วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

คุตบะห์วันศุกร์



ท่านติดต่อเครือญาติของท่านหรือยัง
โดย อ. อาลี  กองเป็ง

بسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
اَلْحَمْدُللهِ وَحْدَهْ  وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلَى مَنْ لاَ نَبِيَّ بَعْدَهْ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
 ว่า    (النساء :  1)  อัลเลาะฮ์ ต้าอาลา ทรงตรัส ในซูเราะห์ อันนิซาอฺ อายะห์ที่ 1
   
﴿وَاتَّقُواالله َالَّذِيْ تَسَاءَلُوْنَ بِهِ اْلأَرْحَامْ 

         ซึ่งมีใจความว่า และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลเลาะฮ์เถิด ที่พวกเจ้าต่างขอความช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยอ้างพระองค์เป็นสักขีพยาน และเจ้าทั้งหลายจงรักษาไว้ซึ่งเครือญาติ”   
กล่าวคือไห้มีการช่วยเหลือเกื้อกูล เอาใจใส่  และระมัดระวังในสิทธิและหน้าที่ต่างๆอันพึงมีต่อเครือญาติ  ซึ่งจะนำมาถึงการเชื่อมสัมพันธ์ฉันเครือญาติที่ไม่ขาดตอนลง   และพระองค์ทรงตรัสอีก  ถึงลักษณะหนึ่งของผู้ที่จะได้รับสวนสวรรค์ทั้งหลายที่จะได้เข้าไปพำนักพร้อมกับผู้ทำดีจากบรรพบุรุษของพวกเขา ในซูเราะห์ อัรเราะอฺดฺ อายะห์ 21 ( الرعد :۲١ )      ว่า
﴿وَالَّذِيْنَ يَصِلُوْنَ مَاأَمَرَالله ُبِهِ أَنْ يُوْصَلَ
และบรรดาผู้เชื่อมสัมพันธ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาไห้เขาเชื่อมสัมพันธ์”
 บรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่ได้ไห้ความหมายของการเชื่อมสัมพันธ์ในอายะฮ์นี้ว่า       ( صِلَةُ اْلأَرْحَامْ)  คือการติดต่อและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ
ท่านนบี  ( ซ.ล. )  ได้กล่าวว่า
مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ اْلآخِرِفَلْيَصِلْ رَحِمَهُ . . متفق عليه                                     
ผู้ใดที่ปรากฏว่าเขาอีหม่านต่ออัลเลาะฮ์และวันอาคิเราะฮ์  ดังนั้นเขาจำต้องเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา”

คำสั่งใช้ไห้เชื่อมความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาตินั้น บ่งชี้ถึงข้อห้ามประการหนึ่ง และเป็นการปฏิเสธความอีหม่านที่สมบูรณ์ นั้นคือการตัดขาดความสัมพันธ์    
              
บรรดาอุละมาอ์ได้กล่าว  ว่า   
        
حُرْمَةُ قَطْعِ اْلأَرْحَامِ وَاْلاِعْرَاضِ عَنْهُمْ بِالزِّياَرَةِ وَاْلاِعَانَةِ وَحُسْنِ الْعُشْرَةِ
  การตัดสัมพันธ์เครือญาติเป็นข้อต้องห้าม และเช่นเดียวกัน  การเพิกเฉย  ต่อการซิยาเราะฮ์         ( เยี่ยมเยียน ) และการอิอานะฮ์( ไห้ความช่วยเหลือ)  และการหุสนุ้ลอุชเราะฮ์ (สร้างมิตรภาพในวงษาคนาญาติ)
การติดต่อเครือญาติมิใช่หมายถึงเชื่อมความสัมพันธ์กับเครือญาติที่ทำดีกับเรา หรือสร้างความสัมพันธ์กับเราเท่านั้น แต่มันหมายความถึงการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่ตัดขาดกับเราด้วยเช่นกัน   ดั่งมีรายงานซึ่งบันทึกโดยมุสลิมจากท่านอะบูฮุรอยเราะฮ์(ร.ฎ.)  ว่า   มีชายผู้หนึ่งกล่าวถามท่านร่อซู้ล (ซ.ล.)  ว่า โอ้ท่านร่อซู้ล  ( ซ. ล.
        
