วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์


ดุอาคืออิบาดะห์
อ.อาลี  กองเป็ง
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         นิยามของคำว่า  اَلدُّعَاءُ  อัดดุอาอ์” ตามหลักภาษาคือ การแสวงหา”  และนิยามตามหลักชะเราะอ์
คือ “ความมุ่งหวังยังอัลลอฮ์เจ้าให้ประทานในสิ่งที่ปรารถนา และให้รอดพ้นและปลอดภัยจากสิ่งที่น่ารังเกียรติและเลวร้าย”
            การขอดุอาอ์ เป็นอิบาดะห์ที่ประเสริฐ เพราะ
         1.  เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์
       2.  แสดงถึงความอิคลาส اِخْلاَصْ    ของบ่าว
         3.  ปกป้องบ่าวให้พ้นจากบ่าลาอ์
         4.  การขอดุอาอ์เป็นประจำจะนำมาซึ่งการตอบรับ และความรักจากอัลลอฮ์
         5.  การขอดุอาอ์ คือการรำลึกยังอัลลอฮ์ กล่าวคือเป็นการซิกรุลเลาะห์
ดังนั้นข้อชี้ขาดของฮุ่ก่มในการของดุอาอ์ คือ  เป็นการสมควรยิ่ง บรรดานักวิชาการฟิกฮ์    นักรายงานหะดีษ และบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่จากชนสลัฟและค่อลัฟ

อัลลอฮ์ตรัสว่า
[ وَقَالَ رَبُّكُمْ اُدْعُوْنِيْ اَسْتَجِبْ لَكُمْ اِنَّ الَّذِيْنَ يَسْتَكْبِرُوْنَ عَنْ عِبَادَتِيْ سَيَدْخُلُوْنَ جَهَنَّمَ دَاخِرِيْنَ] .   غافر  60
         ความว่า  “และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข้า  ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า ส่วนบรรดาผู้โอหังต่อการเคารพภักดีแก่ข้านั้นจะเข้าไปอยู่ในนรก สภาพที่ต่ำต้อย”
และมีรายงานจากท่าน อันนัวะอ์มาน บุตรบะชีร (..) ว่า
عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ :  اِنَّ الدُّعَاءَ هُوَ الْعِبَادَةُ رواه الاربعة
ความว่า  จากท่านนบีกล่าวว่า แท้จริงการขอดุอาอ์คืออิบาดะห์
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
         การขอดุอาอ์ที่จะได้มาซึ่งผลของการขอนั้น จึงมี آدَابُ الدُّعَاءِ   )มารยาทหรือระเบียบ  ดังท่านมุฮัมมัดเญาดะห์ เซาวาน (مُحَمَّدْ جَوْدَهْ صَوَّانْ)ได้เรียบเรียงและนำเสนอพร้อมตัวบทหลักฐาน จากหะดีษ ในหนังสือชื่อว่า( اْلاِقْتِدَاءُ فِي الذِّكْرِ وَالدُّعَاءِ  )
ซึ่งมีระเบียบดังกล่าวต่อไปนี้
                                                                                                                 اِسْتِقْبَالُ اْلقِبْلَةِ
   1.  ผินหน้ายังทิศกิบลัต  
رَفْعُ الْيَدَيْنِ
2.  ยกมือทั้งสองข้าง
اَلْبَدْءُبِحَمْدِاللهِ
3.  เริ่มด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮ์
اَلْبَدْءُ بِالصَّلاَةِ عَلَى النَّبِيّ صلى الله عليه وسلم وَالْخَتْمُ بِهَا كَذَلِكَ
4.  เริ่มด้วยการกล่าวซอลาหวาดเหนือท่านนบี และปิดท้ายเช่นเดียวกัน
اَلْبَدْءُ بِالنَّفْسِ
5.  เริ่มขอดุอาอ์ให้แก่ตัวเองก่อนให้ผู้อื่น
اَلْعَزْمُ فِي الطَّلبِ
6.  มีความจริงใจและเน้นหนักในการขอ
اْلاِلْحَاحُ فِي الدُّعَاءِ
7.  พยายามในการขอดุอาอ์ เช่นขอถึงสามครั้ง
اْلاِيْقَانُ بِاْلاِجَابَةِ
8.  มีความมั่นใจในการตอบรับจากอัลลอฮ์
تَوْفِيْرُشُرُوْطِ قَبُوْلِ الدُّعَاءِ كَالْغِنَى وَالرِّضَا بِالْحَلاَلِ وَالْبُعْدِعَنِ الْحَرَامِ وَفِعْلِ الْوَاجِبَاتِ
9.  ให้ครบเงื่อนไขของการขอที่ถูกตอบรับ เช่น พอใจและพอเพียง ด้วยการงานที่หะล้าลและออกห่างไกลจากของ
      หะรอม พร้อมด้วยประกอบสิ่งที่เป็นวายิบ
الاَّ يَتَعَجَّلَ الدَّاعِيْ اْلاِجَابةَ
10.  ผู้ขอดุอาอ์ต้องไม่รีบเร่งในการตอบรับ
الاَّيَدْعُوْ بِمَعْصِيَةٍ
11.  ต้องไม่เป็นการขอในเรื่องความชั่ว
خَتْمُ الدُّعَاءِ بِالتَّاْمِيْنِ لِطَلَبِهِ وَالْحَمْدِ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ                                                                                                                                   12.  ปิดฉากการขอดุอาอ์ด้วยการกล่าวอามีน และสรรเสริญต่ออัลลอฮ์ และเป็นที่สำคัญหลังจากระเบียบแล้ว เขา   
       ต้องระวังรักษาขอสำคัญต่อไปนี้
         คือ : ให้มีความสะอาดทั้งภายนอกและภายในใจ ปฏิบัติอาม้าลที่เป็นวายิบ
               :  ออกห่างไกลจากของต้องห้ามโดยรวม  และห่างไกลจาการกินหรือดื่ม หรืออาภรณ์สวมใส่ที่มาจากของหะรอมโดยเฉพาะ               


اقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ اْلعَظِيْمَ ِليْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ اْلغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