วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความศาสนา

أَحْكَامُ الصِّيَامِ   
บรรดาหุก่มการถือศิลอด
โดย อ. อาลี  กองเป็ง

1       นิยามคำว่า      الصِّيَامُ – الصَّوْمُ
        ตามหลักภาษา คือ   การระงับหรือการงดเว้น
ตามหลักบัญญัติ คือ  การงดเว้นจากสิ่งที่ทำให้เสียการถือศิลอด ตลอดของเวลา  กลางวัน โดยมีเจตนาที่ถูกเจาะจง
2          ฮู่ก่ม   การถือศิลอดในเดือนรอมฎอนเป็นวายิบ เมื่อครบเงื่อนไข

3       หลักฐานจาก กุรอ่าน ดังดำรัสของอัลเลาะห์ใน ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 182  ว่า


                                               
ความว่า โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย การถือศิลอดถูกกำหนดเป็นหน้าที่เหนือพวกเจ้า   ประดุจดังเป็นหน้าที่เหนือบรรดาชนก่อนพวกเจ้า  เพื่อเจ้าทั้งหลายจักได้ยำเกรง

4          หลักฐานจากหะดิษ โดยท่านนบี ( ) ได้กล่าวโดยมีใจความว่า
             อิสลามถูกประกอบไปด้วย  5 ประการ  ส่วนหนึ่งจากมันคือ  การถือศิลอดใน เดือนรอมฎอน
5           การถือศิลอดในรอมฎอนเป็นรู่ก่นหนึ่งของอิสลามและถูกทราบจากศาสนาโดยปฏิเสธไม่ได้   ผู้ใดปฏิเสธการเป็นวายิบถือว่าเขาสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
6           ฮิกมะห์แห่งบัญญัติการถือศิลอด
             6/1:   เพื่อความเอื้ออาทรและเมตตาแก่ผู้ยากไร้
             6/2:   ฝึกความอดทน  อดกลั้น ขณะเผชิญกับความทุกข์ยาก
             6/3:   รักษาสุขภาพ
             6/4:   แสดงออกถึงความเป็นพี่น้องของชนมุสลิมประดุจเรือนร่างเดียวกัน

7          จำเป็นการถือศิลอดในเดือนรอมฎอนเหนือมุสลิมโดยรวม ด้วยการเริ่มวันที่หนึ่งของเดือนรอมฎอน จากการเห็นจันทร์เสี้ยว ในคืนที่  30  ของเดือนซะบาน    ที่ ฮากิม   หรือมิฉะนั้นต้องด้วยการนับเดือนซะบานครบจำนวน  30  วัน   จากหะดิษของท่าน   อะบูฮุรอยเราะฮ์ บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม ว่า

ท่านนบี ( ) กล่าว
صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَاَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمَّ عَلَيْكُمْ فَأَكْمِلُوْا عِدَّةَ شَعْبَانَ ثَلاَثِيْنَ يَوْمًا

ความว่า  เจ้าทั้งหลายจงถือศิลอด(รอมฎอน)เพราะเห็นจันทร์เสี้ยวและจงละศิลอด(ออกบวช)เพราะเห็นมัน
ดังนั้น หากถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกเหนือพวกเจ้า เจ้าทั้งหลายจงทำให้จำนวนของเดือนซะบานสมบูรณ์  30  วัน

