วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์

หน้าที่ของมุสลิมต่อพี่น้องของเขา

โดย.... อ. อาลี    กองเป็ง



اَلْحَمْدُِللهِ الَّذِيْ اَلَّفَ بِاْلاِسْلاَمِ بَيْنَ قُلُوْبِ الْمُؤْمِنِيْنَ . وَاَوْجَبَ اْلاِتحِّاَدَوَحَرَّمَ التَّفَرُّقَ فِيْ كِتَابِهِ الْمُبِيْنَ  وَاَشْهَدُاَنْ لاَاِلَهَ اِلاَّالله ُهَدَى مَنْ شَاءَ اِلَى الصِّراطِ الْمُسْتَقِيْمِ . وَاَشْهَدُاَنَّ سَيِّدَنَامُحَمَّدًارَسُوْلُ اللهِ خَيْرُدَاعٍ اِلَى الطَّرِيْقِ الْقَوِيْمِ  . اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ الَّذِيْنَ تَهَذَّبَتْ نُفُوْسُهُمْ وَاتَّحَدَتْ قُلُوْبُهُمْ فَكاَنُوْاالسَّادَةَ الْمَنْصُوْرِيْنَ .  اَمَّابَعْدُفَيَاعِبَادَاللهِ .  اُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ اَوَّلاًبِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ  . فَقَدْقَالَ الله ُتَعَالَى فِيْ كِتَابِهِ الْمُبِيْنَ :   يَااَيُّهَا النَّاسُ اِنَّاخَلَقْنَاكُمْ مِنْ ذَكَرٍوَاُنْثَى وَجَعَلْنَاكُمْ شُعُوْبًاوَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوْااِنَّ اَكْرَمَكُمْ عِنْدَاللهِ اَتْقَاكُمْ اِنَّ الله َعَلِيْمٌ خَبِيْرٌ


  ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก            
   
   อัลลอฮ์ทรงให้บ่าวของพระองค์พึงรักษาเกียรติยศ ของพี่น้องมุสลิมของเขา โดยวางระเบียบให้แก่ตัวเองต่อพี่น้องมุสลิมดังต่อไปนี้
         1.  แสดงความรักต่อพี่น้องมุสลิมให้เกียรติกันด้วยการให้สล่ามและตอบรับสล่าม      อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
وََإِذَا حُيِّيْتُمْ بِتَحِيَّةٍ فَحَيُّواْ بِأَحْسَنَ مِنْهَا أَوْ رُدُّوْهَا...
ความว่า   และเมื่อพวกท่านได้รับการคารวะใด ๆ    พวกเจ้าก็จง (ตอบ) คารวะให้ดีงามกว่านั้น หรือมิฉะนั้น ก็จงตอบคารวะนั้น (ด้วยถ้อยคำที่เท่าเทียมกัน)
         2.  เยี่ยมเยียนผู้ป่วยและขอดุอาอ์ให้เขาได้หายจากอาการป่วย    จากท่านบะรออ์บุตรอาซิบ กล่าวว่า
اَمَرَنَارَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهَ وَسَلَّمَ . بِعِيَادَةِ الْمَرِيْضِ ....الحديث . رواه البخاري
         ความว่า  ท่านบี(ซ.ล) ได้ใช้พวกเราให้ทำการเยี่ยมผู้ป่วย
         3.  ไปร่วมพิธีศพของมุสลิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากสิทธิของมุสลิมพึ่งมีต่อมุสลิม  5 ประการ  หนึ่งในนั้นคือ
اتِّبَاعُ الْجَنَائِزِ وَ
ความว่า  และการร่วมติดตามศพ
         4.  ทำการตักเตือนด้วยใจบริสุทธิ์ โดยการชี้แจงให้ทำความดีและหลีกเลี่ยงจากความชั่วร้าย     ดังท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
الدِّيْنُ النَّصِيْحَةُ ...الحديث . رواه مسلم
ความว่า  ศาสนาคือการตักเตือน
         5.  ให้มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ประดุจดังเขามีความปรารถนาที่ดีแก่ตัวเขาเอง     ดังนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
لاَيُؤْمِنُ اَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ ِلأَخِيْهِ مَايُحِبُّ لِنَفْسِهِ وَيَكْرَهُ لَهُ مَايَكْرَهُ لِنَفْسِهِ ...رواه البخاري ومسلم والترمذي
         ความว่า  ผู้ใดของพวกเจ้าจะไม่ถือว่ามีอีหม่านสมบูรณ์ จนกว่าเขาจะมีความปรารถนาที่ดีต่อผู้อื่นที่เป็นพี่น้องมุสลิมของเขา เสมือนเขาปรารถนาแก่ตัวของเขาเอง และเขาก็รังเกียจที่จะไม่ให้เกิดแก่ผู้อื่นในสิ่งที่เขารังเกียจให้แก่ตัวเขาเอง
         6.  ไม่ใส่ร้ายป้ายสีต่อพี่น้องมุสลิม และไม่ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่เขา      ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
كُلُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ . رواه مسلم
         ความว่า  ทุกคนที่เป็นมุสลิมห้ามละเมิด เหนือมุสลิมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเลือด  ทรัพย์สิน   และเกียรติยศศักดิ์ศรี
لاَيَحِلُّ لِمُسْلِمٍ اَنْ يُرَوِّعَ مُسْلِمًا . رواه احمدوابوداود       
         ความว่า  ไม่เป็นที่อนุญาตแก่มุสลิมที่จะทำให้เกิดความหวาดกลัวเหนือมุสลิม
         7.  ต้องอ่อนน้อมต่อกันไม่แสดงความยโสหรือยกตนข่มท่าน   อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
اِنَّ الله َلاَيُحِبُّ كُلَّ مُخْتاَلٍ فَخُوْرٍ . لقمان  18
         ความว่า  แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรังเกียจ ผู้ที่หยิ่งจองหอง คุยโว
         8.  ห้ามทะเลาะหรือหมางเมินเกินกว่า 3 วัน   ท่านนบี (ซ.ล) กล่าวว่า
لاَيَحِلُّ لِمُسْلِمٍ اَنْ يَهْجُرَاَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثٍ  يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَاوَيُعْرِضُ هَذَاوَخَيْرُهُمَاالَّذِيْ يَبْدَاُبِالسَّلاَمِ . رواه البخاري ومسلم وابوداود
         ความว่า  ไม่อนุญาตแก่มุสลิมที่เขาจะทะเลาะหมางเมินกับพี่น้องของเขาเกินกว่า 3 วัน   เขาทั้งสองจะหมางเมินกันขณะพบกัน และผู้ที่ดีที่สุดแห่งทั้งสองคือผู้ที่เริ่มให้สล่าม 
         9.  ห้ามนินทา หรือดูถูกดูแคลน เปิดเผยตำหนิข้อบกพร่อง ใส่ร้ายป้ายสี และเรียกขานโดยตั้งชื่อหรือฉายาที่น่ารังเกียจ
อัลเลาะฮ์ทรงกล่าวว่า
يَااَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوااجْتَنِبُوْاكَثِيْرًامِنَ الظَّنِّ اِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ اِثْمٌ وَلاَتَجَسَّسُوْاوَلاَيَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًااَيُحِبُّ اَحَدُكُمْ اَنْ يَاْكُلَ لَحْمَ اَخِيْهِ مَيْتًافَكَرِهْتُمُوْهُ ... الآية  . الحجرات  12
ความว่า   โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย  พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัยการนึกร้าย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป   และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน   คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน
 และอัลเลาะฮ์ทรงกล่าวว่า                                                                                                 
يَااَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْالاَيَسْخَرْقَوْمٌ مِنْ قَوْمٍ عَسَى اَنْ يَكُوْنُوْاخَيْرًامِنْهُمْ وَلاَنِسَاءٌ مِنْ نِسَاءٍ عَسَى اَنْ يَكُنْ خَيْرًامِنْهُنَّ وَلاَتَلْمِزُوْا اَنْفُسَكُمْ وَلاَتَنَابَزُوْابِاْلاَلْقَابِ بِئْسَ الاِسْمُ اْلفُسُوْقُ بَعْدَ اْلاِيْمَانِ وَمَنْ لَمْ يَتُبْ فَاُولَئِكَ هُمُ الظَّالِمُوْنَ . الحجرات  11 
         ความว่า  โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ทุกเยาะเย้ยจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีกลุ่มสตรีที่ทุกเยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง คือถ้าคนหนึ่งคนใดตำหนิก็เสมือนกับว่าเขาตำหนิตัวของเขาเอง เพราะบรรดามุสลิมคือเรือนร่างเดียวกัน และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ได้ชอบ ช่างเลวทรามจริง ๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาเรียกว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิด ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้อธรรม

10.   ห้ามด่า หรือบริภาษ พี่น้องมุสลิมโดยไม่ชอบธรรมไม่ว่ามุสลิมนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือจากดุนยาไปแล้ว
ดังท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
سِبَابُ الْمُسْلِمِ فُسُوْقٌ وَقِتَالُهُ كُفْرٌ . متفق عليه
         ความว่า  การบริภาษ(ด่าว่า) มุสลิมคือความชั่ว และการเข่นฆ่ามุสลิมคือกุฟรุน  (การฝ่าฝืน) )


