วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

คุตบะห์วันศุกร์


การเชิญเข้าสู่ความดีด้วยอิคลาศและยับยั้งความชั่วด้วยฮิกมะฮ์
อ.อาลี  กองเป็ง


ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

มีรายงานจากท่านอะนัสบินมาลิก ( ร ฎ ) จากท่านนะบี ( ซ ล ) กล่าวว่า

اِنَّ مِنَ النَّاسِ نَاسًا مَفَاتِيْحُ لِلْخَيْرِمَغَالِيْقُ لِلشَّرِّ . وَاِنَّ مِنَ النَّاسِ نَاسًا مَفَاتِيْحُ لِلشَّرِّمَغَالِيْقُ لِلْخَيْرِ. فَطُوْ بَى لِمَنْ جَعَلَ الله ُتَعَالَى مَفَاتِيْحَ الْخَيْرِعَلَى يَدَيْهِ . وَوَيْلٌ لِمَنْ جَعَلَ الله ُمَفَاتِيْحَ الشَّرِّعَلَى يَدَيْهِ  . 
 رواه ابن ماجه وحسنه
"แท้จริงมีคนกลุ่มหนึ่งจากผู้คนทั้งหลายซึงมีกุญแจหลายลูกเพื่อไขสู่ความดีและปิดล๊อคความชั่ว  และอันที่จริงก็มีอีกกลุ่มหนึ่งจากคนทั้งหลายที่มีบรรดากุญแจไขสู่ความเลวร้ายปิดล๊อคประตูความดี  ดังนั้นโปรดบอกข่าวดีแก่ผู้ที่องค์อัลเลาะฮ์ ( ซ บ ) ทรงประทานบรรดากุญแจไขสู่ความดีอยู่ในสองมือเขา  และไปบอกความหายนะแก่ผู้ที่อัลเลาะฮ์ ( ซ บ ) ทรงดลบันดารบรรดากุญแจที่เปิดประตูสู่ความชั่วอยู่ในสองมือของเขา"
         คนที่สั่งใช้กันทำความดีและยับยั้งจากความชั่วคือผู้ที่ถือลูกกุญแจเปิดประตูสู่ความดีและถือลูกกุญแจล๊อคประตูความชั่ว   เขาทั้งหลายมีนามชื่อว่ามุมินีน   ดังอัลเลาะฮ์ ( ซ บ ) ตรัสในซูเราะห์ อัต-เตาบะห์ อายะห์ที่ 71 ว่า

وَالْمُؤْمِنُوْنَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ يَأْمُرُوْنَ بِالْمَعْرُوْفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ
และบรรดามุมินชายและบรรดามุมินหญิง  บางคนของพวกเขาต่างมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เขาทั้งหลายใช้ไห้ทำสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ศาสนาปฏิเสธ"
      
     ส่วนผู้ที่ชักจูงสู่ความชั่วและขัดขวางคนทำความดีก็มีลูกกุญแจเช่นเดียวกันแต่มีใว้เพื่อเปิดสู่ความวิบัติเขาเหล่านั้นผู้มีเครื่องหมายของกลุ่มชนที่มีนามว่ามุนาฟิกีน   ดังอัลเลาะฮ์ตรัสในซูเราะห์อัต-เตาบะห์ อายะห์ที่ 67 ว่า

اَلْمُنَافِقُوْنَ وَالْمُنَافِقَاتِ بَعْضُهُمْ مِنْ بَعْضٍ يَأْمُرُوْنَ بِالْمُنْكَرِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمَعْرُوْفِ  .
ความว่า  "บรรดามุนาฟิกชายและบรรดามุนาฟิกหญิงนั้นบางส่วนของพวกเขาต่างสืบทอดความประพฤติมาจากกันและกัน  ซึ่งพวกเขาจะใช้ไห้กระทำในสิ่งที่มุงกัรและขัดขวางในสี่งที่เป็นมะรูฟ"

  ท่านอีหม่ามอะบุ้ลลัยษได้บันทึกในตำราของท่านว่า   อั้ลมะรูฟคือ  คำสั่งใช้จากอั้ลกุรอ่านและอั้ลหะดีษและจากสติปัญญาที่รู้ผิดรู้ถูก   และคำว่ามุงกัรคือความหมายที่ตรงข้ามกับมะรูฟ

