค์อัลเลาะฮ์ ( . )โดยกล่าวว่า  
  
اَلتَّحِيَّاتُ الْمُبَارَكاَتُ الصَّلَوَاتُ الطَّيِّبَاتُ ِللهِ
         ความว่า   บรรดา ความเคารพ  สิริมงคล   พระพรอันบริสุทธิ์ เป็นสิทธิ์แห่งอัลเลาะฮ์”
          อัลเลาะห์(..)   ทรงตอบรับแก่ท่านนบีว่า                                    
                                    
اَلسَّلاَمُ عَلَيْكَ اَيُّهَاالنَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكاَتُهُ
          ความว่า     สุขสันติจงมีเหนือท่านโอ้นบี และพร้อมด้วยความเมตตาและสิริมงคลแห่งอัลเลาะฮ์”
               ท่านนบี (..)  เมื่อได้รับพรดังกล่าว ท่านจึงมีความปรารถนาในพระพรนั้น ให้เกิดแก่บ่าวของอัลเลาะห์(..) ที่เป็นประชากร(อุมมะห์)ของท่าน ท่านจึงกล่าวว่า   
اَلسَّلاَمُ عَلَيْنَاوَعَلَى عِبَادِاللهِ الصَّالِحِيْنَ
         ความว่า  ขอความสันติได้มีเหนือพวกเราและเหนือบ่าวที่ดีของพระองค์ด้วยเถิด”

มวลมาลาอีกะฮ์ทั่วท้องฟ้าเปล่งเสียงพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมายมาก่อนว่า  
                               
اَشْهَدُاَنْ لاَاِلَهَ اِلاَّاللهُ وَاَشْهَدُاَنَّ مُحَمَّدًارَسُوْلُ اللهِ
          ความว่า    ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไหว้โดยเที่ยงแท้นอกจากอัลเลาะห์ (..) และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่านบีมุฮำหมัดเป็นร่อซู้ลของอัลเลาะห์(..)
*  :  บัญัติการละหมาดฟัรฎู เวลา ส่วนจากจารึกของการอิสรออ์  และเมียะอ์รอจ      จึงทำให้บ่าวของอัลเลาะฮ์     ( . )ที่เป็นมุสลิมทั้งหลายรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการละหมาด ว่าเป็นอิบาดะห์อันดับต้นและเป็นองค์ประกอบของอิสลาม รองจากการปฏิญาณตน  เราจะสังเกตได้ว่า  การปฏิบัติอิบาดะฮ์อื่น ที่นอกจากการละหมาดแล้วนั้น    อัลเลาะห์(..)  ทรงประทานวะฮีย์    (   وَحْيٌ    )  แก่ท่านนบี ( . )โดยผ่านยิบรออิ้ลนำมาสู่ยังพื้นโลก    ส่วนการละหมาดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเพียง 5 เวลาซึ่งผลบุญทวีคูณถึง 50 เวลา   ท่านนบีได้ขึ้นไปรับจากพระองค์อัลเลาะฮ์โดยตรง    ในค่ำคืนของวันจันทร์ที่ 27 แห่งเดือนร่อญับ ในปีที่แปดจากการเป็นศาสนทูตของท่านนบี ( . )    ดังนั้นมุสลิมทุกคนจำเป็นต้องแสดงออกถึงความยำเกรงต่ออัลเลาะฮ์อย่างแท้จริงและพร้อมด้วยการรำลึกถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติเป็นฟัรฎูแก่ท่านนบี ( . )และอุมมะฮ์ของท่านในค่ำคืนที่มีสิริมงคล   ด้วยการดำรงไว้ซึ่งการละหมาด
ของฝากหลังบทความ
   ดุอาอ์ปลดหนี้สิน
اَللَّهُمَّ أَكْفِنِيْ بِحَلاَ لِكَ عَنْ حَرَامِكَ وَأَغْنِنِيْ بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ
   ดุอาอ์คลายทุกข์โศก
لاَاِلَهَ اِلاَّ الله ُالْعَظِيْمُ الْحَلِيْمُ . لاَاِلَهَ اِلاَّ الله ُرَبُّ الْعَرْشِ الْعَظِيْمِ . لاَاِلَهَ اِلاَّ الله ُرَبُّ السَّمَاوَاتِ وَرَبُّ اْلأَرْضِ . وَرَبُّ الْعَرْشِ الْكَرِيْمِ.