วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คุตบะห์วันอีด

.
خطبة لعيدالفطر  
โดย  อ.อาลี   กองเป็ง
    
คุตบะห์ที่ 1      
اللهُ أَكْبَر9   ครั้ง   

   اللهُ أَكْبَرُكَبِيْرًا . وَاْلحَمْدُللهِ كَثِيْرًا . وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً . سُبْحَانَ اللهِ وَاْلحَمْدُللهِ  وَلاَإِلهَ إلاَّ اللهُ . وَاللهُ أَكْبَرُوَللهِ الْحَمْدُ.
اَلْحَمْدُللهِ الْمُتَجَلِّيْ بِرَحْمَتِهِ عَلَى عِبَادِهْ ، اَلْقَرِيْبِ مِنْ أَهْلِ مَحَبتِهِ وَوِدَادِهِ ،
 اَلْقَامِعِ مَنْ هَامَ فِيْ مَيْدَانِ عُتُوِّهِ وَعِنَادِهْ ، اَلْمُعِيْدِ السُّرُوْرِ عَلَى أَهْلِ اْلاِيْمَانِ وَاْلاِسْلاَمِ  ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَإِلَهَ إِلاَّ اللهُ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ وَيُعْطَى كُلَّ سَائِلٍ مَاسَأَلْ ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ رَغِبَ فِي الطَّاعَةِ وَحَذَّرَ مِنَ الْكَسَلْ .
اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ طَيِّبِ الْقُلُوْبِ وَالْعِلَلْ  ، وَعَلىَ آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الْمُخْلِصِيْنَ للهِ فِي الصِّيَامِ وَالْقِيَامِ  ،  أَمَّا بَعْدُ  :فَياَ عِبَادَاللهِ أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ وَطَاعَتِهْ ،  وَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالىَ فِيْ كِتَابِهِ   {كُلُّ مَنْ عَلَيْهَا فَانٍ وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُوا الجَلاَلِ وَاْلاِكْرَامِ }
اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ   .   وَللهِ اْلحَمْدُ .
        ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก 
วันอีดิ้ลฟิตรี่เป็นวันที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานรางวัลแก่บรรดาบ่าวของพระองค์ที่ได้ขะมักเขม้นในการประกอบอิบาดะห์ต่อพระองค์ ซึ่งเป็นรางวัลอันมหาศาล   ดังมีรายงานจากท่าน   بْنُ أَوْسٍ َاْلاَ نْصَارِيُّ سَعْدُ

จากท่าน นบี (ซฺล) ได้กล่าวว่า
{اِذَاكَانَ يَوْمُ عِيْدِ اْلفِطْرِ وَقَفَتِ اْلمَلاَئِكَةُ عَلَى اَبْوَابِ الطُّرُقِ . فَنَادَوْااُغْدُوْايَامَعْشَرَاْلمُسْلمِيْنَ اِلَى رَبِّ كَرِيْمٍ يَمُنُ بِاْلخَيْرِثُمَّ يُثِيْبُ عَلَيْهِ اْلجَزِيْلَ  . لَقَدْ أٌمِرْتُمْ بِقِيَامِ اْللَيْلِ فَقُمْتُمْ وَأُمِرْتُمْ بِصِيَامِ النَّهَارِفَصُمْتُمْ وَأَطَعْتُمْ رَبَّكُمْ فَاقْبِضُوْاجَوَائِزَكُمْ فَاِذَاصَلُّوْانَادَىْ مُنَاد .أَلاَرَبُّكُمْ قَدْغَفَرَلَكُمْ فَارْجِعُوْارَاشِدِيْنَ إِلَى رِحَالِكُمْ  }  رواه الطبراني
ความว่า เมื่อได้ปรากฏวันอีดิ้ลฟิตริ์  เหล่ามาลาอีกะห์ใด้ยืนตามช่องทางต่างๆ เขาทั้งหลายได้ร้องกล่าวว่า  โอ้ชนมุสลิมจงมุ่งหน้าสู่พระเจ้าผู้ทรงใจบุญ  พระองค์จะทรงโปรดปรานด้วยการทำความดี พร้อมพระองค์จะทรงตอบแทนกับผลบุญอันมหาศาล แท้ที่จริงท่านทั้งหลายถูกใช้ให้ทำการละหมาดกียามุลลัยน์ ท่านทั้งหลายก็ได้ปฏิบัติกับละหมาดนั้น พวกท่านถูกใช้ให้ถือศิลอดในตอนช่วงกลางวัน ท่านทั้งหลายก็ได้ถือศิลอดและพวกท่านก็ได้ภักดีต่อพระเจ้าของพวกท่าน ดังนั้นท่านทั้งหลายจงมารับรางวัลของพวกท่านและเมื่อท่านทั้งหลายละหมาดอีดได้มีเสียงร้องเรียกว่าโปรดทราบเถิดความจริงพระเจ้าได้ทรงอภัยโทษให้แก่พวกท่านแล้วท่านทั้งหลายจงกลับไปยังพาหนะของพวกท่านในสภาพเป็นผู้นำสู่หนทางที่ถูกต้อง”

اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ   .   وِللهِ اْلحَمْدُ
ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลาย
                  อัลเลาะห์ ( .. ) ทรงบัญญัติการละหมาดอีดิลฟิตริ์ในปีที่ 1 จากฮิจญเราะห์ศักราชซึ่งเป็นการละหมาดที่ไม่เป็นการฟัรดูจำเป็นเหนือมุสลิม ถึงกระนั้นการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์ คือการละหมาดที่ท่านนบีได้ปฏิบัติเป็นประจำพร้อมกับใช้บรรดาชายและหญิงออกมาร่วมละหมาดอีดิลฟิตริ์ จึงถือเป็นข้อชี้ขาดว่า การละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์เป็น ซุนนะห์มู่อั๊กกะดะห์   سُنَّةٌمُؤَكدَةٌ  
ดั่งอัลเลาะห์ (..) ทรงกล่าวว่า
{إنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَرَ . فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَر .  إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ اْلاَبْتَرُ }   الكوثر 1-3
ความว่า   ที่จริงเราได้ประทาน อัลเกาซัร แก่เจ้าแล้ว ( ซึ่งเป็นแม่น้ำในสวนสวรรค์ ริมฝั่งทั้งสองของแม่น้ำทำด้วยทองคำ ทางน้ำไหลของแม่น้ำทำด้วยไข่มุก  เพชร พลอย  ทับทิม กลิ่นของแม่น้ำนี้มีกลิ่นหอมกว่าชะมดเชียง  และน้ำของแม่น้ำนี้มีรสหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้งและมีสีขาวสดใส ที่ลานชุมนุมในวันกิยามะห์นั้นจะมีบ่อน้ำที่มาจากแม่น้ำอัลเกาซัร และผู้ที่มีสิทธิที่จะเข้าไปดื่มจากบ่อน้ำแห่งนั้นคือ บรรดาคนซอและห์ คนดีจากประชาชาติของท่านนบี มูฮำมัด .. )
ดังนั้นเจ้าจงละหมาดนมัสการต่อพระเจ้าของเจ้าและเจ้าจงเชือดสัตว์พลีทาน”
และอัลเลาะห์ ( .. )ทรงกล่าวว่า
{ قَدْ أَفْلَحَ مَن تَزَكَّى وَذَكَرَاسْمَ رَبِّهِ فَصَلَّى } الأعلى  14-15
ความว่า แท้จริงผู้ที่ขัดเกลาตนเองย่อมบรรลุถึงความสำเร็จและเขารำลึกถึงพระนามแห่งอัลเลาะห์(..)พระเจ้าของเขาและเขาทำการละหมาด”
หลักฐานดังกล่าวข้างต้นได้ประจักว่าการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์เป็นสัญลักษณ์หนึ่งจากบรรดาสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามและเป็นการแสดงออกถึงการยำเกรง ( ตักวา ) และอีหม่านของผู้ที่เป็นมุสลิม และเวลาของการละหมาดอีดเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นระยะเท่ากับหนึ่งด้ามหอกหรือประมาณ 3 เมตร จนกระทั่งดวงอาทิตย์คล้อยและเป็นการอัฟด้อล ( ดียิ่ง )ให้ทำการละหมาดอีดิ้ลอัฏฮาเมื่อเริ่มเข้าเวลาทั้งนี้เพื่อให้มุสลิมทั้งหลายจะได้มีเวลาที่เหมาะสมในการเชือดกุรบ่านและให้ล่าช้าในการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์เพื่อให้มุสลิมทั้งหลายมีเวลาพอควรในการจ่ายซากาตฟิตเราะห์เพราะว่าปรากฏท่านรอซู้ล (.. )ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง 
  ท่านยุนดุบได้กล่าวว่า
 {كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّىْ بِنَااْلفِطْرَوَالشَّمْسُ عَلَى قِيْدِ رُمْحَيْنِ وَالأَضْحَى عَلَى قِيْدِ رَمْحٍ } أخرجه أحمد بن حسن البناء
ความว่า ปรากฏท่านนบี(.. )ทำการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์โดยนำพวกเราละหมาดขณะดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณสองด้ามหอก คือประมาณหกเมตรและละหมาดอีดิ้ลอัฏฮาขณะดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณหนึ่งด้ามหอกคือประมาณสามเมตร”
ท่านเชากานีได้กล่าวในฮ่าดิสบทนี้เป็นฮ่าดีสที่ดีที่สุดในเรื่องการเจาะจงเวลาละหมาดสองอีด
และอิบนุกุดามะห์กล่าวว่า สุนัตให้เริ่มทำการละหมาดอีดอัฏฮาในเริ่มแรกของเวลาเพื่อมีเวลามากในการเชือดกุรบ่าน และให้ล่าช้าการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ์เพื่อมีเวลามากในการจ่ายซากาตฟิตเราะห์และข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่ามีการขัดแย้งกันในเรื่องนี้เลย

اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ   .   وِللهِ اْلحَمْدُ
       
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รักทุกท่าน
       ส่วนหนึ่งจากสุนัตที่ควรปฏิบัติเนื่องจากวันอีด
ข้อที่ 1. การอาบน้ำเนื่องจากวันอีด
ข้อที่ 2. การใส่ของหอม
ข้อที่ 3.  การประดับร่างกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงาม
ท่าน อะนัส ได้กล่าวว่า
{أَمَرَنَارَسُوْلُ اللهِ صَلىَ الله عليه وسلم فِي اْلعِيْدَيْنِ أَنْ نَلْبَسَ أَجْوَدَمَانَجِدُ وأَنْ نَتَطَيَّبَ بِأَجْوَدِمَانَجِدُ....... } الحديث  رواه الحاكم
ความว่า    ท่านร่อซู้ล (..)ได้ใช้พวกเราในสองอีดให้พวกเราสวมใส่อาภรณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่พวกเราหาได้และใส่ของหอมที่ดีที่สุดที่พวกเราหาได้”
รายงานจากยะฟัรบุตรมูฮำหมัดรายงานจากบิดาของเขารายงานจากปู่ของเขาว่า
صلى الله عليه وسلم كانَ يَلْبَسُ بُرْدَحِبْرَه فِيْ كُلِّ عِيْدٍ } رواه الشافعي  والبغوي   { اَنَّ النَّبِيَّ
ความว่า  แท้จริงปรากฏว่าท่านร่อซู้ล(..) สวมอาภรณ์จาก(บุรดุฮิบเราะห์) คือผ้าคลุมชนิดหนึ่งจากเมืองเยเมนในทุกๆอีด”
ข้อที่ 4  การทานอาหารก่อนออกไปสู่การละหมาดอีดิลฟิตริ์ และการออกไปละหมาดอีดิลอัฎฮาก่อนการทานอาหาร
   ที่สมควรยิ่งให้เขาทานอินทผาลัมเป็นจำนวนคี่ก่อนไปละหมาดอีดิลฟิตริ์  ส่วนอีดิลอัฎฮาที่ดีให้เขากลับมาทานเนื้อกุรบ่าน หลังละหมาดถ้าแม้นว่ามี
ท่าน  อะนัส  กล่าวว่า 
كاَ نَ النَّبِيُّ صل الله عليه وسلم  لاَ يَغْدُوْ يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَأْكُلَ تَمْرَاتٍ وَيَأْكُلَهُنَّ وِتْرًا]]
رواه أحمد و البخاري
  ความว่า  ปรากฏท่านนบี  ยังไม่มุ่งหน้าไปสู่วันอีดิลฟิตริ์ จนกว่าท่านจะทานอินทผาลัมหลายผล  และเป็นจำนวนคี่”
จากท่าน  บุรอยด๊ะห์  กล่าวว่า
[كانَ النَّبِيُّ صل الله عليه وسلم  لاَ يَغْدُوْ يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَأْكُلَ وَلاَ يَأْكُلْ يَوْمَ اْلاَضْحَى حَتَّى يَرْجِعَ]
رواه الترمذَي وابن ما جة وأحمد
  ความว่า ท่านนบียังไม่มุ่งหน้าสู่วันอีดิลฟิตริ์ จนกว่าท่านจะรับประทาน  และท่านจะไม่รับประทานในอีดอัฎฮา จนกว่าจะกลับ”
   และมีกล่าวในมู่วัตเตาะ  จากท่านสอีด  บุตร  ฆูซัยยับ ว่า  แท้จริงผู้คนทั้งหลาย  ถูกใช้ให้ทานอาหาร  ก่อนมุ่งหน้าไปสู่ละหมาดอีดฟิตริ์

