วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุตบะห์วันศุกร์

                                 ความสัจจะ
โดย อ. อาลี   กองเป็ง

اَلْحَمَدُلله الذي خَلَقَ اْلِانْسَانَ وَعَلَّمَهُ اْلبَيَان   وَمَنَحَهُ مِنْ نِعَمِهِ وَخَيْرِهِ وَبِرِّهِ فَصَاحَةَ اْللِسَانِ  بِهِ يَذْكُرُهُ وَبِهِ يَتْلُوْ كَلَامَهُ اْلقُرْآنَ  وَاَشْهَدُ اَنْ لَا اِلَهَ اِلَّا اللهُ لَايُحْصِيْ نِعَمَهُ  اَحَدٌ مِنَ اْلأَناَمِ  وَاَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ حَذَّرَنَا زَلَّةَ الْلِسَانِ وَفُحْشَ الْكَلَامِ   اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَاَصْحَابِهِ الَّذِيْنَ رَطَبُوْا اَفْوَاهَهُمْ بِذِكْرِ اللهِ وَطَيِّبُوْااَلْسِنَتَهُ بِتَسْبِيْحِهِ وَتَقْدِيْسِهِ اُولَئِكَ اَصْحَابُ الْجَنَّةِ هُمْ فِيْهَاخَالِدُوْنَ      اَمَّا بَعْدُ فَيَاعِبَادَاللهِ  اُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ اَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ  تَعَالَى    فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى   {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللَّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ } الصَّادِقِيْنَ}                                                                               
พี่น้องมุสลิมที่รัก
ความสัจจะ เป็นคุณลักษณะของมุอฺมิน ซึ่งต้องสัมพันธ์อยู่กับมุอฺมินทั้งภายนอกและภายในไม่ว่าจะเป็นทางด้านคำพูดหรือการกระทำ  เพราะคำว่า  اَلصِدْقُ  สัจจะ จะนำพาไปสู่ความดี และความดีจะชักนำไปสู่สวรรค์ และสวนสวรรค์เป็นความปรารถนาอันสูงสุดของมุอฺมิน
         การโกหก มีความหมายตรงข้ามกับความสัจจะ เพราะการโกหกจะนำพาไปสู่ความเลวร้ายและความชั่วร้ายจะชักนำสู่นรก และนรกนั้นเป็นที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดของมุมิน
ผู้ที่นับถืออิสลามต้องไม่มองไปยังความสัจจะว่าเป็นเพียงนิสัยที่ประเสริฐแก่เขาเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นความสัจจะคือความสมบูรณ์ของอีหม่านและอิสลามของเขาผู้นั้นเลยทีเดียว
         อัลเลาะห์ทรงบัญญัติใช้ถึงคุณลักษณะของคำว่าสัจจะ اَلصِدْقُพร้อมพระองค์ทรงสรรเสริญกับมันด้วย ประดุจดังท่านนบีได้ใช้และสนับสนุน กำชับพร้อมด้วยขอดุอาจากอัลเลาะห์              
{يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللَّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ }   التوبة  119           ความว่า  โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลเลาะห์เถิดและจงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง
และพระองค์ตรัสเชิงการสรรเสริญต่อผู้พูดจริงว่า
مِنَ الْمُؤْمِنِينَ رِجَالٌ صَدَقُوا مَا عَاهَدُوا اللَّهَ عَلَيْهِ   }  الأحزاب    23  {
  ความว่า  ในหมู่ผู้ศรัทธามีบุรุษผู้มีสัจจะต่อสิ่งที่พวกเขาได้สัญญาต่ออัลเลาะห์เอาไว้
และพระองค์ตรัสอีกว่า
{وَالَّذِي جَاءَ بِالصِّدْقِ وَصَدَّقَ بِهِ أُوْلَئِكَ هُمُ الْمُتَّقُونَ }    الزمر  33   ความว่า   "และส่วนผู้นำมาซึ่งความจริง และเขาได้เชื่อมันกับความจริงนั้น   ชนเหล่านี้เองคือบรรดาผู้ยำเกรง"
         อัลเลาะห์ทรงตรัสรับรองผู้ที่ความสัจจะไม่เท็จพูดและกระทำผิดว่าเป็นผู้มีความตักวา (ยำเกรงต่อพะองค์) ซึ่งเป็นยอดปรารถนาของมุอฺมิน
         ศรัทธาชนที่รัก คนที่ไม่เคยโกหกนับว่าเป็นผู้ที่อัลเลาะห์ทรงคุ้มครอง แต่ถ้าย่างก้าวไปสู่การพูดโกหกหรือเท็จ อาจจะเขินอายในครั้งแรกให้รีบกลับตัวกลับใจก่อนที่จะติดการพูดเท็จเป็นนิสัย طَبِيْعَةْหากถ้าแม้นเขาโกหกบ่อยครั้งอาจจะกลายสภาพเป็นความเคยชิน คราใครที่ได้นั่งร่วมสนทนากับผู้ใดก็จะนำเรื่องโกหกมาคุย จนกระทั่งไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ศาสนาห้าม นี้แหละครับเขาผู้นั้นได้ยื่นเท้าเข้าสู่หายนะโดยไม่รู้ตัว
         ท่านนบีได้กล่าวว่า
{عَلَيْكُمْ بِالصّقِ فَاِنَّ الصِّدْقَ يَهْدِيْ اِلَى اْلبِرِّ وَاِنَّ اْلبِرَّ يَهْدَيْ اِلَى الْجَنَةِ وَمَايَزَالُ الرَّجُلُ يَصْدُقُ وَيَتَحَرَّى الصِّدْقَ حَتَّى يُكْتَبُ عِنْدَاللهِ صِدِّيْقًا  وَاِيَّاكُمْ وَاْلكَذِبَ فَاِنَّ اْلكَذِبَ يَهْدِيْ اِلَى اْلفُجُوْرِ وَاِنَّ الْفُجُوْرَيَهْدِيْ اِلَى النَّارِ وَمَايَزَالُ الرَّجُلُ يَكْذِبُ وَيَتَحَرَّى الْكَذِبَ حَتَّى يُكْتَبُ عِنْدَاللهِ كَذَّابًا  }  رواه مسلم

   ความว่า  ท่านทั้งหลายจงยึดด้วยสัจจะ เพราะแท้จริงความสัจจะจะนำพาไปสู่ความดี และแท้จริงความดีจะนำไปสู่สวรรค์ ผู้ใดที่เขาคงอยู่กับความสัจจะและพยายามที่พูดจริงจนกระทั่งเขาผู้นั้นถูกบันทึก ที่อัลเลาะห์ว่าเป็นผู้สัจจะยิ่ง และพวกท่านจงระวังเรื่องโกหกมดเท็จและความชั่วร้ายจะนำพาไปสู่นรก  ผู้ที่พยายามโกหกจนติดเป็นกมลสันดาน เขาจะถูกบันทึก ที่อัลเลาะห์ว่าเป็นจอมโกหก
และการพูดเท็จเป็นส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายของมูนาฟิก(กลับกลอก)                                                                      
ท่านนบีกล่าวว่าลักษณะนี้ในฮาดีสที่บันทึกโดยบุคอรี มุสลิม อะหมัดว่า
{آيَةُ الْمُنَافِقِ ثَلَاثٌ  اِذَاحَدَّثَ كَذِبَ وَاِذَاوَعَدَ اَخْلَفَ وَاِذَائْتُمِنَ خَانَ}

