วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทความศาสนา

เครื่องประดับและอาภรณ์ที่ต้องรับรู้
อ. อาลี  กองเป็ง
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
  :    เครื่องประดับที่เป็นทองคำเช่นแหวนทองนั้นเป็นที่ต้องห้าม ( หะรอม ) แก่บรรดาเพศชาย แต่เป็นเครื่องประดับที่อนุมัติสำหรับเพศหญิง    ท่านนบี (ซ ล ) ได้เห็นแหวนทองในนิ้วของชายผู้หนึ่งท่านจึงถอดออก   แล้วท่ากล่าวว่า  

يَعْمِدُ اَحَدُكُمْ اِلَى جُمْرَةٍ مِنْ نَارٍ فَيَطْرُحُهَا فِيْ يَدِهِ  .  رواه مسلم
"คนหนึ่งของพวกท่านจะมุ่งหมายยังถ่านหินที่มาจากไฟแล้วนำมันมาโยนใส่ในมือของเขากระนั้นหรือ"

  :     การสวมแหวนที่นอกจากทองคำเป็นที่อณุยาติ  ท่านนบี ( ซ ล )  สวมแหวนที่ทำมาจากเงินและสลักด้วยคำว่า (   محمد رسول الله  ) บรรดาค่อลีฟะฮ์เช่นท่าน  อะบูบักร  ท่านอุมัร    ท่านอุษมาน  ร่อฎิยั้ลลอฮุอันฮุม (ขออัลลอฮ์โปรดพึงพอพระทัยต่อพวกเขาด้วย)    ก็ทำการสวมแหวนหลังจากท่านนบี ( ซ ล )  จนกระทั้งในยุคท่านอุษมานแหวนนั้นได้ตกลงในบ่ออะรีส (بِئْرُأَرِيْس )  คือบ่อน้ำข้างมัสญิดกุบาอ ( قُبَاءْ ) ณ  นครมะดีนะฮ์

  :     อนุญาติใส่หรืออุดฟันและจมูกที่เป็นส่วนหนึ่งจากทองคำเมื่อเกิดความจำเป็น   ซึ่งมีบันทึกของท่านติรมิซีย  จากท่านอุรฟุญะฮ์บุตรท่านอัสอัส ( عُرْفُجَةُ بْنُ اَسْعَدْ   )  กล่าวว่า  จมูกของฉันถูกทำลายในวันกุลาบ   ฉันจึงเสริมจมูกด้วยเงินแล้วมันเกิดกลิ่นเน่า   ท่านนบี ( ซ ล )จึงใช้ไห้ฉันเสริมจมูกด้วยทอง

  :     เครื่องประดับซึ่งมาจากอัญมณีต่างๆเช่นเพชรพลอยถึงแม้นจะมีราคาที่สูงก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามทั้งนี้ต้องออกห่างไกลจากความอวดอ้าง  
لأَ نَّ اْلأَصْلَ فِي اْلأَشْيَاءِ الْحِلُّ وَلَمْ يَرِدْ دَلِيْلٌ يَدُ لُّ عَلَى التَّحْرِيْمِ
"เพราะดั้งเดิมในสิ่งต่างๆเป็นที่หะล้าล  และไม่มีหลักฐานที่ชี้ถึงการห้าม"

  :     เสื้อผ้าอาภรที่สวมใส่ต้องไม่เป็นการเลียนแบบระหว่างเพศตรงข้าม   กล่าวคือ  เสื้อผ้าอาภรที่เป็นของเพศชายก็เฉพาะชาย   ของเพศหญิงก็เฉพาะหญิง   ทั้งนี้อิสลามปารถนาไห้แสดงออกถึงบุคลิกภาพของชายและหญิงอย่างชัดเจน  โดยมิไห้ชายเลียนแบบหญิงและหญิงเลียนแบบชายไม่ว่าจะเป็นทางด้านคำพูดหรือกิริยาแม้นกระทั้งเสื้อผ้าอาภร
عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ الله ُعَنْهُمَا  قَالَ : لَعَنَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم  اَلْمُخَنِّثِيْنَ مِنَ الرِّجَالِ وَالْمُتَرَجِّلاَتِ مِنَ النِّسَاءِ   .   رواه البخاري
จากท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า  "ท่านร่อซู้ล ( ซ ล )ได้ทราบแช่งผู้ชายที่แสดงตัวแบบผู้หญิง   และผู้หญิงที่แสดงตัวแบบผู้ชาย"
عَنْ اَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضيَ الله ُعَنْهُ قَالَ : لَعَنَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم الرَّجُلَ يَلْبَسُ لُبْسَةَ الْمَرْأَةِ  وَالْمَرْأَةَ تَلْبَسُ لُبْسَةَ الرَّجُلِ  .  رواه ابوداود والنسائي وابن ماجه وابن حبان والحاكم
จากท่านอะบูฮุรอยเราะฮ์กล่าวว่า   "ท่านร่อซู้ล ( ซ ล )ได้สาปแช่งชายที่สวมใส่อาภรของเพศหญิง  และหญิงที่สวมใส่อาภรของเพศชาย"

