วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์


อั้ลฮัจญอั้ลมับรูรฺ
الحج المبرور
โดย อ. อาลี  กองเป็ง


اَلْحَمْدُ ِللهِ الَّذِيْ فَرَضَ عَلَى الْعِبَادِ حَجَّ بَيْتِهِ الْحَرَامْ  .  وَنَوَّعَ الْعِبَادَةَ لِلْعُبَّادِ فَشَرَعَهُ بَعْدَ الصِّيَامْ   .   وَجَعَلَهُ سَبَبًا لِرَفْعِ الدَّرَجَاتِ وَمَحْوِاْلآثَامْ   .   وَاَشْهَدُ اَنْ لاَاِلَهَ ِالاَّ الله ُالْحَلِيْمُ الْكَرِيْمُ   .   وَاَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًارَسُوْلُ اللهِ ذُوالْقَلْبِ الرَّحِيْم   .   اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍصَاحِبِ الْخَلْقِ اْلعَظِيْمِ  .   وَعَلَى آلِهِ وَاَصْحَابِهِ كُلَّمَاذَكَرَ الذَّاكِرُوْنَ   .   اَمَّابَعْدَ فَيَاعِبَادَاللهِ  :  اُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ اَوَّلاًبِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهْ   .  فَقَدْقَالَ الله ُتَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ   :  اَعُوْذُبِا للهِ ِمنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ  .  اِنَّ اَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلْنَاسِ لَلَّذِيْ بِبَكَّةَ مُبَارَكًا وَهُدًى ِللْعَالَمِيْنَ  .  فِيْهِ آياَتٌ بَيِّنَاتٌ مَقَامُ اِبْرَاهِيْمَ وَمَنْ دَخَلَهُ كَانَ آمِنًا َوِللهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ اِلَيْهِ سَبِيْلاً وَمَنْ كَفَرَ فَاِنَّ الله َغَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِيْنَ  .
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

รุก่น ( องค์ประกอบของศาสนา ) อิสลามข้อที่ห้านั้นคือการทำฮัจญ  ซึ่งอัลเลาะฮ์ ( ซ บ ) ลงบัญญัติ (  ฟัรฎู ) เหนือมุสลิมีนในปีทีหกแห่งฮิจญเราะฮ์ศักราช    พร้อมกับมีความสามารถ (اِسْتِطَاعَةْ )  สามารถในการทำฮัจญ    บัยติลลาฮิ้ลหะรอม (بَيْتِ اللهِ الْحَرَامْ  )    ซึ่งพระองค์ทรงไห้กะบะฮ์อันทรงเกียรติเป็นกิบละฮ์ (ทิศ )  แก่ลูกหลานมุสลิมผินหน้าไปสู่ขณะประกอบอิบาดะฮ์เช่นการละหมาด    มุอฺมินทั่วทุกมุมโลกหลั่งไหลไปสู่กะบะฮ์ด้วยหัวใจที่เปลี่ยมล้นไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้าและศิโรราบต่ออัลเลาะฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร   มันคือความจริงประการหนึ่งจากหลายประการของฮิกมะฮ์การทำฮัจญคือ   รวมชนชาติมุสลิมที่มีหัวใจตรงกันในการปฏิญานว่า 
(لاَاِلَهَ اِلاَّ الله ُ.  مُحَمَّدٌرَسُوْلُ اللهِِ )
ไม่มีเจ้าอื่นใดซึ่งถูกกราบไหว้โดยเที่ยงแท้นอกจากอัลเลาะฮ์และนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะฮ์  
เชื่อมความสัมพันธุ์   ความรัก   ความอาธร ด้วยกันถึงแม้นว่าจะแตกต่างทางเชื้อชาติ  สีผิว  วงค์ตระกูล เชี้อสาย   และเพื่อแสดงออกไห้เด่นชัดยิ่งขึ้นถึงความยิ่งใหญและเกรียงไกรของอัลเลาะฮ์ ต้าอาลา   และเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันหนึ่งที่บ่าวทั้งหลายของพระองค์จะถูกบังเกิดชึ้นมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งนามว่า เยามุ้ลหัชร (يَوْمُ الْحَشْرِ)  โดยมีความมุ่งหวังที่จะได้รับการอภัยโทษจากบาปทั้งหลายซึ่งเคยทำไว้ในโลกดุนยา        

