วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

คุตบะห์วันศุกร์


จงตั้งเจตนาทำดีก่อนที่จะหมดโอกาส

โดย อ.อาลี  กองเป็ง


ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่เคารพรัก   
                                                                                                
ปัจจัยที่นำมาซึ่งความสุขและเบิกบานสู่จิตรของมนุษย์ และนำพาสู่หนทางแห่งชัยชนะด้วยเตาฟีก (تَوْفِيْقٌ)    แห่งอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)   คือยื่นมือช่วยเหลือผู้อื่น และพร้อมด้วยจิตรอาสาในการรับใช้สังคมและเปลื้องความทุกข์ร้อน พร้อมบันจุความสดชื่นแก่เพื่อนมนุษย์  
                    ท่านนบี (ซ.ล.)  กล่าวว่า  
مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا .  نَفَّسَ الله ُعَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَوْمِ الْقِيَامَةِ .  وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ الله ُعَلَيْهِ فِي الدُّنْيَاوَاْلآخِرَةِ .  وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِمًا سَتَرَهُ الله ُفِي الدُّنْيَا وَاْلآخِرَةِ . وَالله ُفِيْ عَوْنِ الْعَبْدِ مَاكَانَ الْعَبْدُ فِيْ عَوْنِ أَخِيْهِ  .   رواه مسلم                                                                                                                 

ความว่า   ผู้ไดทำไห้มุสลิมผู้หนึ่งบรรเทาลงจากความโศกเศร้าหนึ่งของความเศร้าใจทั้งหลายในโลกดุนยา   อัลเลาะฮ์ (ซ.บ. )ได้ทรงไห้เขาบรรเทาลงจากความเศร้าหนึ่งของความเศร้าทั้งหลายในวันกิยามัต และผู้ใดทำไห้สะดวกง่ายดายแก่ผู้มีความยากลำบาก อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)ทรงไห้ความสะดวกง่ายดายแก่เขาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์  และผู้ไดปกปิดตำหนิของมุสลิม   อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงปกปิดตำหนิของเขาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์  อัลเลาะฮ์ทรงไห้ความช่วยเหลือต่อบ่าวของพระองค์ตราบใดที่บ่าวไห้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องของเขา”   

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก เราจะไม่พบประตูบานใดจากบานประตูต่างๆแห่งการทำความดี  เว้นแต่ทุกๆบานประตูนั้นท่านนบี(ซ.ล.)  ได้ส่งเสริมไห้กระทำ ท่านเคยเรียกร้องสู่การช่วยเหลือและดูแล อุปการะเด็กกำพร้า หญิงหม้าย  คนขัดสน(ฟะกีร,فقير ) ยากจน(มิสกีน,مسكين )และคนเดินทางที่ขาดแคลน ท่านนบี (ซ.ล.)  ร่วมลงแรงก่อสร้างมัสญิด ขุดสนามเพาะและภารกิจอื่นอีกมากมายกับเหล่าวซ่อฮาบะฮ์(ร.ฎ.)   แสดงออกถึงการร่วมมือและร่วมใจทำความดีแสวงหาผลบุณและผลที่จะได้เก็บเกี่ยวจากความโปรดปรานจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ในโลกอาคิเราะฮ์   และการอ่อนน้อมของท่านบี (ซ.ล.)  ที่แสดงออกถึงความรู้สึก สุขทางใจแก่อุมมะฮ์(ประชาชาติ)ของท่าน   ซึ่งมีรายงานจากท่านอะนัส (ร.ฎ.)   บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ว่า

كَانَتِ اْلأَمَةُ مِنْ اِمَاءِ أَهْلِ الْمَدِيْنَةِ لَتَأْخُذُ بِيَدِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى الله ُعَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَتَنْطَلِقُ بِهِ حَيْثُ شَاءَتْ....                                                                                                               
ได้ปรากฏทาสีหนึ่งจากทาสหญิงทั้งหลายของชาวนครมะดีนะฮ์ชะรีฟะฮ์ เธอจะคว้ามือของ ท่าน นบี (ซ.ล.)  แล้วดึงท่าน นบี (ซ.ล.)  ไปด้วยตามที่เธอต้องการ.......”