اِنَّ لِيْ قَرَابَةٌ أَصِلُهُمْ وَيَقْطًعُوْنَنِيْ      
            แท้จริงข้าพเจ้ามีเครือญาติที่พวกเขาตัดสัมพันธ์กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยังติดต่อสัมพันธ์กับพวกเขา”
   وَأُحْسِنُ اِلَيْهِمْ وَيُسِيْئُوْنَ اِلَيَّ      
และข้าพเจ้ามีคุณธรรมต่อพวกเขาขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังไม่ดีต่อข้าพเจ้า”
                                       وَأَحْلُمُ عَنْهُمْ وَيَجْهَلُوْنَ عَلَيَّ                                                                          
                    “และข้าพเจ้าก็ยังอดทนไม่ถือสาต่อพวกเขาทั้งๆที่พวกเขาทำไม่รู้ไม่ชี้กับข้าพเจ้า”
      ท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) กล่าวตอบแก่ชายผู้นี้ว่า 
لَئِنْ كُنْتَ كَمَاقُلْتَ تُسِفُّهُمُ الْمَلَّ وَلاَيَزَالُ مَعَكَ مِنَ اللهِ ظَهِيْرٌعَلَيْهِمْ مَادُمْتَ عَلَى ذَلِكَ    

“มาดแม้นท่านทำดีดั่งที่ท่านกล่าว ประดุจดั่งท่านไห้อาหารที่เสมือนถ่านไฟอันร้อนแรงแก่พวกเขา   ถึงอย่างไรก็จะมีผู้คุ้มครองท่านจากอัลเลาะฮ์เอาชนะพวกเขาได้  ตราบใดที่ท่านยังคงอยู่ในการทำดี ต่อพวกเขาเช่นนี้”
 


จึงเป็นบัญญัตแก่มุสลิมทั่วไปไห้มีคุณธรรมความดีต่อเครือญาติถึงแม้นพวกเขาจะไม่ตอบแทนความดีกลับคืนมาก็ตาม หากแม้นอัลเลาะฮ์ทรงเปิดใจพวกเขา  พวกเขาจะได้รับการฮิดายะฮ์(ทางนำ) จากพระองค์โดยกลับตัวสู่การมีคุณธรรมต่อเครือญาติ ด้วยสาเหตุจากการสร้างสัมพันธ์ไมตรีจากเรา หากมิฉะนั้นแล้วก็อาจออกห่างไกลจากความเมตตาของอัลเลาะฮ์ไปเลย   


       فَضْلُ صِلَةِ الرَّحِمْ                                                                                                                 
 คุณค่า ( ฟะฎีละฮ์ ) การมีสัมพันธ์ทางเครือญาติ”                                                                              
1.   فِيْ حُصُوْلِ الْبَرَكَةِ فِي الْعُمْرِ                
 มีอายุที่ยืนยาวหรือมีศิริมงคลในชีวิตของเขา”                                                                                    
2.  وَسِعَةِ الرِّزْقِ                                                                                                                                 
 มีริสกีที่เพิ่มพูน”                                                                                                                                
  3.  وَالذِّكْرِالْحَسَنِ بَعْدَ الْمَوْتِ                                                                                                       
   “ได้รับการกล่าวขานที่ดีหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว”  
  4.                                                           وَالذُّرِّيَةِالصَّالِحَة
“มีลูกหลานที่ซอและฮ์”                                                                                                                                             
 5. وَالتَّوْفِيْقِ لِطَاعَةِ اللهِ تَعَالَى                                                                                                
 “ได้รับการเตาฟีกจากอัลลาะฮ์สู่การฏออัตต่อพระองค์”                                                                               
 6.  وَحِفْظِ اْلأَوْقَاتِ مِنَ الضِّيَاعِ                                                                                                 
ไม่ปล่อยเวลาว่างไปโดยไร้ประโยชน์”                                                                                                      
7.  وَالشُّعُوْرِ بِالسَّعَادَةِ وَالطَّمَأْنِيْنَةِ وَالسُّرُوْرِ                                                                                         
รู้สึกได้ถึงความสุข สงบจิตและภาคภูมิใจ”
            
มีรายงานจากท่านอะนัสร่อฎิยั้ลลอฮุอันฮ์   จากบันทึกของบุคอรีและมุสลิมว่า

                                           أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى الله ُعَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ
“แท้จริงท่านร่อซู้ล (ซ.ล.)  กล่าวว่า”
مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطُ لَهُ فِيْ رِزْقِهِ                                                                                               
 “ผู้ใดปรารถนาที่จะให้อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)  ทรงประทานริสกีที่กว้างขวางแก่เขา”
 وَيُنْسَأَ لَهُ فِيْ أَثَرِهِ
 และปารถนาไห้อัลเลาะฮ์ทรงประทานอายุที่ยืนยาวหรือหรือสิริมงคลในชีวิต”  
                             فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ                                                                                                                                    
 ดังนั้นเขาจงมีความสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา”


أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُاللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