 มีรายงานเล่าจากท่านอิบนิอับบาส ( ร ฎ )  ว่า   ครั้นเมื่อท่านบีอิบรอฮีมได้บูรณะกะบะฮ์พร้อมกับลูกชายของท่านซึ่งมีนามว่านบีอิสมาอีลอะลัยฮิมัสสลาม  เสร็จแล้วได้มีเสียงร้องเรียกกล่าวแก่ท่านว่า   เจ้าจงประกาศแก่มนุษย์เพื่อทำฮัจญเถิด   ท่านนบีอิบรอฮีมกล่าวว่า   โอ้อัลเลาะฮ์ผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์     เสียงของข้าพระองค์มิอาจได้ยินไปทั่วสารทิศดอก   อัลเลาะฮ์ทรงตอบว่า   เจ้าจงประกาศเถิดมันเป็นน่าที่ของข้าเองที่จะไห้ได้ยินไปทั่วทุกหนแห่ง   ท่านนบีอิบรอฮีมจึงเดินขึ้นภูเขาอะบีกุบัยส( اَبِيْ قُبَيْسٍ )  พร้อมกับส่งเสียงร้องอันดังว่า   โอ้มวลมนุษย์เอ๋ย   แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติใช้พวกท่านทำฮัจญ     บ้านหลังนี้  (بَيْتِ اللهِ  )  เพื่อพวกท่านจะได้รับการตอบแทนด้วยสวนสวรรค์และพวกท่านก็จะพ้นจาการลงโทษในนรก   ท่านทั้งหลายจงไปทำฮัจญเถิด   ดังกล่าวนี้   แม้กระทั้งผู้ที่อยู่ในกระดูกสันหลังของเพศชายและอยู่ในมดลูกของเพศหญิงก็ได้ตอบรับว่า 
   ลับบัยกั้ลลอฮุมมะลับบัยก (لَبَّيْكَ اللَّهُمَّ لَبَّيْكَ    
 อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า     
إِنَّ أَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلنَّاسِ لَلَّذِي بِبَكَّةَ مُبَارَكًا وَهُدًى لِلْعَالَمِينَ (96) فِيهِ آَيَاتٌ بَيِّنَاتٌ مَقَامُ إِبْرَاهِيمَ وَمَنْ دَخَلَهُ كَانَ آَمِنًا وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا وَمَنْ كَفَرَ فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ (97)     (آل عمران  96-97      
                                                                                                                  
"แท้จริงบ้านหลังแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ ( เพื่อประกอบอิบาดะฮ์ )นั้นคือที่บักกะฮ์ ( มักกะฮ์ )สภาพที่ถูกไห้มีความจำเริญและเป็นแนวทางนำแก่ชาวโลกทั้งหลาย  ในบ้านมีหลายสัญญานที่ชัดเจนเช่นมะก่อมอิบรอฮีม ( คือโขดหินซึ่งเป็นที่ยืนของท่านนบีอิบรอฮีม  ขณะที่ท่านทำการก่อส่วนสูงของบัยตุ้ลเลาะฮ์และยังมีปรากฏรอยเท้าทั้งสองของท่านด้วยจนถึงปัจจบัน )  และผู้ใดได้เข้าไปในบริเวนนั้นเขาก็เป็นผู้ปลอดภัย   และสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ที่จำเป็นแก่มนุษย์นั้น   คือการทำฮัจญ  ( มุ่งสู่ )บ้านหลังนั้น  อันได้แก่ผู้ที่มีความสามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้  และผู้ใดปฏิเสธ  แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงพอเพียงจากการพึ่งประชาชาติทั้งหลาย"      
                                       
