วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

คุตบะห์วันศุกร์


การแสวงหาความรู้คือหน้าที่และอะมานะฮ์
 อ.อาลี  กองเป็ง


ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
อัลเลาะฮ์ ( ซ บ ) ทรงตรัสในซูเราะห์ อาละอิมรอน อายะห์ที่ 18 (آل عمران : 18)  ว่า

شَهِدَالله ُأَنَّهُ لاَاِلَهَ اِلاَّهُوَ وَالْمَلاَئِكَةُ وَأُولُواالْعِلْمِ قَائِمًابِالْقِسْطِ لاَاِلهَ اِلاَّهُوَالْعَزِيْزُالْحَكِيْمُ 

อัลเลาะฮ์ทรงเป็นพยานว่าแท้จริงผู้เป็นพระเจ้าซึ่งถูกสักการะโดยเที่ยงแท้นอกจากพระองค์เท่านั้น   และเหล่ามะลาอิกะฮ์   และผู้ที่มีความรู้ในฐานะดำรงใว้ซึ่งความยุติธรรมก็ยืนยันด้วยว่า   ไม่มีผู้ที่ควรได้รับการสักการะใดๆนอกจากพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ  ผู้ทรงปรีชาณ”
   
 ท่านจงไตร่ตรองเถิดว่า   อัลเลาะฮ์ทรงยืนยันด้วยพระองเองเป็นอันดับแรก  และทรงกล่าวถึงมะลาอิกะฮ์เป็นอันดับสอง   และทรงกล่าวถึงผู้มีความรู้เป็นอันดับสาม  เป็นการยืนยันจากอัลเลาะฮ์ถึงฐานะผู้มีความรู้ 
 และพระองค์ทรงตรัส ในซูเราะห์ อันนะหฺลฺ อายะห์ที่ 43  (النحل :43)ว่า 
   
فَاسْاَلُوْاأَهْلَ الذِّكْرِاِنْ كُنْتُمْ لاَتَعْلَمُوْنَ                                                     
                 ดังนั้นพวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้หากพวกเจ้าไม่รู้”

กุรอานได้ชี้ชัดไห้มนุษย์ชาติคำนึงถึงการได้มาซึงความรู้   และความรู้นั้นย่อมเกิดขึ้นได้แก่ผู้หนึ่งที่แสวงหาและไฝ่รู้  มันคือหน้าที่ของมนุษย์โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นมุสลิม    ดังท่านนบี ( )   กล่าวว่า  
   
طَلَبُ الْعِلْمِ فَرِيْضَةٌ عَلَى كُلِّ مُسْلِمٍ
“การแสวงหาความรู้เป็นฟัรฎูหน้าที่เหนือมุสลิมทุกคน”  

 และไม่มีระยะเวลาที่จำกัดเขตในการแสวงหาความรู้   ดังบรรดาอุละมาอ์กล่าวว่า   ความรู้ประดุจดังมหาสมุทรที่ไร้ฝั่ง   ผู้ใดที่อ้างว่าตัวเองรอบรู้แล้วเขาผู้นั้นคือคนญะเฮ้ล(คนโง่)ที่สุด   คำว่า  การแสวงหาความรู้เป็นฟัรฎู ( หน้าที่ )  หมายถึง  
      : ฟัรฎูอัยนฺคือการแสวงหาความรู้เพื่อไห้ได้มากับการรู้จักพระเจ้า   ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับของหะล้าลและหะรอม  ไม่ว่าจะเป็นภาคของการอิบาดะฮ์และมุอามะละฮ์  ภารกิจที่เกี่ยวกับสภาพจิตใจ   เช่นความอดทน   การขอบคุณอัลเลาะฮ์   ความใจบุญ   ความสัจจะ  การมีมารยาทที่ดีเป็นต้น    และสภาพทางใจที่ศาสนาประณาม   เช่นการอาฆาตแค้น   การอิจฉาริษยา   การช่อฉล   การอวดอ้าง   ความโกรธ   การทะเลาะวิวาท                                                   
      :  ฟัรฎูกิฟายะฮ์   คือทุกสาขาของความรู้หรือศาสตร์ต่างๆซึ่งเป็นองค์ประกอบไห้ได้มาซึงปัจจัยที่จะได้ดำรงชีวิตในโลกดุนยา   เช่นแพทย์ศาสตร์   เพื่อรักษาผู้ป่วย    คณิตศาสตร์   เพื่อใช้กับทธุรกรรมการเงินการแบ่งมรดก    เกษตรศาสตร์   เพื่อใช้ในการเกษตรเป็นต้น 
                                     