            อัลเลาะฮ์ทรงสั่งใช้ด้วยเรื่องอั้ลอัมรุบิ้ลมะอ์รูฟ   และทรงใช้ในเรื่อง อันนะฮ์ยุอะนิ้ลมุงกัร  ในซูเราะฮ์อาลิอิมรอนอายะฮ์ที่ 104 ว่า
وَلْتَكُنْ مِنْكُمْ أً مَّةٌ يَدْ عُوْنَ اِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُوْنَ بِالْمَعْرُوْفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُوْنَ .
"และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้าซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องเชิญชวนสู่การทำความดี  และใช้ไห้ทำสิ่งที่ถูกต้อง  และห้ามมิไห้ทำสิ่งที่มิชอบ"

        และกลุ่มชนเหล่านี้แหละคือผู้ได้รับชัย การเชิญชวนคนทำดีต้องมีการใส่หัวใจที่เต็มเปลี่ยมไปด้วยอิคลาศคือมีเจตนาเชิญชวนไห้ทำความดีด้วยใจที่บริสุทธิ์มิหวังผลตอบแทนใดๆนอกจากอัลเลาะฮ์มิใช่เพื่อผลประโยชณ์ของตัวเองในโลกดุนยา 
         ท่านอิกริมะฮ์กล่าวว่า  มีชายผู้หนึ่งเดินผ่านต้นไม้ต้นหนึ่งที่ถูกสักการะ  เขาเกิดความโกรธอย่างมาก  เขาจึงหยิบขวานและขึ้นขี่ลามุ่งหน้าไปยังต้นไม้นั้นเพื่อจะตัดมันทิ้งเสีย  ขณะนั้นเขาได้พบกับอิบลีสในร่างของชายผู้หนึ่งระหว่างทาง  อิบลีสจึงเอ่ยถามเขาว่า  ท่านจะไปไหน ชายผู้นี้จึงตอบว่า ข้าจะไปตัดต้นไม้ที่มีผู้คนสักการะและหลงผิดกันอยู่  อิบลีสจึงกล่าว่า มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของท่านเลยปล่อยให้มันถูกสักการะอย่างนั้นแหละ  และจะไม่เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าจากผู้คนทั้งหลายด้วย  เจ้าจงกลับไปเถอะ เราจะตอบแทนท่านวันละสี่ดิรฮัมทุกๆวันไป ท่านจะพบสี่ดิรฮัมนี้ใต้ที่นอนของท่านทุกเช้า ชายผู้นี้จึงกล่าว่า   ท่านจะให้ข้าดังกล่าวจริงหรือ อิบลีสตอบว่า ข้ารับประกันคำสัญญาดังกล่าวของข้า   ด้วยกับผลประโยชน์ของตัวเอง ชายคนนี้จึงขี่ลากลับบ้านพร้อมกับขวานที่ถือมาด้วย เขานอนรอคอยยามเช้ากับสี่ดิรอัมที่อิบลีสได้สัญญาเอาไว้เมื่อฟ้าสางเขาล้วงมือเข้าใต้ที่นอนเขาก็ได้พบกับสี่ดิรฮัมสมความตั้งใจของเขา อยุ่ต่อมาวันหนึ่ง เขายื่นมือไปใต้ที่นอนหวังที่จะได้กับสี่ดิรฮัมดังเคยแต่กลับเจอกับความว่างเปล่า เขาจึงเกิดโทสะจึงหยิบขวานเล่มเดิมและขี่ลาตัวเดิมมุ่งหน้าไปเพื่อตัดต้นไม้ เพราะความผิดหวังและหมดผลประโยชน์ ระหว่างทางเขาก็ได้พบกับอิบลีสเช่นเคย อิบลีสก็ถามว่า ท่านต้องการตัดต้นไม้ใช่ไหม ชายผู้นี้ตอบว่า ใช่แล้ว อิบลีสจึงกล่าวเย้ยชายผู้นี้ว่า เจ้าไม่สามารถทำได้หรอกเนื่องจากความตั้งใจของท่านเปลี่ยนไปหากท่านตัดมันเพราะโกรธเพื่ออัลเลาะห์ มาดแม้นชาวฟ้าทั้งหมดร่วมกับชาวดินทั้งหมดก็ไม่สามารถห้ามท่านได้ แต่เวลานี้ท่านจะตัดมันเพราะขาดผลประโยชน์ของตัวเอง หากแม้นท่านตัดมันท่านก็จะโดนตัดคอเป็นแน่ 
           ท่านพี่น้องที่รัก ท่านนบี ( ซ ล ) กล่าว่า 