8          ปรากฏการเห็นดวงจันทร์เสี้ยวเข้าเดือนรอมฎอนด้วยผู้เห็นที่อาเด้ลเพียงคนเดียว
            เมื่อฮาเก่ม ได้ทำการวินิจฉัยแล้ว
9          เงื่อนไขของวายิบการถือศิลอดมี  4  เงื่อนไข
            9.1: เป็นมุสลิม     9.2: บรรลุศาสนภาวะ     9.3: มีสติสัมปชัญญะ     
            9.4: มีความสามารถในการถือศิลอด
10        เงื่อนไขของการถือศิลอดที่(เซาะห์)ใช้ได้มี   4  ประการ
            10.1: เป็นมุสลิมที่แท้จริง  ดังนั้นการถือศิลอดจะไม่เซาะห์ของคนกาฟิร
                 10.2: มีสติสัมปชัญญะ ดังนั้นจึงไม่เซาะห์การถือศิลอดของคนบ้า  ถึงแม้เพียง
                           ชั่วครู่ในเวลากลางวัน
                  10.3: บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือนและน้ำคราวปลา  ตั้งแต่แสงอรุณจริงขึ้นจน
                           อาทิตย์ลับขอบฟ้า  ดังนั้นจึงไม่เซาะห์การถือศิลอดแก่ผู้มีรอบเดือนหรือ
                          น้ำคราวปลา(นิฟาส)  ถึงแม้จะมีเพียงครู่เดียว  ยิ่งกว่านั้น  ถือว่าการถือ
                          บวชเป็นข้อต้องห้าม  (حرام)  
            10.4: เป็นช่วงของวันและเวลาที่อนุมัติให้ถือศิลอด  ดังนั้นจึงไม่เซาะห์การถือ
                            ศิลอดวันต้องห้าม เช่น 2  วันอีด และ 3  วันของวันตัชริก และวัน
                            สงสัย(شك)
11        องค์ประกอบ(รุ่ก่น)การถือศิลอดมี  3  ประการ
        11.1: การตั้งเจตนาด้วยใจ  หากการบวชเป็นฟัรฎู เช่น บวชในเดือนรอมฎอน หรือ 
                บวช(นะซัร)แก้บน จำเป็นต้องมีเจตนาในยามค่ำคืน และเจาะจงการถือศิลอด
                 ด้วย                 
            11.2: งดเว้น   การกิน  การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์   การสำเร็จความใคร่  การ
                    อาเจียนโดยเจตนา   หากแม้นเขากิน ดื่ม ร่วมเพศโดยลืม  การถือศิลอดให้
                    ดำเนินต่อไปและไม่ถือว่าเสียศิลอด    กรณีไม่รู้ เช่น พึ่งเข้ารับอิสลามหรือ
                     ห่างไกลนักวิชาการ(อุลามาอ) ก็ไม่เสียบวชเช่นเดียวกัน  หากมิฉะนั้นก็ถือ
                     ว่าเสียศิลอด     
            11.3: ผู้ที่ทำการถือศิลอด
12        สิ่งที่ทำให้เสียศิลอด มี 10 ประการ
            12.1: มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นตัวจับต้องได้ เข้าสู่ภายในจากรูเปิด เช่น รูหู  รูทวาร
            12.2: หยอดยาหรือฉีดยาเข้าทางทวารหนักหรือทวารเบา
        12.3: การอาเจียนโดยเจตนา  หากแม้นไม่สามารถกลั้นไว้ได้ เช่น เมารถ ก็ไม่
                     นับว่าเสียศิลอด
        12.4: มีเพศสัมพันธ์ทางทวารเบาหรือทวารหนักกับมนุษย์ด้วยกัน  ร่วมประเวณีกับ
                    มนุษย์หรืออื่นจากมนุษย์ ถึงแม้นจะไม่หลั่งก็ตาม  ในกรณีมีเพศสัมพันธ์โดย
                   ลืมไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม  ไม่ถูกนับว่าเสียการถือศิลอด
        12.5: การหลั่งอสุจิ เช่น การกระทบหรือสัมผัสผิวหนังโดยไม่มีของกั้นหากหลั่ง