 ท่านลุกมานได้สั่งเสียแก่ลูกรักของท่านว่า                                                                                   

يَابُنَيَّ جَالِسِ الْعُلَمَاءَ وَزَاحِمْهُمْ بِرُكْبَتَيْكَ .  فَاِنَّ الله َسُبْحَانَهُ وَتَعَالَى يُحْيِ الْقُلُوْبَ بِنُوْرِ الْحِكْمَةِ .  كَمَايُحْيِ اْلأَرْضَ بِوَابِلِ السَّمَاءِ
                                                                    
   โอ้ลูกน้อย    จงนั่งร่วมกับบรรดาอุละมาอ์   จงร่วมกลุ่มเข้าใกล้พวกเขาด้วยหัวเข่าของท่าน  แท้จริงอัลเลาะฮ์ ( ) ฟื้นฟูหัวใจทั้งหลายด้วยรัศมีแห่งความรู้   ประดุจดังพระองค์ทรงประทานชีวิตชีวาไห้พื้นดินด้วยน้ำฝนจากฟากฟ้า”
 
  ท่านอะลียิบนิอะบีฏอลิบร่อฎิยั้ลลอฮุอันฮ(علي بن ابي طالب)กล่าวแก่ท่านกุมัยลบินซิยาดว่า   โอ้ท่านกุมัยล     

اَلْعِلْمُ خَيْرٌ مِنَ الْمَالِ .
 اَلْعِلْمُ يَحْرِسُكَ وَأَنْتَ تَحْرِسُ الْمَالَ .
  وَالْعِلْمُ حَاكِمٌ وَالْمَالُ مَحْكُوْمٌ عَلَيْهِ  .
  وَالْمَالُ تُنْقِصُهُ النَّفَقَةُ . وَالْعِلْمُ يَزْكُوْبِاْلاِنْفَاقِ 
     มีความรู้ดีกว่ามีทรัพย์สินเงินทอง
  ความรู้มันจะรักษาท่าน   แต่ทรัพย์ท่านต้องรักษามัน 
 ความรู้คือผู้พิพากษา แต่ทรัพย์เงินทองเป็นผู้ถูกพิพากษา
  ทรัพย์จะพล่องเมื่อถูกใช้จ่ายไป   แต่ความรู้จะเพิ่มพูนด้วยการใช้มัน” 

   การเรียนรู้  มุมานะและแสวงหาไม่ว่าจะเป็นด้านฟัรฎูอัยนหรือกิฟายะฮ์ย่อมได้มาซึ่งความมีเกียรติและความประเสริฐดั่งดำรัสขององค์อัลเลาะฮ์ ( )  บ่งบอกว่า
                 يَرْفَعِ الله ُالَّذِيْنَ آمَنُوْامِنْكُمْ وَالَّذِيْنَ أُوْ تُو االْعِلْمَ دَرَجَاتٍ  .  (المجادلة : 11)      
อัลเลาะฮ์จะทรงยกย่องแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและแก่บรรดาผู้ได้รับความรู้หลายขั้น”
   นั้นหมายถึงผู้ถูกเทิดเกียรติจากพระองค์คือผู้มีอีหม่านและผู้มีความรู้   และความรู้จะประจักษ์เมื่อแสวงหามัน
                                                                                                                                             ท่านนบี ( ) กล่าวว่า    
فَضْلُ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِلَيْلَةَ الْبَدْرِعَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ  .
 رواه أبوالدرداء   
                                                          ความประเสริฐของผู้รู้เหนือผู้ทำอิบาดะฮ์ประดุจความประเสริฐของดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญเหนือดวงดาวทั้งหลาย”
  
   เพราะอะไรหรือตำแหน่งของการทำอิบาดะฮ์โดยปราศจากความรู้นั้นด้อยค่าลง?    คำตอบคือผู้ประกอบอิบาดะฮ์ ( ทำดี )  จะทำได้ต่อเมื่อรู้เรื่องที่ดีนั้น  ถ้าแม้นไม่รู้เขาก็ไม่ทำ  หรือทำ    แต่ไม่ได้ดี
                                                                                                                                      
