วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์

ขัดเกลาให้สะอาดด้วยความใจบุญ  

โดย อ. อาลี     กองเป็ง




اَلحْمَدُِللهِ الَّذِيْ جَعَلَ الصَّدَقَاتِ رَحْمَةً عَلَى مَنْ كَانَ غَنِيًّاوَفَقِيْرًامِنْ عِبَادِهِ الْمُسْلِمِيْنَوَجَعَلَهَامِنْ فَضْلِهِ جُزْءًاقَلِيْلاًوَمَبْلَغًايَسِيْرًاتَسْهِيْلاًعَلَى الْمُوْسِرِيْنَ  . وَتَطْهِيْرًاِلْلاَمْوَالِ وَمُسَاعَدَةً لِلْمَسَاكِيْنَ  . وَاَشْهَدُاَنْ لاَاِلَهَ اِلاَّالله ُالنَّاهِيْ عَنِ اْلاِسْرَافِ وَالتَّبْذِيْرِوَاَشْهَدُاَنَّ مُحَمَّدًارَسُوْلُ الله ِالْمُحَذِّرُمِنَ الْبُخْلِ وَالتَّقْتِيْرِاَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدِنِ النَّبِيِّ الْبَهِيِّ الْبَشِيْرِالنَّذِيْرِوَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ عَدَدَمَاكَانَ وَمَايَكُوْنُ .   اَمَّابَعْدُ فَيَاعِبَادَاللهِ  . اِتَّقُواالله َحَقَّ تُقَاتِهِ وَلاَتَمُوْتُنَّ اِلاَّ وَاَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ .   فَقَدْقاَلَ الله ُتَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ  : خُذْمِنْ اَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَتُزَكِّيْهِمْ بِهَاوَصَلِّ عَلَيْهِمْ اِنَّ صَلاَتَكَ سَكَنٌ لَهُمْ وَالله ُسَمِيْعٌ عَلِيْمٌ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสว่า          خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَتُزَكِّيهِم بِهَا            التوبة : 103                                                                                                                           
         ความว่า  “มุฮำหมัด เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์ของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และขจัดมลทินของพวกเขาด้วยส่วนที่เป็นทานนั้น
         พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานอายะห์นี้แก่ท่านนบี (ซ.ล) เนื่องจากชายเจ็ดคนหลังจากถูกปลดปล่อยเป็นอิสระแล้ว ก็รู้สึกสำนึกผิดและมีความประสงค์ที่จะลบล้างมลทินด้วยการบริจาคทาน จึงไปพบท่านนบี (ซ.ล) พร้อมด้วยทรัพย์จำนวนหนึ่งโดยหวังว่าการบริจาคให้เป็นทานแก่คนยากจนนั้น จะช่วยชำระล้างการกระทำในอดีต และการอภัยโทษจากอัลลอฮ์ก็เป็นได้
         และนับว่าเป็นส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะอันประเสริฐ สำหรับมุสลิม คือการขจัดมลทิลจากตัวของเขาและปกป้องการหวงทรัพย์และตระหนี่ไปในหนทางของอัลลอฮ์ พร้อมกำชับให้ผู้อื่นหวงแหน ซึ่งมิใช่คุณลักษณะที่นำพาไปสู่ความผาสุก
         อัลลอฮ์ตรัสว่า
وَمَنْ يُوْقَ شُحَّ نَفْسِهِ فَاُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُوْنَ     الحشر  90
         ความว่า  “และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวเขา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ประสพความสำเร็จ”
         การบริจาคไปในหนทางของอัลลอฮ์ เพียงส่วนหนึ่งซึ่งขณะเขายังรักทรัพย์สินนั้นอยู่ และชีวิตยังสุขสบายดี นับว่าเป็นการบริจาคทานอันดีเลิศ
         อัลลอฮ์ตรัสว่า
وَاَنْفِقُوْامِمَّارَزَقْنَاكُمْ مِنْ قَبْلِ اَنْ يَاْتِيَ اَحَدَكُمُ الْمَوْتُ فَيَقُوْلَ رَبِّ لَوْلاَاَخَّرْتَنِيْ اِلَى اَجَلٍ قَرِيْبٍ فَاَصَّدَّقَ وَاَكُنْ مِنَ الصَّالِحِيْنَ     المنافقون     10
         ความว่า  “และเจ้าทั้งหลายจงบริจาคสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ก่อนที่ความตายจะเกิดขึ้นแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกเจ้า แล้วเขาก็จะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์พระเจ้าของข้าพระองค์ มาตรว่าพระองค์ท่านทรงผ่อนผันให้แก่ข้าพระองค์อีกชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้บริจาคและข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่คนดี”
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         สัจธรรมที่เราทราบคือ อัลลอฮ์จะไม่ทรงยืดเวลาให้แก่บ่าวคนใดเป็นอันขาด เมื่ออาญั้ลความตายได้มาถึงเขา
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         เรามาร่วมรับการขอดุอาอ์ ของมะลาอีกะห์ด้วยกัน และออกห่างจากความเสียหายจะดีใหม?
ซึ่งมีตัวบทฮะดีสบันทึกโดยท่านบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจาก
อะบูฮุรอยเราะห์ว่า
مَامِنْ يَوْمٍ يُصْبِحُ الْعِبَادُفِيْهِ اِلاَّمَلَكاَنِ يَنْزِلاَنِ . فَيَقُوْلُ اَحَدُهُمَا اَللَّهُمَّ اَعْطِ مُنْفِقًاخَلَفًا . وَيَقُوْلُ اْلآخَرُ اَللَّهُمَّ اَعْطِ مُمْسِكًاتَلَفًا
         ความว่า  “ไม่มีวันใดเลยที่บ่าวของอัลลอฮ์ได้อยู่ในยามเช้าของวันนั้น เว้นเสียแต่จะมีมะลาอีกะห์ สองท่านลงมา   ท่านหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์โปรดประทานให้ทดแทนแก่ผู้บริจาคและอีกท่านหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์โปรดประทานความเสียเสียหายแก่ผู้ยึดติด(ตระหนี่ไม่บริจาค)
การบริจาคในหนทางของอัลลอฮ์นั้นเป็นกำแพงขวางกันระหว่างผู้บริจาคและระหว่างนรก”
ซึ่งท่านนบี(ซ.ล) ได้กล่าวว่า
اِتَّقُواالنَّارَوَلَوْبِشِقِّ تَمْرَةٍ    متفق عليه
         ความว่า " ท่านทั้งหลายจงรักษาตัวให้พ้นจากนรก ถึงแม้นการบริจาคเพียงเสี้ยวหนึ่งจากอินทผาลัม"

