วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุตบะห์วันศุกร์

     ความหายนะของผู้ยุแหย่ใส่ร้าย

โดย อ. อาลี   กองเป็ง



اَلْحَمْدُللهِ الَّذِيْ خَلَقَ اْلاِنْسَانَ فِيْ اَحْسَنِ تَقْوِيمٍ  وَبَعَثَ النَّبِيِّيْنَ مُبَشِرِيْنَ  وَ مُنْذِرِيْنَ  وَاَنْزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ لِيُرْشِدُوا النَّاسَ اِلَى سَبِيْل  اْلهُدَى  وَيُخْرِجُوْهُمْ مِنَ الظُّلُمَاتِ اَلَى النُّوْرِ وَاَشْهَدُ اَنْ لاَاِلَهَ اِلَا اللهَ وَحْدَهُ لَاشَرِيْكَ لَهُ وَاَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ الَّذِيْ بَعَثَهُ فِي الْاُمِّيِّيْنَ رَسُوْلًا مِنْهُمْ يَتْلُوْعَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيْهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَاِنْ كَانُوْا مِنْ قَبْلُ لَفِيْ ضَلاَلٍ مُبِيْنٍ  اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَاَصْحَابِهِ الدَّاعِيْنَ اِلَى سَبِيْلِ رَبِهِمْ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ   فَرَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ اَجْمَعِيْنَ    اَمَّابَعْدُ  فَيَاعِبَادَاللهِ  اُوْصِيْكُمْ  وَنَفْسِيْ اَوَلًا بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ     فَقَدْقَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ    ﴿ وَلَا تُطِعْ كُلَّ حَلَّافٍ مَّهِينٍ  هَمَّازٍ مَّشَّآءٍ بِنَمِيمٍ ﴾ صَدَقَ اللهُ الْعَظِيْمُ                     

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         ความรู้สึกที่ดีต่อพี่น้องมุสลิมเป็นปัจจัยหลักของการอีหม่าน  มุสลิมที่ทำการสนทนาต่อพี่น้องเขาต้องระวังวาจาที่ส่อไปในทางยุแหย่ใส่ร้ายซึ่งจะนำไปสู่ความแตกแยก  ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของศาสนา   นับว่าเป็นบาปใหญ่หลวง   ในการที่ผู้หนึ่งได้ถ่ายทอดการสนทนาหรือคำพูดไปยังผู้อื่น  โดยมีเจตนาให้พี่น้องมุสลิมชังชังกัน   เกลียดกัน   เมินหน้าหนีกัน   เพราะเพียงแต่คำพูดยุแหย่ ใส่ร้ายเท่านั้น   ถึงอาจทำให้ทะเลาะวิวาทและตัดญาติ   ขาดมิตรไปเลยก็มี   นักวิชาการ (บรรดาอุลามาอ์)   มีความเห็นตรงกันเรียกว่าอิจมาอ์  ว่าการยุแหย่ให้เกิดความร้าวฉานระหว่างผู้คนเป็นบาปใหญ่
         อัลเลาะห์ตรัสในซูเราะห์  อัล-เกาะลัม อายะห์ที่ 10 และ 11 ว่า  