 นี้แหละคือท่านนบี (ซ.ล.) ท่านแบ่งเวลาเพื่ออุมมะฮ์(ประชาชาติ)ของท่านไห้ได้รับความชื่นใจ   ทั้งๆที่ท่านมีภารกิจอันสำคัญอีกมากมาย ซุนนะฮ์(แบบฉบับ)ดังกล่าวนี้ท่านค่อลีฟะฮ์อุมัรบินอับดิ้ลอะซีซ (عمر بن عبدالعزيز)   ได้นำมาปฏิบัติโดยออกกฎหมายแก่ข้าหลวงว่า  เจ้าทั้งหลายจงสำรวจและบันทึกเป็นทะเบียนคนที่สายตาพิการ คนทุพพลภาพ คนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤก ที่ไม่สามารถยืนละหมาดได้ และไห้ตั้งเจ้าหน้าที่คอยไห้ความช่วยเหลือ                                          
ท่านค่อลีฟะฮ์  อั้ลวะลีดบินอับดิ้ลมะลิก (الوليد بن عبد الملك)  ด้นำแนวทางที่เรียกว่าซุนนะฮ์(แบบฉบับ)นี้ ไปดำเนินเช่นเดียวกัน โดยท่านได้กำหนดเป็น กฏหมายช่วยเหลือราษฎร เช่นหน่วยพยาบาล  และหน่วยบรรเทาทุกข์และอำนวยความสะดวก พร้อมตอบแทนเป็นเงินเดือนแก่ผู้มีหน้าที่บริการ และรายได้ประจำเดือนเพื่อประทังชีวิตแก่ผู้ขัดสน
โดยท่านกล่าวว่า                     
           لاَتَسْأَلُوا النَّاسَ ห้ามท่านทั้งหลายทำอาชีพขอทาน”

จึงเป็นเหตุซึ่งลดอาชีพคนขอทานในยุคนั้นลงไป และท่านยังจัดตั้งหน่วยงานรับใช้คนเป็นโรคอ่อนเปลี้ย ขัดยอก คนพิการร่างกายหรือสายตา

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก    ผลที่ได้รับจากการทำความดีด้วยจิตอาสา 

                                     1.ดำรงไว้ซึ่งหน้าที่ของความเป็นมุสลิมที่มีต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกัน 
                                     2.   เพิ่มประสบการและเกิดความชำนาญแก่ตนเอง
                                      3. ใช้เวลาว่างไห้เป็นประโยชน์
                                       4. เกิดความภาคภูมิใจด้วยการมีจิตอาสา
                                       5. เชื่อมความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างพี่น้องเพื่อนพ้องร่วมโลก
                                                     

และซึ่งสำคัญที่สุดคือ

اَلْحُصُوْلُ عَلَى اْلأَجْرِ وَالثَّوَابِ مِنَ اللهِ تَعَالَى                                                                    
“ได้รับผลบุณและการตอบแทนจากพระผู้ทรงอภิบาล”  

            วันนี้บางคนอาจยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติ  แต่ขอไห้ได้เริ่มเจตนาที่ดีๆ ดั่งมีคำวะซียะฮ์ (คำสั่งเสีย,وصية)  ของท่านอะห์หมัดอิบนุฮัมบัลแก่ลูกของท่านว่า
يَابُنَيَّ أَنْوِ الْخَيْرَ . فَاِنَّكَ لاَتَزَالُ بِخَيْرٍ مَانَوَيْتَ الْخَيْرَ .  الأداب الشرعيةلابن مفلح         

“โอ้ลูกรักเจ้าจงตั้งเจตตนาที่ดีเถิด  แล้วแท้จริงเจ้าจะคง อยู่กับความดีตราบใดที่เจ้าได้ตั้งเจตตนาที่ดี”

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