         การบริจาคที่นำมาซึ่งความผาสุกทั้งสองโลก คือ

اَنْ يُعْطِيَ الرَّجُلُ الْعَطَاءَ فِيْ غَيْرِمَنٍّ وَلاَاَذًى
1.  ให้เขาบริจาคไปนั้นโดยไม่ล้ำเลิกบุญคุณ และสร้างความเจ็บใจหรืออันตราย

اَنْ يَفْرَحَ الْمُعْطِيْ بِالسَّائِلِ الَّذِيْ سَاَلَهُ وَيَسُرُّلِعَطَائِهِ
       2.  ผู้บริจาคให้นั้นด้วยความพอใจและยินดีแก่ผู้ที่รับ  และภูมิใจในการบริจาคของเขา

اَنْ يُنْفِقَ الْمُنْفِقُ فِي غَيْرِاِسْرَافً وَلاَتَقْتِيْرٍ
         3.  ผู้บริจาคนั้นทำโดยไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินขอบ และไม่ตระหนี่จนเกินเขต

اَنْ يُعْطِيَ الْمُكْثِرُمِنْ كَثِيْرِهِ وَالْمُقِلُّ مِنْ قَلِيْلِهِ فِيْ رِضَانَفْسٍ وَانْبِسَاطِ وَجْهٍ وَطَيِّبِ قَوْلٍ
         4.  ผู้ที่ฐานะมั่งคั่งก็บริจาคตามความมั่งคั่งของเขา และผู้ที่ด้อยฐานะก็ให้บริจาคตามอัตภาพของเขา โดยมีความรู้สึกยินดี พร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้มและคำพูดที่อ่อนหวาน

         ท่านพี่น้องที่รัก ขอฝากให้คิดจากการสนทนาของท่านนบี(ซ.ล) กับท่านหญิงอาอีชะห์ในครั้งหนึ่ง ท่านนบี(ซ.ล) ได้ถามท่านหญิงอาอีชะห์จากแกะตัวหนึ่ง ที่ได้ถูกเชือด เธอตอบว่า มันไม่เหลือแล้วเว้นแต่ส่วนบนของขาเท่านั้น กล่าวคือเธอได้ให้ทานและบริจาคทั้งหมดจากเนื้อของแกะ ยกเว้นขาแกะส่วนบน
ท่านนบีกล่าวตอบแก่เธอว่า
بَقِيَ كُلُّهَا اِلاَّكَتِفَهَا
         มันคงเหลืออยู่ทั้งหมดยกเว้นส่วนบนของขา

َأقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَاوَأَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ . فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُهُوَالْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