ข้อที่ 5   ถูกบัญญัติให้บรรดาเด็กและเหล่าผู้หญิงให้ไปร่วมในวันอีดไม่ว่าหญิงจะเป็นสาวหรือแม่หม้ายเด็กหรือผู้ใหญ่ สาวหรือชรา แม้นกระทั้งหญิงที่มีรอบเดือน รายงานจาก อุมอะตียะห์ เธอกล่าวว่า
{أُمِرْنَاأَنْ نُخْرِجَ الْعَوَاتِقَ وَالْحُيَّضَ فِي الْعِيْدَيْنِ يَشْهَدْنَ الْخَيْرَ وَدَعْوَةَ الْمُسْلِمِيْنَ وَيَعْتَزِلُ الْحُيَّضُ الْمُصَلَّى}   متفق عليه
ความว่า  “พวกเราถูกใช้ให้นำบรรดาหญิงสาวและหญิงที่มีรอบเดือนไปสู่สองอีด  เธอทั้งหลายจะได้เป็นพยานกันในเรื่องความดี และรับการขอพรจากพี่น้องมุสลิมและหญิงมีรอบเดือนจะไม่ต้องเข้าที่ทำการละหมาด”
  ส่วนใหญ่ของนักวิชาการถือว่า ให้ไปสู่การละหมาดอีดด้วยทางหนึ่ง และกลับอีกทางหนึ่ง ไม่ว่าเขาจะเป็นอีหม่าม หรือมะมูม
   ดังรายงานจาก  ยาบีร  กล่าวว่า
[ كانَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم إِذَا كاَنَ يَوْمُ عِيْدٍ خَالَفَ الطَّرِيْقَ ] رواه البخاري
ความว่า  ปรากฏว่าท่านนบี เมื่อถึงวันอีด ท่านนบีได้สลับทางเดิน”
ซึ่งมีรายงานจาก อะบูฮูรอยเราะห์  และบันทึกโดยอะห์หมัด มุสลิมและติรมีซีว่า
เมื่อท่านนบีออกไปสู่อีด ท่านกลับจากอีดโดยไม่ใช่ทางเดิม  ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งจำเป็น  จึงเป็นการอนุญาตให้กลับทางเดิมก็ได้  โดยมีบันทึกจากอบีดาวุด  ฮากิม  และบุคอรี ในอัตตารีค  รายงานจาก  บักร  บุตร มุบัซซีร กล่าวว่า
نْتُ أَغْدُوْمَعَ أَصْحَابِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى الله عليه وسلم إِلىَ الْمُصَلىَّ يَوْمَ الْفِطْرِ وَيَوْمَ اْلاَضْحَى فَنَسْلُكَ بَطْنَ بُطْحَانْ . حَتىَّ نَأْتِيَ الْمُصَلَّىْ فَنُصَلِّىْ مَعَ رَسُوْلِ اللهِ صلى الله عليه وسلم ثُمَّ نَرْجِعُ مِنْ بَطْنِ بُطْحَانْ إِلىَ بُيُوْتِنَا]

  ความว่า  ปรากฏพวกเรามุ่งหน้าพร้อมกับกลุ่มซอฮาบะห์สู่ที่ละหมาดในวันอีดฟิตรี่ และอีดอัฎฮา  พวกเราได้เดินตามทาง  บัดนุบุดฮาน  จนถึงที่ละหมาด  และพวกเราก็ทำการละหมาดพร้อมกับรอซู้ล  ต่อมาพวกเราก็กลับทางเดิม  (บัดนุบุฎฮาน)สู่บ้านของพวกเรา”
          ข้อที่ 6      การแสดงความยินดีและขอพรแก่พี่น้องมุสลิมด้วยกัน ที่เรียกว่า               اَلتَّهَنِّئَةُ โดยใช้สำนวนว่า    تقَبَّلَ اللهُ مِنَّاوَمِنْكُمْ   ซึ่งดังกล่าวนี้ถูกรายงาว่า
[أَنَّ أَصْحَابَ الرَّسُوْلِ صل الله عليه وسلم . كان اِذَااَلْتَقَى بَعْضُهُمْ بِبَعْضٍ يَوْمَ الْعِيْدِ قَالُوْا تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَمِنْكُمْ]   رواه البيهقي
ความว่า  แท้จริงบรรดาซอฮาบะห์ ของท่านรอซู้ล  เมื่อเขาทั้งหลายพบเจอกันและกันในวันอีด  เขาทั้งหลายได้กล่าวว่า  تقَبَّلَ اللهُ مِنَّاوَمِنْكُمْ 
ข้อที่ 7 มิถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในเรื่องการกินการดื่ม  และการละเล่นอันรื่นเริงที่ไม่เกินขอบเขตศาสนา
ทั้งนี้ท่านนบีได้กล่าวในอีดิลอัฎฮาว่า
أَيَّامُ التَّشْرِيْقِ أَيَّامُ أَكْلٍ وَشُرْبٍ وَذِ كْرِ اللهِ عَزَّوَجَلَّ}  رواه الإمام أحمد}
ความว่า  “บรรดาวันตัสรีก คือเป็นวันกินและดื่ม  และรำลึกถึงอัลเลาะห์”
 และท่าน อะนัส กล่าวว่า
دِمَ النَّبِيُّ صل الله عليه وسلم الْمَدِيْنَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُوْنَ فِيْهِمَا  فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ  قَدْاَبْدَلَ لَكُمُ اللهُ تَعَا لىَ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا يَوْمَ الْفِطْرِ وَيَوْمَ اْلأَضْحَى}
 رواه عبد الرزاق والنسا ئي وابن حبان بسند صحيح
ความว่า “ท่านนบีเข้าสู่นครมาดีนะห์  ขณะนั้นชาวมาดีนะห์จะละเล่นรื่นเริงสองวัน  นบีก็กล่าวว่า ความจริงอัลเลาะห์ ทรงเปลี่ยนให้ดีกว่านั้น  คือวันอีดิลฟิตริ์ และอีดิลอัฎฮาและท่านนบีได้กล่าวห้ามอบาบักร ที่ตำหนิสาวรับใช้สองคน ที่บ้านของท่านหญิง อาอีชะห์  ขณะที่สาวรับใช้ทั้งสองขับลำนำ (อะนาซีด หรือบทกวี) ในวันอีด” 
โดยท่านนบีกล่าวว่า
يا أَبَابَكْرٍ إِنَّ لِكُلِّ قَوْمٍ عِيْدًا وَإِنَّ الْيَوْمَ عِيْدُنَا   رواه البخاري
โอ้อะบาบักร  แท้จริงให้แก่ทุกๆกลุ่มมีอีด (รื่นเริง) และวันนี้เป็นวันอีดพวกเรา (รื่นเริง)
                                
اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ   .   وَللهِ اْلحَمْدُ

 ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
          เพื่อเป็นการตอกย้ำซ้ำเตือน ในโอกาสต่อไป คือ ท่านพี่น้องต้องพยายามจ่ายซะกาตฟิตริ์ ก่อนละหมาดอีดิลฟิตริ์   ซึ่งมีบันทึกจากอาบูดาวูด อิบนุมายะห์ และดารุกุฎนี
จากอิบนุ อับบาส กล่าวว่า
فَرَضَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم زَكَاةَ الْفِطْرِ. طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنَ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ . وَ طُعْمَةً لِلْمَسَاكِيْنَ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلاَةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُوْلَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَابَعْدَ الصَّلاَةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنَ الصَّدَقَاتِ .
ความว่า “ท่านนบีได้บัญญัติซากาตฟิตเราะห์เป็นการขจัดให้สะอาดแก่ผู้ถือศิลอดจากการกระทำและคำพูดที่ไร้สาระ วาจาที่น่ารังเกียจและซากาตฟิตเราะห์เป็นอาหารหนักแก่ผู้ยากไร้         ผู้ใดที่จ่ายซากาตก่อนละหมาดอีด นั้นคือ ซากาตที่ถูกตอบรับและผู้ใดจ่ายซากาตหลังละหมาดมันคือการ  صَدَ قَةٌ  บริจาคหนึ่งจากการ صَدَ قَةٌ   บริจาคทั่วไป”
อัลเลาะห์ทรงลงบัญญัตที่เป็นฟัรดูในเรื่องของซากาตฟิตเราะห์ในเดือนชะบานปีที่ 2 จากฮิจเราะห์ศักราช เพื่อก่อให้เกิดความสะอาดและบริสุทธิ์แก่ผู้ถือศิลอดและเป็นการชดเชยสิ่งที่บกพร่องที่เกิดแก่ผู้ถือศิลอดดังหลักฐานของฮาดิสทั้งต้นซึ่งท่านวาเกียะกล่าวว่า ซากาตฟิตเราะห์เนื่องจากรอมฎอนเปรียบเสมือนสุยุดซะห์วีของการละหมาด มันทดแทนสิ่งที่บกพร่องในการถือศิลอดดั่งสุยุดซะห์วีที่ชดเชยความบกพร่องของละหมาด จากท่านอิบนุอุมัรได้กล่าวว่า
[فَرَضَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم زَكَاةَاْلفِطْرِ مِنْ رَمَضَانَ صَاعًا مِنْ تَمْرٍأَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍعَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ وَالذَّكَرِ وَاْلاُنْثَى وَالْصَغِيْرِ وَالْكَبِيْرِمِنَ الْمُسْلِمِيْنَ]
رواه البخاري ومسلم
ความว่า ท่านร่อซู้ลได้บัญญัตเป็นฟัรดูของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์จากรอมฎอน จำนวน 1 ซออ์จากผลอินทผาลัมหรือ1 ซออ์จากข้าวบาเล่ เหนือ บ่าว เอกราช เพศชาย เพศหญิง เด็ก และผู้ใหญ่ จากมุสลิมทั้งหลาย”
ความหมายของอาหารที่จ่ายซะกาตคืออาหารหนักที่พื้นเมืองนั้นใช้รับประทานเป็นอาหารหนักแตกต่างกับท่านอาบูฮ่านีฟะห์ซึ่งถือว่าซากาตฟิตเราะห์จ่ายเป็นเงินซึ่งตีราคาจากอาหารหนักนั้นก็ใช้ได้ บรรดานักวิชาฟิกฮ์ส่วนใหญ่ถือว่าอนุญาต จ่ายซะกาตฟิตเราะห์ก่อนอีด 1 วันหรือ 2วัน
อิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านร่อซู้ลได้ใช้ให้พวกเราจ่ายซะกาตก่อนผู้คนออกไปสู่การละหมาด
นาเฟียะอ กล่าวว่า ปรากฏอิบนุอุมัรจ่ายซะกาตก่อนละหมาดอีด 1 วัน หรือ 2 วัน
ท่านอะบูฮ่านีฟะห์ ถือว่าอนุญาตจ่ายซะกาตก่อนรอมฎอน
ท่านอีหม่ามชาฟีอีกล่าวว่า อนุญาตจ่ายซะกาตในเริ่มแรกของรอมฎอน
ท่านอีหม่ามมาลิกีได้กล่าวว่า อนุญาตจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ก่อนวันอีด 1 วันหรือ 2วัน และเป็นที่ล่ำลือของมัซฮับอีหม่ามอะห์หมัด
اللهُ اَكْبَرُ  .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ  .    وَللهِ اْلحَمْدُ
  ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
          เพื่อเป็นการตอกย้ำซ้ำเตือน ในโอกาสต่อไป คือ ท่านพี่น้องต้องพยายามจ่ายซะกาตฟิตริ์ ก่อนละหมาดอีดิลฟิตริ์   ซึ่งมีบันทึกจากอาบูดาวูด อิบนุมายะห์ และดารุกุฎนี
จากอิบนุ อับบาส กล่าวว่า
فَرَضَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنَ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَ طُعْمَةً لِلْمَسَاكِيْنِ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلاَةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُوْلَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَابَعْدَ الصَّلاَةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنَ الصَّدَقَاتِ .
ความว่า “ท่านนบีได้บัญญัติซากาตฟิตเราะห์เป็นการขจัดให้สะอาดแก่ผู้ถือศิลอดจากการกระทำและคำพูดที่ไร้สาระ วาจาที่น่ารังเกรียจและซากาตฟิตเราะห์เป็นอาหารแก่ผู้ยากไร้         ผู้ใดที่จ่ายซากาตก่อนละหมาดอีด นั้นคือ ซากาตที่ถูกตอบรับและผู้ใดจ่ายซากาตหลังละหมาดมันคือการ  صَدَ قَةٌ   บริจาคหนึ่งจากการ صَدَ قَةٌ   บริจาคทั่วไป
อัลเลาะห์ทรงลงบัญญัตที่เป็นฟัรดูในเรื่องของซากาตฟิตเราะห์ในเดือนชะบานปีที่ 2 จากฮิจเราะห์ศักราช เพื่อก่อให้เกิดความสะอาดและบริสุทธิ์แก่ผู้ถือศิลอดและเป็นการอดทนสิ่งที่บกพร่องที่เกิดแก่ผู้ถือศิลอดดังหลักฐานของฮาดิสทั้งต้นซึ่งท่านวาเกียะกล่าวว่า ซากาตฟิตเราะห์เนื่องจากรอมฎอนเปรียบเสมือนสุยุดซะห์วีของการละหมาด มันขาดแทนสิ่งที่บกพร่องในการถือศิลอดดั่งสุยุดซะห์วีที่ชดเชยความบกพร่องของละหมาด จากท่านอิบนุอุมัรได้กล่าวว่า
 فَرَ ضَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم زَكَاةَ اْلفِطْرِ مِنْ رَمَضَانَ صَاعًا مِنْ تَمْرٍأَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍعَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ وَالذَّكَرِ وَاْلاُنْثَى وَالْصَغِيْرِ وَالْكَبِيْرِمِنَ الْمُسْلِمِيْنَ]
رواه البخاري ومسلم
ความว่า ท่านร่อซู้ลได้บัญญัตเป็นฟัรดูของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์จากรอมฎอน จำนวน 1 ซออ์จากผลอินทผาลัมหรือ1 ซออ์จากข้าวบาเล่ เหนือ บ่าว เอกราช เพศชาย เพศหญิง เด็ก และผู้ใหญ่ จากมุสลิมทั้งหลาย
ความหมายของอาหารที่จ่ายซะกาตคืออาหารหนักที่พื้นเมืองนั้นใช้รับประทานเป็นอาหารหนักแตกต่างกับท่านอาบูฮานีฟะห์ซึ่งถือว่าซากาตฟิตเราะห์จ่ายเป็นเงินซึ่งมีราคาจากอาหารหนักนั้นบรรดานักวิชาฟิกฮ์ส่วนใหญ่ถือว่าอนุญาต จ่ายซากาตฟิตเราะห์ก่อนอีด 1 วันหรือ 2วัน
อิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านร่อซู้ลได้ใช้ให้พวกเราจ่ายซากาตก่อนผู้คนออกไปสู่การละหมาด
นาฟียะ กล่าวว่า ปรากฏอิบนุอุมัรจ่ายซากาตก่อนละหมาดอีด 1 วัน หรือ 2 วัน
ท่านอะบูฮานาฟียะห์ ถือว่าอนุญาตจ่ายซากาตก่อนรอมฎอน
ท่านอีหม่ามซาฟีอี อนุญาตจ่ายซากาตในเริ่มแรกของรอมฎอน

