วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทความศาสนา



اَلْقِرَاءَةُعَلَى الْمَيِّتِ وَاِهْدَاءُالثَّوَابِ لَهُ
การอ่านกุรอ่านให้แก่ผู้ตายและฮาดียะห์ผลบุญแก่ผู้ตาย
โดย อ.อาลี  กองเป็ง


อุละมาอ์(ปรวงปราชน์)มีมติตรงกันว่าผู้ตายได้รับประโยชน์ ด้วยการขอดุอาอฺและการขออภัยโทษของคนเป็น เช่น กล่าวว่า
اَللَّهُمَّ اغْفِرْلَهُ اَللَّهُمَّ ارْحَمْهُ
ความว่า โอ้อัลเลาะห์โปรดอภัยโทษให้แก่เขา โอ้อัลเลาะห์โปรดเมตตาเขา(ผู้ตาย)  และเช่นเดียวกันในผลบุญของการบริจาค  الصَّدَقَةُ  และอาม้าล(การงาน)ที่เป็นวายิบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ร่างกาย และทรัพย์สินซึ่งได้เข้าอยู่ในอาม้าลนั้น  เรื่องการทำแทน เช่น การประกอบพิธีฮัจย์
อัลเลาะห์ได้ทรงตรัสในซูเราะห์ الحشر โองการที่  10  ว่า
{ وَالَّذِينَ جَاءُوا مِنْ بَعْدِهِمْ يَقُولُونَ رَبَّنَا اغْفِرْ لَنَا وَلِإِخْوَانِنَا الَّذِينَ سَبَقُونَا بِالْإِيمَانِ }
ความว่า “และบรรดาผู้ซึ่งได้มาหลังจากพวกเขา จะกล่าวว่า โอ้อัลเลาะห์โปรดอภัยโทษแก่พวกเราและพี่น้องของพวกเราซึ่งเขาทั้งหลายได้ล้ำหน้าเราไปแล้วด้วยความศรัทธา”
 และอัลเลาะห์ได้ทรงตรัสในซูเราะห์  محمد   โองการที่ 19 ว่า
{وَاسْتَغْفِرْ لِذَنْبِكَ وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ}
ความว่า “เจ้าจงขออภัยโทษแก่โทษของเจ้าและให้แก่มุอฺมินชายและมุอฺมินหญิง”
ท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.)ได้ขอดุอาอฺให้แก่ อบีซาลามะห์ ขณะที่ตายไปแล้ว และแก่ผู้ตาย ซึ่งท่านได้ไปละหมาดให้ ฮาดิษที่รายงานจาก เอาฟ์ บุตร มาลิก และแก่ทุกๆมัสยิดที่ท่านได้ละหมาดให้ ได้มีชายผู้หนึ่งมาพบท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.)แล้วถามท่านนบีว่า โอ้ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์แท้จริงมารดาข้าพเจ้าได้ตายไปแล้ว เธอจะได้รับประโยชน์ไหม ถ้าแม้นข้าพเจ้าจะบริจาคแทนเธอ ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า  ได้  บันทึกโดย  อบูดาวูด จากสะอั๊ด บุตร อุบาดะห์ 