                               اِ ذَ ا رَآى أَ حَدُ كُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ . فَاِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ . فَاِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ . 
  الحديث  رواه مسلم
"เมื่อผู้ใดของพวกท่านแลเห็นมุงกัร เขาจงเปลี่ยนแปลงมันด้วยกำลังของพวกเขา หากมิสามารถเขาจงใช้ด้วยวาจา หากมิสามารถแล้ว ก็จงปฏิบัติด้วยทางใจ"
     
           อุละมาอ์บางกลุ่มกล่าว่า การยับยั้งด้วยกำลังหรืออำนาจ เป็นวาญิบของผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่   การยับยั้งด้วยวาจา กล่าวตักเตือน เป็นหน้าที่ของอุละมาอ์    และการไม่เห็นพ้องด้วยทางใจ คือสามัญชนทั่วไป
           บางกลุ่มของอุละมาอ์กล่าว่า ผู้ใดที่มีความสามารถ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่แก่เขา    
          จากท่านอิบนิมัสอู้ดกล่าว่า พอเพียงแล้วแก่คนๆหนึ่งของพวกท่าน เมื่อเห็นสิ่งที่เป็นบาปแต่ขาดความสามารถยับยั้งได้ ให้เขาได้เกิดมีความรังเกียจในใจเขา                                                                
          ท่านกุรฏูบีย์กล่าว่า มีรายงานจากศ่อฮาบะห์กล่าว่า เมื่อคนใดจากหมู่พวกท่าน เห็นมุงกัร แต่ความสามารถเขาไปไม่ถึง เขาจงกล่าวสามครั้งว่า โอ้อัลเลาะห์ แท้จริงนี่มันคือของบาป ข้าพเจ้ามิได้ยินดีด้วย เมื่อเขากล่าวเช่นนี้แล้ว เขาย่อมได้ผลบุญเฉกเช่นผู้ใช้ทำความดีและห้ามทำความชั่ว    
          ท่านฟะกีฮ์อะบุ้ลลัยษ์กล่าว่า ผู้ซึ่งใช้ทำความดี จำต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
        ความรู้เพราะผู้ไม่รู้เขาจะขาดทักษะและตรรกะในการเชิญชวนและห้ามปราม
      เจตนาในการเชิญชวน และห้ามปรามเพื่ออัลเลาะห์
       นิ่มนวลต่อผู้ที่ถูกเรียกร้องสู่ความดี พร้อมด้วยความรักอันแท้จริง อย่าก้าวร้าวและจิตใจที่หยาบกระด้าง เพราะอัลเลาะห์ทรงกล่าวแก่ท่านนบีมูซาและฮารูน อะลัยฮิมัสสลาม ขณะถูกแต่งตั้งไปยังฟิรเอาน์ 
           ในซูเราะห์ ตอฮา อายะห์ที่ 44  ว่า
فَقُوْلاَ لَهُ قَوْلاً لَيٍّنًا لَعَلَّهُ يَتَذَكَّرُأَ وْ يَخْشَى .
 "ดังนั้นเจ้าทั้งสองจงพูดกับเขาด้วยคำพูดที่อ่อนโยน เผื่อว่าเขาอาจจะรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะห์หรือกลัวการลงโทษ"
       มีความอดทนพร้อมด้วยความสุขุม
       จำต้องปฏิบัติตนตรงกับสิ่งที่เขาได้ใช้และห้ามตนเองจากสิ่งที่เขาได้ห้าม มิฉนั้นแล้วก็ไม่ต่างไปจากกลุ่มของยะฮูดีย์ที่อัลเลาะห์ทรงประณาม  ในซูเราะห์ อัล-บากอเราะห์ อายะห์ที่ 44ว่า
أَتَأْمُرُوْنَ النَّاسَ بِالْبِرِّوَتَنْسَوْنَ أَنْفُسَكُمْ 
"เจ้าทั้งหลายใช้ให้ผู้คนทำความดีและพวกเจ้าลืมตัวของพวกเจ้าเองกระนั้นหรือ"

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