ท่านอีหม่ามมาลิกีได้กล่าวว่า อนุญาตจ่ายซากาตฟิตเราะห์ก่อนวันอีด 1 วันหรือ 2วัน และเป็นที่ล่ำลือของมัซฮับอีหม่ามอะห์หมัด   ถึงอย่างไรก็ตาม บรรดา อะอิมมะห์ มีความเห็นตรงกันว่า ซากาตฟิตเราะห์
นั้นยังจำเป็นต้องจ่ายถึงแม้ว่าจะละเลยเวลาที่จำเป็นไปแล้วก็ตามและกลายสภาพป็นหนี้ที่ต้องชดใช้
และนักวิชาการฟิกฮ์ มีความเห็นตรงกันว่า ไม่อนุญาตให้ล่าช้าในการจ่ายซากาตเลยเวลา กล่าวคือ ท้ายวันของวันอีด



اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ   .   وَللهِ اْلحَمْدُ  .
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก                      
         อีดิ้ลฟิตริ์เป็นวันรื่นเริงและเป็นวันประกอบคุณงามความดีเป็นวันที่มุสลิมแสดงออกถึงความเอื้ออาทรการอภัยและมีจิตไมตรีต่อพี่น้องมุสลิมและความรักเป็นโอกาสอันดีต่อผู้ที่เป็นบุตรซึ่งจะต้องแสดงถึงความรักกตัญญูต่อสองบิดามารดาซึ่งที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่และท่านทั้งสองเป็นเหตุให้บุตรได้เข้าสวรรค์ของอัลเลาะห์และทำมาค้าขึ้นมีหน้าที่การงานก้าวหน้า
       ท่านพี่น้องทราบไหมว่า ขณะที่เรานั้นได้คลอดออกมาจากครรภ์ของมารดา ความรู้สึกปิติยินดีของคุณพ่อแม่ ถึงขั้นน้ำตาไหลออกจากสองเบ้าตาโดยไม่รู้ตัว จับสองเท้าของผู้เป็นลูกมาจุ่มพิศด้วยความรักที่พร้อมจะยอมตายเพื่อลูกได้   มีไหมที่ลูกจะได้จุมพิศต่อคุณพ่อแม่เพื่อการแสดงออกถึงความรัก
คุณพ่อคุณแม่มีความหวังลึกๆว่า เพียงลูกมองพ่อแม่ด้วยสายตาแห่งความรักคำพูดที่ฉอเลาะหรือเพียงแต่การจูบแก้มขวาและซ้ายก็เพียงพอแล้วไม่ต้องถึงขั้นก้มลงจูบเท้าหรอก 
        ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก  ลูกที่ดีต้องปรนนิบัติดีต่อบิดามารดา และเชื่อฟังท่านทั้งสอง มิใช่เพียงแต่ว่าตอบแทนบุญคุณของท่านทั้งสอง แต่มันคือคำสั่งใช้จากพระเจ้า  ถึงกับอัลเลาะห์ได้ทรงกล่าวถึงการภักดีต่อคุณพ่อคุณแม่รองจากการภักดีต่ออัลเลาะห์( ซบ)
อัลเลาะห์ทรงกล่าวว่า
{وَقَضَى رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُوْا إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَا لِدَيْنِ إِحْسَانًا إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِنْدَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاَ هُمَا فَلاَ تَقُلْ لَهُمَا أُفًّ  وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُلْ لَهُمَا قَوْلاً كَرِيْمًا وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُلْ رَبِّ ارْحَمْهُمَا كمارَبَّيَانيْ صَغِيْرًا } الاسراء 23-24
ความว่า และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่าห้ามพวกเจ้าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลเลาะห์เท่านั้น และจงทำดีต่อสองบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ซึ่งแสดงออกถึงความไม่พอใจ และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยนและจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสองซึ่งเป็นการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตาและจงกล่าวขอดุอาว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉันโปรดทรงเมตตาแก่ทานทั้งสอง เช่นการที่ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันตั้งแต่เยาว์วัย”
 โดยเฉพาะผู้เป็นมารดา  ท่านนบีให้ความสำคัญมากต่อการภักดีจากผู้เป็นลูก โดยท่านนบีได้กล่าวแก่ชายผู้หนึ่งที่มาถามท่านว่า