           การทำฮัจญที่ท่านบี ( ซ ล ) ปรารถนาไห้เราทำคือ  ฮัจญที่มับรูรซึ่งท่านนบี ( ซ ล ) กล่าวว่า                


     مَنْ حَجَّ فَلَمْ يَرْفُثْ وَلَمْ يَفْسُقْ رَجَعَ كَيَوْمٍ وَلَدَتْهُ اُمُّهُ  . رواه البخاري ومسلم عن ابي هريرة 
                                                                                                               
        ความว่า      ผู้ใดทำฮัจญที่ไม่มีความผิดในในเรื่องเพศสำพันธุ์และบริสุธิ์จากบาป  เขาผู้นั้นได้กลับมา    ประดุจดังวันที่มารดาได้คลอดเขาออกมา   กล่าวคือ  เขาสอาดบริสุธิ์จากบาปเสมือนเด็กคลอดใหม่    ท่านนบี  ( ซ ล )ได้กล่าวไว้อีกว่า 

                                                                                  اَلْحَجُّ الْمَبْرُوْرُلَيْسَ لَهُ جَزَاءٌ اِلاَّ الْجَنَّةّ  .   رواه البخاري ومسلم           
       ความว่า"การทำฮัจญที่มับรูร  (  อัลเลาะฮ์ทรงรับ ) ไม่มีการตอบแทนใดแก่เขานอกจากสวรรค์"

     ฮัจญมับรูรคือ                             
                                                                                                      هُوَ الْحَجُّ الَّذِيْ لاَيُخَالِطُهُ اِثْمٌ                                                                                                  ฮัจญซึ่งไม่มีการปนเปื้อนของที่เป็นบาป 

           ท่านหะซันกล่าว่า                   
                                                                                                            اَنْ يَرْجِعَ زَاهِدًافِي الدُّنْيَارَاغِبًافِي اْلآخِرَةِ

                                 " ผู้ทำฮัจญที่มับรูรคือ   เขากลับมาสู่สภาพเป็นผู้ไม่โลบดุนยา  มุ่งหวังโลกอาคิเราะฮ์" 

 การทำฮัจญ์  ประกอบไปด้วยหลักการ  เหตุผล  ฟัรฎู  วาญิบ  สุนัตและเงื่อนไขต่างๆที่ต้องรับการเรียนรู้และหาความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำฮัจญ์แบบอิฟรอด   ตะมัตตั๊วะ   หรือกิรอน ซึ่งทั้งสามแบบนี้เป็นซุนนะห์จากท่านนบี(ซ.ล.)ทั้งสิ้น ใครจะปฏิบัติฮัจญ์แบบใด  ขอให้ได้มาซึ่งฮัจญ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)กำชับไว้ นั่นคือ อัลฮัจญุ้ลมับรูร  (اَلْحَجُّ الْمَبْرُوْرُ)   ก่อนการเดินทางพี่น้องของเราเตรียมเสบียงหลายกระเป๋า หลายกิโล  บางทีเอาไปไม่หมดแต่น่าเสียใจ บางคนลืมพกพาความอดทน และการอภัยไปด้วย จึงสลายคำว่า อัลมับรูร ที่ตั้งใจไว้แต่แรก ขากลับ ซื้อของฝากจากมักกะห์ จากมะดีนะห์มาแจกจ่ายพี่น้อง บางคนนำมาจนเกินน้ำหนักแต่น่าเสียดาย ลืมเอาฮัจญ์ มับรูร กลับมา เพราะเขาทำลายมันไป ขณะทำเสียแล้ว ด้วยการเจือปนไปในฮัจญ์กับของที่เรียกว่าบาป       ขออัลเลาะห์(ซ.บ.)ทรงประทานให้เราทุกคนได้ฮัจญ์ มับรูร และโปรดอย่าได้ยินสำเนียงหรือวาจาที่เจ็บปวดเลยว่า ไปฮัจญ์มาแล้ว ทำไมทำตัวอย่างนี้ละ   หรือ คำว่า ปีหน้าไปใหม่อีกนะ   เอาฮัจญ์ที่ทำมาไปคืนเถอะ    

  أَ قُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