และท่านนบี(ซ.ล) กล่าวว่า
لاَتَسُبُّوااْلاَمْوَاتَ فَاِنَّهُمْ قَدْاَفْضَوْااِلَى مَاقَدَّمُوْا . رواه البخاري والنسائى والحاكم
         ความว่า  ท่านทั้งหลายอย่าได้บริภาษ(ด่าว่า) บรรดาคนตาย เพราะแท้จริงพวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ก่อนแล้ว
        11.  ห้ามอิจฉาริษยา คิดอคติต่อผู้อื่น สร้างความแค้น  และสอดแนมเพื่อทำลาย
อัลลอฮ์ตรัสว่า
يَااَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْااجْتَنِبُوْاكَثِيْرًامَنَ الظَّنِّ اِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ اِثْمٌ وَلاَتَجَسَّسُوْاوَلاَيَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًا ...الآية .الحجرات  12
         ความว่า    โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย  พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัยการนึกร้าย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน
ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
لاَتَحَاسَدُوْاوَلاَتَنَاجَشُوْاوَلاَتَبَاغَضُوْاوَلاَتَدَابَرُوْاوَلاَيَبِعْ بَعْضُكُمْ عَلَى بَيْعِ بَعْضٍ وَكُوْنُوْاعِبَادَاللهِ اِخْوَانًا ... رواه مسلم

         ความว่า  ห้ามท่านทั้งหลายอิจฉาต่อกัน ห้ามเพิ่มราคาสินค้าเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ห้ามเกลียดชังกัน ห้ามลอบกัด ห้ามบางกลุ่มขายตัดหน้าอีกบางกลุ่มและจงเป็นบ่าวของอัลลอฮ์เสมือนพี่น้องกัน
         12.  เคารพให้เกียรติผู้อาวุโส เมตตาต่อเยาวชน    ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُوَقِّرْكَبِيْرَنَاوَيَرْحَمْ صَغِيْرَنَا  ... رواه الامام احمد
         ความว่า  ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากพวกเรา ผู้ที่ไม่ให้เกียรติผู้อาวุโสและผู้ที่ไม่เมตตา  เด็ก ๆ ของพวกเรา  
         13.  ให้อภัยจากความพลาดพลั้งของผู้อื่น และปกปิดสิ่งที่เขาไม่ปรารถนาให้เปิดเผย และอย่าสอดรู้สอดเห็น    อัลลอฮ์ตรัสว่า
فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ اِنَّ اللهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ . المائدة  13
         ความว่า  ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด  และเมินหน้าเสียคือทำเป็นเสมือนไม่รู้ไม่เห็น  แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชอบผู้ทำดีทั้งหลาย
และซึ่งมีการสั่งห้ามจากท่านนบี(ซ.ล.) ให้ปกปิดเอาเราะห์ความอายของผู้อื่น ในบันทึกของมุสลิม ความว่าบ่าวคนใดที่ปกปิดความอายของผู้อื่นในดุนยา อัลลอฮ์ทรงปกปิดความอายแก่เขาในวันกิยามะห์     และมีใจความที่บันทึกโดยอะบูอาวูด ว่า
         โอ้ผู้ที่ศรัทธาเพียงลิ้นและอีหม่านไม่เข้าในหัวใจ เจ้าทั้งหลายอย่านินทา อย่าชำแหละเอาเราะห์ของผู้อื่น แท้จริงผู้ใดชำแหละเอาเราะห์ พี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิม อัลลอฮ์จะทรงชำแหละเอาเราะห์ของเขา  และผู้ใดที่อัลลอฮ์ ชำแหละเอาเราะห์ของเขา อัลลอฮ์ก็จะทรงประจานเขา ถึงแม้นว่าเขาจะซ้อนเร้นในบ้านของเขาก็ตาม
_____และมีบันทึกของบุคอรีใจความว่า
         ผู้ใดชอบแอบฟังคำสนทนาของผู้อื่นโดยผู้นั้นไม่ชอบ ในวันกียามะห์จะถูกกรอกในรูหูของเขาด้วยเหล็กหลอมจากไฟนรก
        14.  แสดงความสำรวมต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันโดยมีมารยาทที่ดีต่อกัน       ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
اِتَّقِ اللهَ حَيْثُمَاكُنْتَ وَاَتَّبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ ...رواه الترمذي والحاكم                                                                                     
   ความว่า    ท่านจงยำเกรง อัลลอฮ์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม    และจงลบล้างความชั่วด้วยการทำความดี  และจงมีมารยาทที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกัน

أَقوْلُ قَوْلِيْ هَذَاوَأَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيمَ ليْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمناتِ . فَاستَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَالْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