  :    ลิบาซุชชุฮ์เราะฮ์ (  لِبَاسُ الشُّهْرَةِ )     คือเสื้อผ้าอาภรที่สวมใส่เพื่อแสดงออกถึงความโอ้อวด  พร้อมด้วยเจตนาอวดอ้างมันคือของต้องห้ามเช่นกัน  ท่านอับดุลเลาะฮ์บุตรท่านอุมัรได้นำเสนอว่า    ท่านนบี ( ซ ล ) กล่าวว่า
مَنْ لَبِسَ ثَوْبَ شُهْرَةٍ فِي الدُّنْيَا اَلْبَسَهُ الله ُثَوْبَ مَذَ لَّةٍ يَوْمَ الْقِيَا مَةِ  .  أخرجه أبوداود واحمد والنسائي وابن ماجه
"ผู้ใดก็ตามที่สวมเสื้อผ้าอาภรที่โอ้อวดในโลกดุนยา  อัลเลาะฮ์ ( ซ บ )จะทรงไห้เขาได้สวมใส่เสื้อผ้าอาภรอันต่ำต้อยในวันกิยามะฮ์"

  :     ผ้าไหมก็คือสิ่งต้องห้ามแก่เพศชายและเป็นที่หะล้าลแก่เพศหญิงทั่วไปและเพศชายที่เกิดความจำเป็น
عَنْ عَلِيٍّ رضي الله عنه  قَالَ : اُهْدِيَتْ لِلنَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم حُلَّةٌ سِيْرَاءُ فَبُعِثَ بِهَا اِلَىَّ فَلَبِسْتُهَا فَعَرَفْتُ الْغَضَبَ فِيْ وَجْهِهِ فَقَالَ : اِنِّيْ لَمْ اَبْعَثْ بِهَا اِلَيْكَ لِتَلْبِسَهَا اِنَّمَا بَعَثْتُ بِهَا اِلَيْكَ لِتَشُقَّهَا خُمُرًا بَيْنَ النِّسَاءِ  .  رواه اليخاري ومسلم
จากท่านอะลียกล่าวว่า       "ได้มีเสื้อคลุมที่มีลายเส้นจากผ้าไหมถูกนำมาเป็นของกำนัลแด่ท่านร่อซู้ล ( ซ ล ) ท่านก็ได้มอบแก่ฉัน  แล้วฉันก็ได้สวมมัน และฉันรู้สึกได้ถึงอาการโกรธจากใบหน้าของท่าน   ท่านได้กล่าวว่า   ฉันมิได้ไห้มันเพื่อท่านจะสวมใส่   แท้จริงฉันให้มันกับท่านเพื่อนำไปฉีกแบ่งเป็นตะลากง ( ผ้าคลุมร่างกาย ) แก่หญิงทั้งหลาย"
และในกรณีที่อนุญาติดังตัวอย่างต่อไปนี้
      
            :   เพื่อรักษาโรค      เช่นท่านนบี ( ซ ล )ได้ผ่อนผันแก่อับดุรเราะห์มานบุตรของเอาฟและอัซซุบัยร    ในการสวมผ้าไหมเนื่องจากโรคคันที่ร่างกายของทั้งสอง   บันทึกโดยบุคอรีย                      
             :     เพื่อมิใช่การสวมใส่หรือนุงห่ม  เช่นท่านอุมัรกล่าวว่าท่านนบี ( ซ ล )  ห้ามสวมผ้าไหมเว้นแต่ที่มีปริมาณไม่เกินสองหรือสามหรือสี่นิ้ว   บันทึกโดยมุสลิมและอัซฮาบุสสุนัน                            
               :     ผ้าไหมที่เจือปน      ซึ่งมีทัศนะของชาฟิอียะฮ์ให้ทัศนะว่า   ถ้าไหมมีปริมาณมากกว่าถือว่าหะรอม ( ต้องห้าม )  หากไหมมีปริมาณไม่เกินครึ่งหรือน้อยกว่าครึ่งก็ไม่ถือว่าหะรอม (ต้องห้าม )  ท่านอีหม่ามนะวาวียกล่าวว่า    ผ้าไหมที่ผสมกับผ้าชนิดอื่นไม่เป็นของต้องห้ามยกเว้นไหมมีปริมาณที่มากกว่า 
 
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก   อัลเลาะฮ์ทรงสวยงามและพระองค์ก็ทรงรักความสวยงาม  และพระองค์ไม่ทรงปารถนาความสวยงามที่เกิดจากสิ่งต้องห้าม   ก่อนที่ท่านจะประดับร่างกายจงถามใจของท่านสักหน่อยได้ไหมว่า   เจ้ามีเจตนาอย่างไร

اَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