              อสุจิโดยการฝันไม่ทำให้เสียศิลอด
        12.6: มีรอบเดือน    
        12.7: คลอดบุตร    
            12.8: มีนิฟาส(เลือดหลังการคลอดบุตร)ถึงแม้ว่านิฟาสออกหลังจากเลือดก้อนหรือ
                      เนื้อก้อนก็ตาม
         12.9: เป็นบ้า
         12.10: การริดดะฮ์(สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม)
13      (สุนัต) ข้อควรปฏิบัติในขณะถือศิลอด
          13.1: รีบละศิลอดเมื่อมั่นใจว่าอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือค่อนข้างแน่ใจ(ظن)  หาก
                    แม้นว่ายังเกิดความสงสัย(  شك )ไม่อนุญาตให้รีบละศิลอด    และควรเริ่ม
                     ละศิลอดด้วยอินทผลัม หากไม่มีให้เริ่มด้วยน้ำ
          13.2: ทานอาหารสะฮูร(سحور)เริ่มเข้าเวลาด้วยครึ่งคืนไปแล้ว การทานอาหารสะฮูร
              ก่อนเที่ยงคืนไม่ถือว่าเป็นอาหารสะฮูร
        13.3: ล้าช้าในการรับประทานอาหารสะฮูร  ตราบใดไม่เกิดความสงสัยในเวลา 
                     และถือว่าได้สุนัตในการทานสะฮูรด้วยการกินการดื่มเพียงเล็กน้อย
             13.4: ละทิ้งการพูดจาที่จาบจ้วงหรือลามก ให้ผู้ถือศิลอดรักษาลิ้นของเขาจากการ
                     โกหก  การนินทา การด่าทอ หากมีผู้ใดมาบริพาทเขา  เขาจงกล่าวว่า
                    แท้จริงฉันถือศิลอด  2  ครั้ง 
         13.5: ละจากอารมณ์ที่ปรารถนา  ถึงแม้นจะไม่เสียบวชก็ตาม  เช่น การดมของ
                      หอม
         13.6: การอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ในเวลากลางคืน เพื่อผู้ถือศิลอดจะได้คงอยู่ใน
                       สภาพของผู้สะอาดตั้งแต่เริ่มแรกของการถือศิลอด
         13.7: อ่านกุรอ่านเป็นจำนวนมากๆ และศึกษากุรอ่าน
              13.8: เอียะติกาฟ (การหยุดอยู่ที่มัสยิด ) โดยเฉพาะสิบคืนสุดท้ายของรอมฎอน
14       ฮู่ก่มการถือศิลอดวันที่สงสัย(شك)
           เป็นข้อห้ามและไม่เซาะห์ การถือศิลอดในวันที่สงสัย โดยไม่มีเหตุที่ทำให้ถือ   ศิลอด หากแม้นมีเหตุที่ทำให้ถือศิลอด  เช่น  เป็นกิจวัตรของเขาในการถือศิลอด  1 วันและเว้น  1  วัน และได้ไปตรงกับวันที่สงสัย(شك)หากมีเจตนา ก็ถือว่าใช้ไม่ได้
15       เยามุสชัก (يوم الشك)
           คือวันที่  30  ของซะบาน  เมื่อไม่มีใครเห็นเดือนในคืนที่  30  ขณะที่ท้องฟ้า
              เปิด  และมีการพูดคุยกันหนาหูว่าเห็นเดือน แต่ไม่มีผู้อาเด้ลแลเห็นหรือไม่มีเด็ก
               หรือทาสหรือคนฟาเซ็ก แสดงตนเป็นพยานว่าแลเห็นเลย
16       ผู้ที่จำเป็นต้องเสียกัฟฟาเราะฮ์ด้วยเหตุทำให้เสียศิลอด
           กรณีที่เสียศิลอดไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะห์  ยกเว้น  การร่วมประเวณีในกลางวัน
                 ของรอมฎอน โดยมีเจตนา  ถึงแม้ว่าจะไม่หลั่งก็ตาม  ในสภาพที่ผู้นั้นมุกัลลัฟในการถือศิลอดและมีการตั้งใจเหนียตการถือศิลอดในเวลากลางคืน  นับว่าทำบาปด้วยการร่วมประเวณีเนื่องจากถือศิลอด  ดังนั้นจำเป็นเขาต้องรีบชดใช้บวชและเสียกัฟฟาเราะฮ์