مَنْ اَحَقُّ بِحُسْنِ صُحْبَتِيْ
“ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในการที่ฉันควรจะภักดี
قَالَ [أُمُّكَ] قَالَ ثُمَّ مَنْ ؟ قَالَ [أُمُّكَ] قَالَ ثُمَّ مَنْ قَالَ [أُمُّكَ] قَالَ ثُمَّ مَنْ قَالَ أَبُوْكَ
 رواه البخاري ومسلم
“ท่านนบีตอบว่า มารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีก ท่านนบีก็ตอบว่ามารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีก นบีก็ตอบว่า มารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีก นบีก็ตอบว่า บิดาของท่าน”
การภักดีเชื่อฟังคุณแม่ ก็มิอาจทดแทนบุญคุณของคุณแม่ได้ ดังมี
       ท่านบัซซารได้รายงานว่า มีชายผู้หนึ่งทำการตอวาฟบัยติลละห์ โดยเขาได้อุ้มแม่ของเขาตอวาฟด้วย  เขาได้ถามท่านนบี (.) ว่า ฉันได้แทนคุณแม่ของฉันแล้วหรือยัง ท่านนบีตอบว่า ยัง และมันยังไม่เท่ากับลมเบ่งหนึ่งครั้งของแม่เลย
  ท่านพี่น้องขณะที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่  กรุณาอย่าให้เขาทั้งสองต้องเสียน้ำตาเพราะการเนรคุณของลูกโดยเฉพาะคุณแม่ ซึ่งผู้ใดทำให้คุณแม่น้ำตาไหลเพราะการอกตัญญู เขาผู้นั้นอย่าคิดว่าจะได้เข้าสวรรค์เลย แม้แต่กลิ่นไอของสวรรค์ก็มิได้ยลกลิ่น อย่าลืมว่าสวรรค์นั้นอยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา
มหาสมุทรสุดล่าอีกฟ้ากว้าง  มิอาจอ้างเทียบค่ามารดาฉัน  พระคุณแม่สูงล้นพ้นรำพัน  แม้นสวรรค์ยังลอยลาดใต้บาทเธอ 
  คนที่โชคดีคือคนที่ได้ทำดีต่อพ่อแม่ ขณะที่ท่านทั้งสองยังมีลมหายใจ  และในขณะเดียวกันเขาก็ปรารถนาที่จะทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่หลังจากโลกดุนยานี้ไปแล้ว ซึ่งมีบันทึกรายงานจากอบูดาวูดว่า ท่านนบีได้แนะนำแก่ชายคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวอันซอร ที่กล่าวถามท่านนบี (.) ว่า
يَا رَسُوْلَ اللهِ هَلْ بَقِيَ عَلىَّ شَيْءٌ مِنْ بِرِّأَبَوَيَّ بَعْدَ مَوْتِهِمَاأَبِرُّهُمَابِهِ
“โอ้ท่านรอซู้ลแห่งอัลเลาะห์ ยังมีสิ่งใดที่เหลือ เหนือข้าพเจ้าอีกไหมจากการทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่ หลังจากท่านทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว”
قاَلَ:نَعَمْ خِصَالُ أَرْبَعٍ
ท่านนบีก็ตอบว่ายังมีซิ คือ 4 ประการต่อไปนี้
الصَّلاَةُ عَلَيْهِمَا وَ اْلاِسْتِغْفَارُ لَهُمَا :1

1)การละหมาดเหนือท่านทั้งสอง และการขออภัยโทษให้แก่ท่านทั้งสอง
وَاِنْفَاذُ عَهْدِ هِمَا : 2
2) ทำให้หลุดพ้นในพันธะสัญญาของท่านทั้งสอง
 وَاِكْرَامُ صَدِيْقِهِمَا: 3
3)การให้เกียรติเพื่อนรักของท่านทั้งสอง
وَصِلَةُ الرَّحِمِ الَّتِيْ لاَ رَحِمَ لَكَ ِالاَّ مِنْ قِبَلِهِمَا : 4
4)เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ ซึ่งที่พ่อแม่ของท่าน เคยสัมพันธ์กับเครือญาติเหล่านั้นมาก่อน
فَهُوَالَّذِىْ بَقِيَ عَلَيْكَ مِنْ بِرِّهِمَا بَعْدَ مَوْتِهِمَا
มันคือสิ่งที่เหลือให้กับท่าน จากการทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่ หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว วันอีดพี่น้องมุสลิมให้อภัยกัน พ่อแม่อย่าลืมอภัยให้ลูก วันอีดพี่น้องมุสลิมเขากอด กูจุบกัน ลูกก็อย่าลืมกูจุบสองบิดา มารดา และขออภัยต่อท่านทั้งสอง ก่อนที่บรรดาลูกทั้งหลายจะไม่มีโอกาส ขออภัย และหอมแก้มซ้ายแก้มขวาของท่านทั้งสอง


اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ    .  وِللهِ اْلحَمْدُ .
ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รัก
          การทักทายด้วยการให้สล่ามเป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากซุนนะฮฺ
   เอกลักษณ์อันโดดเด่นประการหนึ่งของมุลิมอันเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกคือการทักทายด้วยการให้และรับ  สล่าม  ก่อนประโยคการสนทนาอื่นใด  ซึ้งถือเป็นวัฒนธรรมของมุสลิมทั่วโลก  กล่าว
คือ  คราใดที่พี่น้องมุสลิมพบปะกัน  เขาจะให้เกียรติกันโดยกล่าวคำว่า
اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُاللهِ وَبَرَكَاتُهُ
 ( ขอความสันติสุข ความเมตตาของอัลเลาะห์และสิริมงคคลของพระอังค์ประสพแต่ท่านเช่นกัน)ส่วนผู้ที่ได้รับคำให้เกียรติเช่นนี้ ก็ต้องกล่าวต้อนรับว่า
وَعَلَيْكُمُ السَّلاَمُ وَرَحْمَةُاللهِ وَبَرَكاَتُهُ
 ( และขอความสันติสุข ความเมตตาของอัลเลาะห์และสิริมงคลของพระองค์ประสพแต่ท่านช่นกัน )อัลเลาะห์ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา  ตรัสไว้ในพระมหาคัมภีอัลกุรอ่าน  ซูเราะห์อันนิซาอฺ  โองการที่ 86  ว่า  
(وَإِذَاحُيِّيْتُمْ بِتَحِيَّةٍ فَحَيُّوْا بِأَحْسَنَ مِنْهَاأَوْرُدُّوْهَا )
      ความว่า  และเมื่อพวกท่านได้รับการคารวะใด   พวกเจ้าก็จง (ตอบ) คารวะให้ดีงาม
กว่านั้น หรือมิฉะนั้น ก็จงตอบคารวะนั้น (ด้วยถ้วยคำที่เท่าเทียมกัน)
      นักวิชาการได้ชี้แจงว่า  การเริ่มให้  สลาม  ก่อนนั้นถือเป็นสุนัต (กล่าวคือ  หากปฏิบัติ ก็จะ
ได้รับผลบุญ และหากละทิ้ง ก็จะมิได้รับโทษแต่อย่างใด) ส่วนผู้ถูกทักทายด้วยการ สลาม นั้นมีอยู่
2 ประเภท
ประเภทแรก   ถือเป็น  ฟัรดูอัยน์ ( คือจำเป็นต้องรับ สลาม หากละเลยมิยอมรับ สลาม ถือว่ามีโทษ ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเขาอยู่เพียงคนเดียว ไม่มีผู้ถูกทักทายคนอื่นๆอยู่ร่วมด้วย
ประการสอง ถือเป็น  ฟัรดูกิฟายะฮ ( คือถ้าผู้อื่นผู้ใดในกลุ่มตอบรับ สลาม สักหนึ่งคนก็ถือว่าบุคคลอื่นพ้นข้อบังคับของศาสนาในการตอบรับ) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ถูกทักทายด้วยคำ สลาม นั้นมีจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไป
       ท่านศาสดามูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮู่อาลัยฮี่วะซั่ลลัม ได้รับรองเอาไว้ว่า หากสังคมใดได้นำวัฒนธรรมในการทักทายกันอันมีพื้นฐานมาจากซุนนะฮฺ  (แบบฉบับของท่านศาสดามูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮู่อาลัยฮี่วะซั่ลลัม ) มาปฏิบัติอย่างจริงจัง  นั่นเท่ากับว่า  สังคมนั้นได้กระทำสิ่งซึ่งเป็นสาเหตุนำมาซึ่งความรักและความสมานฉันท์ระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกันในสังคมนั้นๆ
หากมุสลิมคนใดที่มิได้ให้ความสำคัญต่อการให้ สลาม และการรับสลามนั่นก็หมายความว่า เขามิได้ให้ความสำคัญต่อเอกลักษณ์ของการเป็นมุสลิม ท่านศาสดามูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮู่อาลัยฮี่วะซั่ลลัมได้กล่าวไว้ว่า

إِنَّ الْمَلاَ ئِكَةَ تَعْجَبُ مِنَ الْمُسْلِمِ يَمُرُّ عَلَى الْمُسْلِمِ وَ لاَ يُسَلِّمُ عَلَيْهِ

ความว่าแท้จริงมวลมลาอิกะฮฺประหลาดใจเหลือเกินที่มุสลิมผู้หนึ่งผ่านไปที่มุสลิมอีกผู้หนึ่ง  โดยมิให้ สลาม  แก่กัน
ตัวบทอัลหะดีษข้างต้นถือว่าเป็นอนุสติแก่เราว่า แม้การเริ่มทักทายด้วยการ สลาม นั้นจะเป็นสุนัตมวลมลาอิกะฮฺเองก็ยังประหลาดใจต่อการที่มุสลิมบางคนมิยอมให้ สลาม และถ้าเป็นการตอบรับ สลาม ซึ่งถือว่าเป็นวายิบ ด้วยเล่า จะเป็นเช่นไร
นอกจากนี้  เอกลักษณ์อันโดดเด่นอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกคือการที่บรรดามุสลิมต่างแสดงออกถึงความเป้นมุสลิมของตนด้วยการ  มู่ซอฟะฮะฮ์ (การสัมผัสมือกันเมื่อทักทาย) วัฒนธรรมเช่นนี้สามารถพบเห็นโดยทั่วไปในหมู่มุสลิม
มีรายงานที่บันทึกโดยท่าน อบูดาวุด  ระบุว่า  ท่านศาสดามู่ฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮู่อาลัยฮี่วะซั่ลลัม  ได้กล่าวว่า
مَا مِنْ مُسْلِمَيْنِ يَلْتَقِيَانِ فَيَتَصَافَحَانِ إِلاَّغُفِرَلَهُمَاقَبْلَ اَنْ يَتَفَرَّقَا.

ความว่าเมื่อมุสลิมสองคนได้พบปะกัน ต่อมาเขาทั้งสองได้มู่ซอฟะฮะฮ์(สัมผัสมือกัน)แน่นอนอัลเลาะห์ย่อมประทานอภัยโทษแก่บุคคลทั้งสองก่อนที่จะแยกกัน
พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านครับ บางทีอาจจะยังมีมุสลิมบางคนที่เขินอายต่อการกล่าวสลาม และมู่ซอฟะฮะฮ์ กับบิดา มารดา  บุตรหลาน เครือญาติและพี่น้องมุสลิมของตนเอง หรือบางครั้งอาจจะมีใครบางคนที่ยังมีทิฐิมานะหรืออคติในใจต่อการตอบรับ สลาม และมู่ซอฟะฮะฮ์ จากบิดา มารดา บุตรหลาน เครือญาติและพี่น้องมุสลิมของเขาเอง
เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เถิดครับ  ก่อนที่จะมีใครฉวยโอกาสแย่งชิงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นซุนนะห์ของท่านศาสดามูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮู่อาลัยฮี่วะซั่ลลัม นี้ไป

اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ .  اللهُ اَكْبَرُ  .    وَللهِ اْلحَمْدُ.
 ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
           การถือศิลอดเป็นการ تَقَرُّبْ ทำความใกล้ชิดต่ออัลเลาะห์และเป็นอิบาดะห์ที่อัลเลาะห์จะทรงให้เกิดเนื่องจากการถือศิลอดของบ่าวคือ ความยำเกรงต่อพระเจ้า ( تَقْوَى ) พร้อมด้วยสุขภาพพลามัย ที่สมบูรณ์ และเสริมสร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ให้มีความอดทนอดกลั้นพร้อมด้วยความเข้มแข็งและมีความเป็นระเบียบพร้อมนำมาซึ่งความเมตตาต่อผู้ยากไร้และอีกมากมายจาก حِكْمَةْ  ของการถือศิลอด กระนั้นยังได้รับความคุ้มครองจากอัลเลาะห์ซึ่งมีบันทึกจากอะห์หมัดและนาซาอี โดยท่านนบีกล่าวว่า
اَلصِّيَا مُ جُنَّةٌ مِنَ النَّاركَجُنَّةِ أَحَدِكُمْ مِنَ اْلقِتَالِ
ความว่า การถือศิลอดเป็นโล่ป้องกันไฟนรก เปรียบเสมือนโล่ของคนหนึ่งจากพวกท่านในยามสงครามและท่าน ท่านติรมีซี นะซาอี อิบนุมายะห์ และอะห์หมัดได้บันทึกว่า ท่านนบีกล่าว ว่า
مَنْ صَامَ يَوْمًا فِيْ سَبِيْلِ اللهِ عَزَّوَجَلَّ. زَحْزَحَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ بِذلِكَ الْيَوْمِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفًا
ความว่า ผู้ใดที่ทำการถือศิลอดในหนทางของอัลเลาะห์( ลิลลาฮิตะอาลา ) อัลเลาะห์ได้ทรงโยกย้ายใบหน้า ( ร่างกาย ) ของเขาออกจากนรกในวันดังกล่าวถึง 70 ฤดูกาล
ท่านศาสดามูฮำหมัดจึงได้ขะมักเขม้นในการถือศิลอดไม่ว่าจะเป็นฟัรดูหรือสุนัตส่วนหนึ่งจากการถือ
ศิลอดที่ท่านนบีได้กำชับไว้คือ การถือศิลอด 6 วันของเดือนเซาว้าล
ซึ่งมีรายงานจากอะบีอัยยูบอัลอันซอรีย์ว่าแท้จริงท่านนะบีได้กล่าวว่า
{مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ اتَّبَعَهُ سِتًّامِنْ شَوَّالٍ فَكَاَنمَّاَ صَامَ الدَّهْرَ }
اخرجه الجماعة إلا البخاري و النسائي
  ความว่า ผู้ใดถือศิลอดในเดือนรอมฎอนต่อมาเขาก็ติดตามด้วยการถือศิลอดอีก 6 วัน ของเดือนเซาว้าลประดุจดังเขาได้ถือศิลอดตลอดปี”
قَاَ لَ ا لْعُلَمَاءُ
บรรดาอุลามาอ์ได้กล่าวว่า
الْحَسَنَةُ بِعَشْرِاَمثَالِهَا
การทำความดี 1 เท่ากับ 10 ความดี
وَرَمَضَانُ بِعَشْرَةِ شُهُوْرٍ
ถือศีลอดรอมฎอนเท่ากับ 10 เดือน
وَاْلاَيَّامُ السِّتَّةُ بِشَهْرَيْنِ
และการถือศิลอดอีก 6 วันในเดือนเซาว้าลเท่ากับจำนวนการถือศิลอด 2 เดือน
وَعِنْدَأَحْمَدُ اِنَّهَاتُؤَدِّيْ مُتَتَابِعَةً وَغَيْرَ مُتَتَابِعَةٍ وَلاَ فَضْلَ ِلاَحَدِهِمَاعَلَى اْلآخَرِ.
ตามทัศนะของอะห์หมัด ให้ทำการถือศิลอด 6 วันในเดือนเซาว้าลจะโดยติดต่อหรือไม่ก็ตามและไม่ถือว่าอันหนึ่งจะมีความประเสริฐ أَفْضَلُ   กว่าอีกอันหนึ่ง     

وَعِنْدَالْحَنَفِيَّةِ وَالشَّافِعِيَّةِ  . اْلأَفْضَلُ صَوْمُهَا مُتَتَابِعَةٌعَقِبَ الْعِيْدِ
และตามทัศนะของฮานาฟียะห์และซาฟีอียะห์  ถือว่าประเสริฐ ( أَفْضَلُ  ) ในการถือศิลอด 6 วันในเดือนเซาว้าลโดยต่อเนื่องถัดจากวันอีด
    ท่านพี่น้องที่รัก มันชั่งเป็นความโปรดปรานจากอัลเลาะห์ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ ที่ได้ทรงประทานแนวทางแห่งการประกอบคุณงามความดีเพื่อบ่าวจะได้รับความสุขทั้งโลกดุนยาและอาคีเราะห์ 

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَاوَأَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ ِانَّهُ هُوَالْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ




คุตบะห์ที่ 2
   ولله الحمد      7  ครั้ง  الله أكبر 

اَلْحَمْدُ للهِ الَّذِيْ جَمَّلَ الْعِيْدَ بِالسُّرُوْرِ وَاَلْزَمَ اْلعِبَادَ شُكْرَهْ  .  وَكَمَّلَهُ بِضِيَافَةِ الْمُؤْمِنِيْنَ  وَحرَّمَ صَوْمَهُ وَأَوْجَبَ فِطْرَهْ . وَوَسَّعَ فِيْهِ مَوَائِدَالرِّضْوَانِ  عَلىَ مَنْ شَرَحَ بِاْلاِسْلاَمِ صَدْرَهْ ، وَضَاعَفَ فِيْهِ مَوَاهِبَ اْلاِنْعَامِ عَلىَ الْعَالَمِيْنَ  ، أَحْمَدُهُ وَأَشْكُرُهُ عَلىَ مَا أَوْلَى مِنْ مَوَاهِبِ اْلجُوْدِ وَاْلكَرَمْ ،  وَاَسْتَغْفِرُهُ  وَأَشْهَدُ أَنْ لاَاِلَهَ إلاَّاللهُ مُفِيْضُ اْلإِحْسَانِ وَالنِّعَمْ ، وَأَشْهَدُأَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ  سَيِّدُ اْلعَرَبِ وَالْعَجَمْ  ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلىَ سَيِّدِناَ مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ .  اَمَّابَعْدُ : فَيَااَيُّهَاالنَّاسُ  .اِتَّقُوااللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلاَ تَمُوْتُنَّ إِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ .  أَلاَ وَصَلُّوْا عَلَى نَبِيِّكُمْ يَاحَاضِرِيْنَ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا  ، إِنَّ اللهَ وَمَلاَئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا اَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا .
       اَللَّهُمَّ اغْفِرْ لِلْمُسْلِمِيْنَ وَاْلمُسْلِمَاتِ وَاْلمُؤْمِنِيْنَ وَاْلمُؤْمِنَاتِ اْلأَحْياَءِ مِنْهُمْ وَاْلأَمْوَاتِ بِرَحْمَتِكَ يَاأَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ . رَبَّنَاتَقَبَّلْ مِنَّا إِنّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ.
 وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ . وَاجْعَلْنَا مِنَ الَّذِيْنَ تَجْرِيْ مِنْ تَحْتِهِمُ اْلأَنْهَارُ فِيْ جَنَّاتِ النَّعِيْمِ .
دَعْوَاهُمْ فِيْهَا سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَتَحِيَّتُهُمْ فِيْهَا سَلاَمْ  . وَآخِرُدَعْوَاهُمْ أَنِ اْلحَمْدُ ِلله رَبَّ اْلعَالَمِيْنَ