และมีหญิงคนหนึ่งเดินทางเข้ามาพบท่านนบีแล้วถามว่า โอ้ท่านร่อซู้ล  แท้จริงอัลเลาะห์นั้นได้ทรงประทานฟัรดูการทำฮัจย์  ซึ่งบิดาข้าพเจ้าชราภาพ ไม่สามารถขี่บนพาหนะได้  ข้าพเจ้าจะทำฮัจย์แทนให้ได้หรือไม่ ท่านนบีตอบว่า  เธอมีความเห็นอย่างไร ถ้าแม้นบิดาเธอมีหนี้สิน เธอจะชดใช้ให้หรือไม่ หญิงผู้นั้นตอบว่า ก็ต้องชดใช้ให้  นบีจึงกล่าวตอบว่า  หนี้ของอัลเลาะห์เหลือที่จะมีสิทธิกว่าในการชดใช้ บันทึกโดย  อะห์หมัด และ นาซาอี จากอับดุลเลาะห์ บุตรของซุเบร
ท่านอิบนุกุดามะห์ กล่าวว่า บรรดาฮะดิษทั้งหมดนี้เป็นฮาดิษที่ซอฮี๊ยะและเป็นหลักฐานยืนยัน และชี้ชัดว่า คนตายได้รับประโยชน์ต่อการทำดีต่างๆและเนื่องจากการถือศิลอดการขออภัยโทษและอิบาดะห์ บะดะนียะห์ ความจริง อัลเลาะห์ได้ทรงให้ประโยชน์ถึงผู้ตาย
บรรดาอุลามาอฺมีทัศนะที่แตกต่างในเรื่องผลบุญของอิบาดะห์ บะดะนียะห์ (ทางร่างกายเฉพาะ) ว่า ผลบุญถึงผู้ตายหรือไม่ เช่นการละหมาด  และการอ่านอัลกุรอ่านยังผู้ตายที่ไม่ได้ทำไว้ถึง 2 ทัศนะ
กลุ่มฮานาฟียะห์  ฮานาบีละห์และอุลามาอฺยุคหลังของซาฟีอียะห์และมาลีกียะห์ ว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านถึงผู้ตายเมื่ออยู่ต่อหน้า หรือดุอาอฺให้แก่ผู้ตายหลังจากนั้น ถึงแม้นไม่อยู่ต่อหน้าก็ตาม เพราะสถานที่การอ่านอัลกุรอ่านจะถูกประทานเราะห์มัตและบารอกัตลงมาในสถานที่นั้น
และการขอดุอาอฺหลังจากนั้นเป็นที่สุดแห่งความมุ่งหวังในการตอบรับจากพระเจ้า
กลุ่มมาลีกียะห์และที่ล่ำลือของกลุ่มซาฟีอียะห์ยุคแรกว่า อิบาดะห์บะดะนียะห์เฉพาะนั้น ผลบุญไม่ถึงผู้ตายที่มิได้ทำไว้
ฮานาฟียะห์กล่าวว่า ที่ถูกเลือกถือไม่เป็นที่มักโระห์ให้ผู้อ่านอัลกุรอ่านเพื่ออ่านกุรอ่าน ณ ที่กุโบร  และเขาทั้งหลายได้กล่าวไว้ในบทการทำฮัจย์แทนผู้อื่นว่า  ให้แก่ผู้คนมอบผลบุญการทำดีแก่ผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดหรืออื่นจากละหมาด เช่น การถือศิลอด การบริจาคและอื่นๆ
ฮานาบีละห์กล่าวว่าไม่เป็นข้อต้องห้ามในการอ่านกุรอ่านที่กุโบร
ดังฮะดิษที่ว่า
[مَنْ دَخَلَ الْمَقَابِرَ فَقَرَاَسُوْرَةَ يس خَفَّفَ اللهُ عَنْهُمْ يَوْمَئِذٍ وَكاَنَ لَهُ بِعَدَدِ مَنْ فِيْهَاحَسَنَاتٌ]
ความว่า ผู้ใดเข้ากุโบรหลังจากนั้นได้อ่านซูเราะห์ยาซีน ผู้ตายจะถูกผ่อนปรนในวันนั้น และปรากฏผู้อ่านได้ผลบุญ(ความดี)เท่าจำนวนคนตายในกุโบร