(กัฟฟาเราะฮ์)
คือ  การปล่อยทาสที่ศรัทธาและปราศจาก  จากตำหนิต่างๆที่มีผลในการทำงานหรือหาอาชีพ หากแม้นไม่สามารถ  ให้ทำการถือศิลอดสองเดือนติดต่อกันโดยไม่นับวันที่ต้องชดใช้  และหากว่าเว้นช่วง  จำเป็นต้องเริ่มใหม่ถึงแม้นว่าการเว้นช่วงจะเกิดเพราะอุปสรรคก็ตาม  หากแม้นไม่สามารถ ในข้อที่ 2  อีก  ให้จ่ายอาหารแก่บรรดาคนมิสกีนหรือคนฟะเกร  60  คน แต่ละคน  คนละ 1 มุด  หากหมดความสามารถทั้งสามประการ  กัฟฟาเราะฮ์ยังคงติดค้างในภาระของเขา  เมื่อเขาสามารถก็ให้เปลื้องภาระดังกล่าว

17        ฮู่ก่มผู้ตายก่อนชดใช้การถือศิลอด

            ผู้ตายไปแล้วที่ขาดการถือศิลอดโดยมีอุปสรรค   เช่น  ป่วย  และไม่สามารถชดใช้เนื่องจากยังคงสภาพของการป่วย  ไม่นับว่าเกิดโทษเหนือผู้ตายและไม่ต้องจ่ายฟิดยะห์และ ไม่ต้องทำการชดใช้ด้วย
             ในกรณีขาดบวชโดยมีอุปสรรค(عذر) และสามารถทำการชดใช้ หรือขาดบวชโดยไม่มีอุปสรรค(عذر) และตายก่อนที่การชดใช้เป็นไปได้ หรือตายหลังการเป็นไปได้ในการชดใช้  ตามมั๊วะตะมัด ให้เครือญาติของผู้ตายเลือกระหว่าง 
             1. การถือศิลอดแทนให้ผู้ตาย
             2. นำมรดกของผู้ตายจ่ายเป็นอาหารหนักแก่มิสกีน วันละ 1 มุด  แต่ทว่าการ
                       ถือศิลอดแทนให้ผู้ตาย เป็นการอัฟฎ้อล(ประเสริฐ)

ฮู่ก่มของคนชราและคนป่วยไม่หวังหาย
ชายและหญิงที่ชราภาพและผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่หวังหายจากอาการป่วย หากไม่สามารถถือ       ศิลอด ให้ละศิลอดได้  และจ่ายอาหารแทนของทุกวัน วันละ 1 มุด  ไม่อนุญาตให้จ่ายก่อนรอมฎอน

ฮู่ก่มการถือศิลอดของผู้ป่วยและคนเดินทาง
ผู้ป่วยที่หวังหายและคนเดินทางที่อนุมัติ  หากแม้นเกิดอันตรายด้วยการถือศิลอด  ให้ทำการละศิลอดและทำการชดใช้  และอนุญาตแก่ผู้ป่วย  ซึ่งมีอาการป่วยเป็นประจำต่อเนื่องให้ละทิ้งการตั้งเจตนาในเวลากลางคืน   หากแม้นป่วยไม่ต่อเนื่อง เช่น  ป่วยๆหายๆ และเวลาเริ่มถือศิลอดก็ตัวร้อนเป็นไข้  อนุญาตให้ละทิ้งการเหนียตบวช หากมิฉะนั้น ให้เหนียตถือศิลอดในเวลากลางคืน  หากอาการไข้ตัวร้อนเกิดขึ้น ให้ทำการละศิลอดได้ เมื่อเกิดความจำเป็น
                 
                                                                            .อาลี  กองเป็ง
                                                            สรุปจาก    تقريب فتح القريب
                                                                               في الفقه الشا فعي