วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความศาสนา

الكبائر
อั้ลกะบาอีร

โดย อ. อาลี  กองเป็ง
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
                คำว่าอั้ลกะบาอิร (الْكَبَائِرْ)  คือความผิดหรือการกระทำที่เป็นบาปใหญ่  ซึ่งพระองค์อัลเลาะฮ์ ( ซ บ) ทรงระบุไว้เป็นข้อต้องห้ามในพระมหาคัมภีร์อั้ลกุรอ่าน  และท่านนบี ( ซ ล ) ได้กล่าวเตือนในซุนนะฮ์ของท่านและร่องรอยที่ถูกถ่ายทอดจากบรรดาชนสะลัฟซอและฮ์    อัลเลาะฮ์ ( ซ บ) ทรงตรัสในคัมภีร์อั้ลกุรอ่าน  เพื่อบ่าวของพระองค์ได้ทราบว่า  ผู้ใดที่เขาออกห่างไกลจากกะบาอิรหรือบาปใหญ่  พระองค์ได้ทรงปลดเปลื้องแก่เขาเหล่านั้นจากบาปเล็กๆทั้งหลาย   อัลเลาะฮ์ทรงกล่าวในซูเราะห์ อันนิซาอฺ โองการที่  31  ว่า     

            
ความว่า  "หากพวกเจ้าปลีกตัวออกจากบาปใหญ่ทั้งหลายคือสิ่งที่พวกเจ้าถูกห้ามจากสิ่งนั้น  เราก็จะลบล้างออกจากพวกเจ้า  และเราจะให้พวกเจ้าเข้าสู่สถานที่อันมีเกียรติ ( สวรรค์ )"      
                                                                                                        
การปลีกตัวของมนุษย์จากบาปด้วยการไม่ตามอารมฌ์ชั่วที่นำพา  และไม่คล้อยตามการชักจูงของชัยฏอน  พร้อมกับรักษาตัวเองและปกป้องมิไห้ตกอยู่ในการทำบาปใหญ่  อัลเลาะฮ์คือผู้ทรงค้ำประกันว่าพระองค์นั้นจะนำเขาผู้นั้นเข้าสวรรค์                                   
                                                                          
ท่านนบี (ซ ล)  กล่าวว่า        
الصَّلَوَاتُ الْخَمْسُ . وَالْجُمْعَةُ إِلَى الْجُمْعَةِ .وَرَمَضَانُ  إِلَى رَمَضَانَ . مُكَفِّرَاتٌ لِمَابَيْنَهُنَّ إِذَاجْتُنِبَ الْكَبَائِرْ        
    رواه أحمد ومسلم والترمذي عن أبي هريرة                                                                 
.
ความว่า"การละหมาดฟัรฎูห้าเวลา  การละหมาดญุมอะฮ์หนึ่งสู่ญุมอะฮ์หนึ่ง  การถือศีลอดในรอมฎอนหนึ่งสู่รอมฎอนหนึ่ง  ทั้งหลายนี้ได้เปลื้องโทษที่อยู่ระหว่างนั้น  ทั้งนี่เมื่อเขาออกห่างไกลจากบาปใหญ่"
     จึงทำให้พี่น้องมุสลิมเข้าใจตรงกันว่า  คำว่าบาปนั้นมีสองประเภท คือบาปเล็กและบาปใหญ่   บาปเล็กๆน้อยๆจะถูกปลดเปลื้องด้วยการทำความดีที่หลากหลาย  เขาที่เป็นมุสลิมต้องพยายามสลายบาปเหล่านี้ด้วยการฎออัตภัคดี  อย่าได้สะสมสิ่งเล็กๆจนกลายสภาพเป็นตะกันก้นกาน้ำที่ติดแน่นเสมือนคราบของหินปูนหรือดินพอกหางหมูจนเกิดความลำบากในการขจัดมันออกไป  ส่วนบาปใหญ่ไห้พี่น้องต้องเข้าใจว่า  ไม่มีใครลงโทษได้รุนแรงและแสนสาหัสเทียบเท่าการลงโทษของอัลเลาะฮ์ได้เลย  และเมื่ออัลเลาะฮ์ทรงโกรธแก่ผู้ฝ่าฝืนแล้วเขาย่อมได้รับความหายนะในโลกอาคีเราะฮ์   และก็เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงลงโทษบนโลกดุนยานี้เองตราบใดที่ผู้ละเมิดยังไม่รู้สึกสำนึกผิดและไม่ขออิสติฆฟารต่อพระองค์เฉกเช่นประชาชาติยุคก่อนๆมาแล้วที่พวกเราได้เคยรับทราบในกรณีของฟาโรห หรือฟิรเอาน  จอมอหังกา และหยิ่งผยองถึงขั้นอ้างตนเป็นพระเจ้า และเช่น กลุ่มของนบีลูฏ อะลัยฮิสสลามที่ไม่ยอบศรัทธาต่อท่านและยังประกอบกรรมที่เลวร้ายซึ่งไม่มีผู้ใดทำเช่นนี้มาก่อนคือการรักร่วมเพศอย่างเปิดเผยและไม่เกรงกลัวอัลเลาะฮ์ทั้งๆทีนบีลูฎอะลัยฮิสสลามทำการตักเตือน  ห้ามปรามและปกป้องจนสุดความสามารถ  อัลเลาะฮ์จึงทรงลงอะสาบ (ลงโทษ)โดยการทำลายคนชั่วเหล่านี้  ทรงใช้ยิบรออี้ลยกเมืองซ่อดูมขึ้นยังฟากฝ้าแล้วปล่อยหกคะมำคว่ำยังพื้นดินซึ่งพลิกคว่ำเมืองจากข้างบนเป็นข้างล่าง  ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังทรงได้กระหน่ำหินที่แผดร้อนลงมาอย่างต่อเนื่องทำลายเมืองซ่อดูมซึ่งหินนั้นจะมีชื่อของผู้ถูกทำลายแต่ละคนถูกสลักชื่อเอาใว้ที่หินแต่ลก้อน  และยังเป็นปรากกการที่ประจานไห้เห็นจากร่องรอยดังกล่าว ณ (اَلْبَحْرُالْمَيِّتْ) ทะเลตายหรือทะเลทราบเดสซีและบ้างก็ว่าทั้งเมืองซ่อดูมและอัมมูเราะฮ์จมภายไต้ทะเลเดสซีนี้เอง  แต่ในขณะเดียวกันความเป็นมนุษย์ที่มิอาจถึงขั้นมะซูมย่อมมีความผิดไปในทางที่เป็นบาปใหญ่  ก็ไห้เขาเข้าใจเถิดว่า  อัลเลาะฮ์ทรงพระเมตตาและกรุณายิ่ง  จงรีบทำการเตาบัตตัวจากความผิดที่ได้กระทำไปโดยการสำนึกผิดที่ถูกขนานนามว่าเตาบะตันนะซูฮา ( تَوْبَةً نَصُوْحًا)  อัลเลาะฮ์ทรงกล่าว ในซูเราะ อัซซุมัร โองการที่ 53 ว่า  

                                                                                                                    
         ความว่า" (โอ้มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า โอ้บ่าวของข้าเอ๋ย ซึ่งบรรดาผู้ดำเนินชีวีตที่ผิดพลาดไปกับตัวของพวกเขาเอง  พวกท่านจงอย่าหมดหวังเลยจากความเมตตา(โดยการขออภัยโทษ)  แท้จริงอัลเลาะฮ์คือผู้ทรงอภัยยิ่งกับความผิดทั้งหลายแท้จริงพระองค์ผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตายิ่ง "
اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