      ท่านอะบุรดัรดาอ์   กล่าวว่า 
لأَنْ أَتَعَلَّمُ مَسْاَلَةً أَحَبُّ اِلِيَّ مِنْ قِيَامِ لَيْلَةٍ
ในการที่ข้าพเจ้าทำการศึกษาเรียนรู้ปันหามันปราถนายังข้าพเจ้ายิ่งกว่าการตื่นละหมาดในยามค่ำคืนเสียอีก”
                                                                                                                                                                    اَلْعَالِمُ وَالْمُتَعَلِّمُ شَرِيْكَانِ فِي الْخَيْرِوَسَائِرُالنَّاسِ هَمَجٌ لاَخَيْرَفِيْهِمْ
   ผู้รู้และผู้เรียนหุ้นส่วนกันในเรื่องความดีและคนทั่วไป (ไม่รู้และไม่เรียน )   คือความเขลาไม่มีดีในพวกเขาเลย”
                                                                                                                                               ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ร่อหิมะฮุ้ลเลาะฮ์กล่าวว่า
طَلَبُ الْعِلْمِ أَفْضَلُ مِنَ النَّافِلَةِ                                                                                                                การแสวงหาความรู้ย่อมประเสริฐกว่าการละหมาดที่เป็นสุนัต”


                ท่านฟัตห์อั้ลมุวัซซิลีย์     (فتح الموصلي رحمه الله)   กล่าวว่า   มิไช่หรอกหรือว่า  คนป่วยเมื่อทานไม่ได้ดื่มไม่ได้  ไม่มียารักษา เขาก็ตาย”  ผู้คนที่นั่งร่วมฟังอยู่จึงเกริ่นตอบท่านว่า  มันถูกต้องแล้วครับ” ท่านจึงพูดต่อไปอีกว่า  เช่นเดียวกันกับหัวใจของคนก็จะตายด้านเมื่อไม่เรียนรู้ซึ่งปรัชญา” 
           จากท่านมุอ๊าซกล่าวว่า  “จงศึกษาหาความรู้ เพราะการศึกษาเพื่ออัลเลาะฮ์ คือการตักวา ( ยำเกรง ) และการใฝ่หามันคือการอิบาดะฮ์ การทบทวนมันคือการตัสเบียะห์  การค้นคว้ามันคือการญิฮาด    การสอนคือการซ่อดะเกาะฮ์   แท้จริงความรู้คือเพื่อนแท้ในยามเหงา”
            ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก  อาหารของจิตรวิญญาญและสมองคือความรู้  (العِلْمُ) และปรัชญา  (الحِكْمَةُ)  สมองและจิตวิญญาณพึ่งพาอาศัยมันทั้งสอง  เฉกเช่นร่างกายจะเจริญเติบโตได้ด้วยการบริโภคอาหารของมัน  และผู้ใดก็ตามขาดการเรียน ขาดความรู้   จงเข้าใจเถิดว่าด้านสมองกับหัวใจของเขามีอาการป่วย   และแล้วความตายก็มาเยือนแต่เขาไม่รูสึกตัว   เพื่อเป็นอนุสติแก่พี่น้องมุสลิมที่รักจึงขอฝากคำกล่าวของท่านอิบนิมัสอูดร่อฎิยั้ลลอฮอันฮฺ ซึ่งท่านกล่าวว่า
                                                                                

عَلَيْكُمْ بِالْعِلْمِ قَبْلَ أَنْ يُرْفَعَ . رَفْعُهُ مَوْتُ رُوَاتِهِ .  وَاِنَّ أَحَدًالَمْ يُوْلَدْعَالِمًا   وَاِنَّمَاالْعِلْمُ بِالتَّعَلُّمِ                                                                                                                          การศึกษาหาความรู้จำเป็นเหนือพวกท่านก่อนที่มันจะถูกยกจากไป   การยกความรู้จากไปคือความตายของผู้ที่สาธยายมัน  แท้จริงไม่มีใครหรอกเกิดมาโดยเป็นผู้รู้แต่เดิม  แต่แท้ที่จริงความรู้จะได้มาด้วยการศึกษา”

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