         “ความว่า  เครื่องหมายคนกลับกลอก(มุนาฟิก) มีสาประการเมื่อเขาสนทนา(พูด)ก็โกหก เมื่อเขาสัญญาก็บิดพลิ้ว  เมื่อเขารับความไว้วางใจเขาก็ทุจริต
        ท่านพี่น้องที่รัก คนที่พูดจริงอยู่เสมอจะได้รับความดีดังต่อไปนี้
1.             رَاحَةُ الضَّمِيْرِ وَطُمَاْنِيْنَةُ النَّفْسِ        จิตใจปลอดโปร่ง พร้อมไปด้วยความสงบในจิตสำนึก
 ท่านนบีกล่าวว่า                       اَلصِّدْقُ طمَأَنِيْنَةٌ    رواه الترمذي                                              "ความสัจจะคือความสุขทางใจ
2.            اَلْبَرَكَةُ فِي الْكَسْبِ وَزِيَادَةُ الْخَيْر                                 เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีสิริมงคล เพิ่มพูนความดี
ท่านนบีกล่าวว่า
اَلْبَيِّعَانِ بِالْخِيَارِ مَالمَ يَتَفَرَقَا فَاِنْ صَدَقَا وَبَيَّنَا بُوْرِكَ لَهُمَا فِيْ بَيْعِهِمَا وَاِنْ كَتَمَاوَكَذَبَا مُحِقَتْ بَرَكَةُ بَيْعِهِمَا }  متفق عليه
         ความว่า  สองผู้ซื้อขายมีสิทธิ์เลือก(รับสินค้าหรือคืนสินค้า)ตราบใดยังไม่แยกจากกัน ถ้าแม้นว่าทั้งสองหมกเม็ด ปกปิดโกหก อัลเลาะห์ทรงลบล้างบารอกะห์ในการซื้อขายของทั้งสอง
มีฮีกายะห์เล่าว่า มีชายผู้หนึ่งหลบหนีจากศัตรูไปพึ่งพาคนซอและห์
และชายผู้นี้ก็กล่าวว่า ฉันขอซ่อนตัวเองจากอันตรายด้วย ชายซอและห์ก็กล่าวว่า ท่านจงนอนตรงนี้แหละและชายซอและห์ก็ได้เอากิ่งไม้แห้งของต้นปาล์มปิดชายผู้นี้ไว้ เมื่อศัตรูมาถึงก็กล่าวถามว่า ท่านเห็นชายวิ่งหนีมาทางนี้หรือไม่ ชายซอและห์ตอบว่าเขาอยู่ใต้ใบไม้แห้งนี้แหละ  ศัตรูกลุ่มนี้คิดว่าคนซอและห์ดูถูกพวกเขาจึงพูดออกมาโดยไม่จริงจัง ศัตรูจึงละทิ้งที่นั้นและเดินจากไป
ชายที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ใบไม้แห้งจึงปลอดภัย เพราะบารอกัตความสัจจะของคนซอและห์ มีรายงานจากท่านอีหม่ามบุคอรี รอฮีมาฮุลเลาะห์ว่า ในขณะที่ท่านบุคอรีเดินทางค้นหานักรายงานฮาดีสจากชายผู้หนึ่ง ท่านก็แลเห็นว่าชายผู้นี้ตามหาม้าของเขา เนื่องจากม้าได้หนีไป ขณะที่ชายผู้นี้แลเห็นม้าตัวเอง เขาก็สะบัดผ้าห่มเพื่อแสดง
ท่านบุคอรีกล่าวว่า โอ้ชายเอ๋ยในผ้าห่มมีข้าวบาเล่ย์จริงหรือ” ชายผู้นี้ตอบว่า “ไม่จริงหรอก แต่เพื่อหลอกม้ามันจะได้กลับมา”
ท่านบุคอรี จึงกล่าวว่า ฉันไม่เอารายงานฮาดีสจากคนโกหกต่อสัตว์หรอก
         กล่าวคือขนาดสัตว์ยังโกหกได้ แล้วการโกหกกับคนด้วยกันนับว่าเป็นเรื่องง่าย
اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَاِئرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ اْلغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