กลุ่มมาลีกียะห์ กล่าวว่า มักโระห์ในการอ่านกุรอ่านเหนือผู้ตายที่กุโบร เพราะไม่ใช่การปฏิบัติของชนซะลัฟ แต่มาลีกียะห์ยุคหลังถือว่าไม่เป็นข้อห้ามในการอ่านกุรอ่านและซิกรุลเลาะห์พร้อมมอบผลบุญแก่ผู้ตายและจะเกิดผลแก่ผู้ตายاِنْ شَاءَاللهُ 
กลุ่มซาฟีอียะห์กล่าวว่า
ตามมัซฮูรผู้ตายจะไม่ได้รับผลบุญนอกจากเขาได้ทำไว้ เช่นการละหมาด และการอ่านกุรอ่าน แต่อุละมะห์กลุ่มซาฟีอียะห์ที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า ผลบุญการอ่านกุรอ่านถึงผู้ตายเช่น ชูเราะห์ฟาตีฮะห์และอื่นจากฟาตีฮะห์ และผู้คนทั้งหลายก็ปฏิบัติตามนั้น สิ่งใดที่มุสลิมทั้งหลายเห็นดีสิ่งนั้นก็ว่าดี ณ ที่อัลเลาะห์เพราะได้มีตัวบทยืนยันว่า อ่านชูเราะห์ฟาตีฮะห์เกิดประโยชน์แก่คนเป็นที่ถูกสัตว์มีพิษกัด และนบีก็ยอมรับโดยนบีกล่าวว่า
[ وَمَايُدْرِيْكَ اَنَّهَارُقْيَةٌ ]
ความว่า “เจ้าทราบได้อย่างไรว่าฟาตีฮะห์เป็นรุกยะห์(รักษาโรค)”
 จึงทำให้เข้าใจว่าการอ่านอัลกุรอาน เช่น ฟาตีฮะห์ให้ประโยชย์แก่ผู้ตายนั้นยิ่งยังประโยชน์มากกว่าด้วยดังกล่าวทั้งหมดจึงปรากฎว่ามัซฮับชาฟีอียะห์ที่ตรวจทานยุคหลังมีความเห็นเฉกเช่นเดียวกัน ทัศนะทั้ง3 คือ
ฮานาฟี มาลีกี ฮัมบาลี  ว่าด้วยผลบุญของการอ่านกุรอ่านถึงผู้ตาย    ถ่ายทอดจาก
الفقه الاسلامي وادلته
ได้มีกล่าวไว้ใน شرح الطحاوية
ซึ่งนำมาเพียงบางประโยค ชาวอะห์ลุสซุนนะห์มีความเห็นตรงกันว่า แท้จริงคนตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของคนเป็นด้วย 2 หนทางดังนี้
1 คนตายได้เป็นเหตุในงานนั้นขณะที่มีชีวิตอยู่
2 การขอดุอาอ์และขออภัยโทษของพี่น้องมุสลิมให้แก่ผู้ตาย การบริจาคและการทำอัจย์
ตามทัศนะที่แตกต่างกันไปจากผลบุญของการทำฮัจย์ จากมูอำหมัดบุตร ฮะซัน กล่าวว่า ผลบุญถึงผู้ตายในเรื่องค่าใช้จ่ายและผลบุญฮัจย์ก็ได้แก่ผู้ทำ และอุลามะห์ทั่วไปมีความเห็นว่า ผลบุญฮัจย์ถึงผู้ถูกทำให้นี่คือทัศนะที่ถูกต้อง
ส่วนเรื่องอิบาดะห์บาดานียะห์ เช่น การถือศิลอด การละหมาด และการอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุลเลาะห์ตามทัศนะอบูฮานีฟะห์ อะหมัด และยุมฮูร(ส่วนใหญ่) ของชนซะลัฟ กล่าวว่าผลบุญถึงผู้ตายยกเว้นมัสฮูรของชาฟีอี และมาลิก และบางส่วนของพวกบิดอะห์จากอะห์ลุ้ลกาลาม กล่าวว่าไม่มีสิ่งใดถึงผู้ตายเลยไม่ว่าจะเป็นดุอาอ.หรืออื่นจากดุอา  

แปลโดย อ. อาลี   กองเป็งึยน