وَلَا تُطِعْ كُلَّ حَلَّافٍ مَّهِينٍ ﴿١٠﴾ هَمَّازٍ مَّشَّآءٍ بِنَمِيمٍ ﴿١١﴾   سورة القلم  : ١٠ , ١١
ความว่า   “และเจ้าอย่าปฏิบัติตามทุกคนที่เป็นนักสาบานที่ต่ำช้า ผู้นินทาตระเวนใส่ร้ายผู้อื่น
         เป็นดำรัสที่อัลเลาะห์ทรงสั่งห้ามปฏิบัติกับมัน ถึงกับว่าผู้ที่ประพฤติเยี่ยงนี้จะไม่ได้เข้าสวรรค์ของอัลเลาะห์
         รายงานจากท่านฮุซัยฟะห์บุตรของยามาน โดยท่านนบี(ซ.ล)กล่าวว่า
لَايَدْخُلُ الْجَنَّةَ نَمَّامٌ }   رواه البخاري ومسلم وابوداود والترمذي }
ความว่า  “ผู้ที่ตระเวนใส่ร้ายผู้อื่น(ยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะ)จะไม่ได้เข้าสวรรค์
         ท่านพี่น้องในโลกที่ขั้นกลางระหว่างดุนยาและอาคีเราะห์ นามชื่ออาลัมบัรซาคียะห์ เป็นสถานที่ลงโทษแก่ผู้ที่ตระเวนยุแหย่ใส่ร้ายที่เรียกว่าอาซาบกุโบร์ ได้มีบันทึกฮาดีสจากนักบันทึกยก เว้นอิบนุคุซัยมะห์ เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล)ได้เดินผ่านยังสองหลุมศพ และท่านก็กล่าวว่า
اَنَّهُمَا لَيُعَذَّبَانِ وَمَايُعَذَّبَانِ فِيْ كَبِيْرٍاَمَّااِنَّهُ كَبِيْرٌ
         “แท้จริงทั้งสองกำลังถูกทรมานและไม่ใช้ถูกทรมานในเรื่องใหญ่โตเลยตามที่เขาคิด แต่โปรดทราบว่าแท้จริงมันเป็นโทษหนักมหาศาล
اَمَّااَحَدُهُمَا فَكَانَ لَايَسْتَبْرِئُ مِنْ بَوْلِهِ
“หนึ่งจากทั้งสองปรากฏว่าเขาปัสสาวะและไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อย”
وَاَمَّا الْآخَرُفَكَانَ يَمْشِيْ بِالنَّمِيْمَةِ
“และอีกผู้หนึ่งจากทั้งสองปรากฏว่าเขาเป็นผู้ตระเวนยุแหย่ให้เกิดความแตกแยก”
         นับว่าเป็นความวิบัติอันยิ่งใหญ่แก่เขาที่ต้องจากโลกดุนยาไปสู่ความโกรธกริ้วของอัลเลาะห์ เพียงแต่การหาความสนุกและสะใจในความเดือดร้อนและวิวาทของผู้อื่นเพียงชั่วครู่ แต่ต้องรับความทุกทรมานอย่างสาหัสในด่านแรกแห่งอาคีเราะห์
         มีรายงานจากท่านอบูฮูรอยเราะห์กล่าวว่า ท่านนบี(ซ.ล)  กล่าวว่า
{تَجِدُوْنَ شَرَّ النَّاسِ ذَاالْوَجْهَيْنِ الَّذِيْ يَاْتِيْ هَؤُلَاءِ بِوَجْهٍ وَهَؤُلَاءِ بِوَجْهٍ وَمَنْ كَانَ ذَاالِّسَانَيْنِ فِي   الدُّنْيَا فَاِنَّ اللهَ يَجْعَلُ لَهُ لِسَانَيْنِ مِنْ نَارٍ يَوْمَ اْلقِيَامَةِ}    رواه مالك والبخاري ومسلم
         “ ความว่า  ท่านทั้งหลายจะได้พบมนุษย์ที่สุดแห่งความชั่วมีสองลิ้นนั้นคือผู้ที่ไปหากลุ่มหนึ่งด้วยใบหน้าแบบหนึ่งและไปหาอีกกลุ่มหนึ่งด้วยใบหน้าอีกแบบหนึ่ง(ยุแยงตะแคงรั่ว)  และผู้ใดปรากฏว่าเป็นเจ้าของสองลิ้นในโลกดุนยา(ยุแหย่ใส่ร้าย)
แท้จริงอัลเละห์จะทรงให้เขามีสองลิ้นจากไฟนรกในวันกียามะห์
         ท่านอีหม่ามอะบูฮามีดอัลฆอซาลี ได้กล่าวว่า ความหมายส่วนใหญ่ของคนนับมามคือผู้ที่ถ่ยทอดคำพูดของผู้หนึ่งสู่อีกผู้หนึ่ง โดยกล่าวว่า (นาย ก. ได้กล่าวว่าท่านอย่างนี้มิใช่ความหมายของนับมามเฉพาะแค่นี้เท่านั้น แต่มันได้ให้ความหมายถึงการเปิดเผยสิ่งที่น่ารังเกียจของผู้อื่นสู่ผู้อื่น กล่าวคือผุ้ถูกถ่ายทอดคำพูดและผู้รับการถ่ายทอดคำพูด และท่านอีหม่ามฆอซาลีได้กล่าวต่ออีกว่า การเปิดเผยความลับด้วยคำพูด เขียน ทำสัญญาณหรือแสดงออกถึงอาการบ่งชี้ บอกถึงตำหนิให้ร้าย ดังนั้นคำว่า  نَمِيْمَةْ     ที่แท้จริงคือเปิดเผยความลับและทำลายของที่เขาสงวนอันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ
         ฉะนั้นแล้วถือเป็นการบังควรอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์อย่าพูดในทุก ๆ สิ่งที่ได้ทราบหรือเห็นจากสภาพการของผู้อื่น ยกเว้นในกรณีเล่ากล่าวเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือป้องกันความเลวร้าย     เพื่อเป็นอนุสติแก่ท่านพี่น้อง
         กล่าวคือถ้าแม้นว่ามีผู้มากล่าวแก่ท่านว่า ชายคนหนึ่งได้กล่าวหาว่าท่านอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านจงปฏิบัติ 6 ประการต่อไปนี้
اَنْ لَايَصْدُقَهُ لِأَنَّهُ نَمَّامٌ فَاسِقٌ وَهُوَ مَرْدُوْدُ الْخَبَرِ
         1.  ท่านอย่าได้เชื่อเขาเพราะเขาคือคนยุแหย่ คนฟาซิก ข่าวที่เขาบอกรับฟังไม่ได้
اَنْ يَنْهَاهُ عَنْ ذَلِكَ وَيَنْصَحَهُ وَيَقْبَحَ فِعْلَهُ
         2. ท่านต้องห้ามเขาจากการกระทำดังกล่าวและตักเตือน พร้อมแสดงอาการที่ รังเกียจออกมา  
اَنْ يُبْغِضَهُ فِي اللهِ عَزَّوَجَلْ فَاِنَّهُ بَغِيْضٌ عِنْدَ اللهِ وَالْبُغْضُ فِي اللهِ وَاجِبٌ
         3.  ให้ท่านแสดงอาการโกรธเขาเพื่ออัลเลาะห์ เพราะเนื่องจากเขานั้นถูกเกลียดชัง ณ ที่ อัลเลาะห์และการโกรธหรือเกลียดชังเพื่ออัลเลาะห์ เป็นวาญิบ(จำเป็น)
اَنْ لَايَظُنَّ فِي الْمَنْقُوْلِ عَنْهُ السُّوْءَ لِقَوْلِهِ تَعَالَى ﴿ ٱجْتَنِبُوا كَثِيرًا مِّنَ ٱلظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ ٱلظَّنِّ إِثْمٌ ﴾ سورة الحجرات : 12
         4.  ท่านอย่าได้ครุ่นคิดไปในทางลบ เพราะอัลเลาะห์ทรงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงออกห่างไกลส่วนใหญ่จากการสงสัย แท้จริงการคิดสงสัยไม่ดีบางอย่างนั้นเป็นบาป
اَنْ لَايَحْمِلَهُ مَاحُكِيَ لَهُ عَلَى التَّجَسُّسَ وَالْبَحْثِ عَنْ تَحَقُّقِ ذَلِكَ
         5.  ท่านอย่าให้การยุแหย่ที่ได้รับการเล่านำพาไปสู่การสอดรู้ และค้นหาข้อเท็จจริง
อัลเลาะห์ทรงตรัสว่า
﴿وَلَا تَجَسَّسُوا﴾ سورة الحجرات : 12
ความว่า   “ท่านทั้งหลายอย่าสอดแนมซึ่งกันและกัน
         ชายผู้หนึ่งให้กล่าวแก่อุมัรบินอับดุลอาซีร ถึงเรื่องของชายผู้หนึ่ง อุมัรกล่าวว่าโอ้ชายเอ๋ย ถ้าแม้นท่านปรารถนาให้ฉันจัดการให้ ฉันก็จะพิจารณา หากท่านพูดจริง แท้ที่จริงท่านคือผู้หนึ่งจากกลุ่มชนที่ถูกกล่าวในอายะห์
﴿إِن جَآءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَإٍ فَتَبَيَّنُوا﴾ سورة الحجرات : 6
ความว่า   “ถ้าแม้นมีคนชั่วนำข่าวมาบอกพวกท่าน ท่านจงแยกแยะให้ชัดเจน
และหากว่าที่ท่านพูดเป็นการโกหก ท่านคือผู้หนึ่งจากกลุ่มชนที่ถูกกล่าวในอายะห์
هَمَّازٍ مَشَّاءٍ بِنَمِيْمٍ }   القلم :  11 }
ความว่า  ผู้ที่นินทาตระเวนใส่ร้ายผู้อื่น
                                และหากว่าท่านขอโทษ ฉันจะอภัยให้ชายผู้นี้จึงกล่าวตอบว่า
يَااَمِيْرَ اْلمُؤْمِنِيْنَ لَااَعُوْدُ اِلَيْهِ اَبَدًا
                                     "โอ้อามีริ้ลมุมินีน ฉันจะไม่ขอพูดจาใส่ร้ายใครต่อไปอีก"

اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ


หน้าแรก             คุตบะห์